เปิดตัวเกณฑ์ภาษีใหม่ Thai ESG มือใหม่ต้องรู้ มือเก่าต้องอัปเดต ออมและวางแผนภาษี ไปกับ SCBTM(ThaiESG), SCBLT1-SSF และ SCBRM4ลงทุนสะดวก ง่าย ผ่านแอป SCB EASY

สรุปสาระสำคัญ
  • เข้าสู่ช่วงปลายปี ฤดูกาลของกองทุนประหยัดภาษี Thai ESG | SSF | RMF เรามาทำความรู้จักกับกองทุนลดหย่อนภาษีเหล่านี้ ในแง่มุมต่างๆกัน
  • ข้อมูลอัพเดทปี 2567 นี้ คือกองทุน Thai ESG ปรับเกณฑ์ใหม่! ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท (จากเดิม 100,000 บาท) หรือ ไม่เกิน 30% ของรายได้ และปรับระยะเวลาการถือครองลดลงเหลือเพียง 5 ปีนับจากวันลงทุน(จากเดิม 8 ปี) นับจากวันลงทุน
  • SCB มี 3 กองทุนแนะนำ เพื่อการออมพร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษี SCBTM(ThaiESG), SCBLT1-SSF และ SCBRM4
  • สำหรับใครที่สนใจอยากลงทุนในกองทุนประหยัดภาษี แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เพราะไม่แน่ใจว่ากองทุนเหล่านี้ คืออะไร เหมาะสมกับใคร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง และจะเลือกลงทุนกองไหนดี บทความนี้มีข้อมูลดีๆ มาเล่าให้ฟัง


เข้าสู่ช่วงไตรมาสสี่ ปลายปี 2567

นี่คือช่วงเวลาดี ที่ผู้มีรายได้ต้องจ่ายภาษีในยุคนี้ทุกท่าน จะได้ลองตรึกตรองวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเกษียณด้วยพอร์ตการลงทุน ที่ควรเป็นการ “ทยอยลงทุนระยะยาว” มาตั้งแต่วัยทำงาน ยาวนานกระทั่งถึงวัยเกษียณ วางแผนและลงมือทำเป็นประจำให้ได้ทุกปี นี่จึงเป็นช่วงเวลาดีที่จะมองหาตัวช่วยเพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษี ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยที่นิยมมากที่สุด และถือว่าเป็นการได้ประโยชน์สองต่อ ทั้งจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีและโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนไปพร้อมกัน คือการลงทุนในกองทุน Thai ESG | SSF |RMF

แม้ว่าในระยะสั้น การลงทุนช่วงปลายปีนี้จะยังคงผันผวนสูง จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของเฟด การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา การเปลี่ยนแปลงย้ายที่ของเม็ดเงินลงทุนทั้งในระดับประเทศและระดับกลุ่มหุ้น และการฟื้นตัวของไทยจากการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ฯลฯ อย่างไรก็ตามสถิติในอดีตบ่งชี้ว่า ความผันผวนจากการลงทุนจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หากมีกรอบเวลาที่ยาวนานพอ ซึ่งการลงทุนในกองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ภาษีจัดเป็นการลงทุนระยะยาว โดยมีระยะเวลาการถือครองเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีเป็นตัวกำกับ จึงช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสการได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวัง

หากเรามีคำถามในใจว่า ปัจจุบันกองทุนประหยัดภาษีมีทั้งกองทุน Thai ESG | SSF | RMF แต่ละกองทุนแตกต่างกันอย่างไร เราเหมาะกับการลงทุนในกองประหยัดภาษีแบบไหน... บทความนี้มีคำตอบ



ลงทุนไปด้วย บริหารภาษีไปด้วย … กับกองทุน Thai ESG | SSF | RMF

ก่อนอื่นเรามาทบทวนกันสั้นๆกันครับว่า กองทุนลดหย่อนภาษีแต่ละแบบ คืออะไร มีเงื่อนไขการซื้อและถือครองอย่างไร

กองทุน Thai ESG (Thailand ESG Fund) 

หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน เป็นกองทุนที่สนับสนุนการออมระยะยาว สามารถใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนทำธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG มากขึ้น โดยจะเน้นลงทุนในหุ้นไทยและตราสารหนี้ไทย ที่ให้ความสำคัญกับความสามารถในการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว ตามหลัก ESG โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบหลัก 3 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance)

ข้อมูลล่าสุดปี 2567 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการปรับเกณฑ์ Thai ESG ใหม่ไปเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 67 ที่ผ่านมา มีทั้งการปรับวงเงินลงทุนการลดหย่อนภาษีสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 บาท (จากเดิม 100,000 บาท) และต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และปรับระยะเวลาการถือครองลดลงเหลือเพียง 5 ปีนับจากวันลงทุน (จากเดิม 8 ปีนับจากวันลงทุน)

  • ใครลงทุนกองทุน Thai ESG ภายในปี 2567 ไม่ว่าจะลงทุนเดือนไหน ระยะเวลาการถือครองคือ 5 ปีนับจากวันที่ลงทุน
  • ใครลงทุนกองทุน Thai ESG ภายในปี 2566 ที่ผ่านมา เงินลงทุนก้อนนั้น ยังคงต้องถือครองไม่ต่ำกว่า 8 ปี ตามเกณฑ์เดิม

กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)

หรือ กองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุ วงเงินลงทุนการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เป็นกองทุนกึ่งบังคับตัวเองของผู้ลงทุน เพราะต้องลงทุนนานอย่างต่ำ 5 ปีนับจากวันที่ลงทุน และต้องถือครองกระทั่งผู้ลงทุนมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นอายุที่ใกล้กำหนดเกษียณ มีสินทรัพย์ให้เลือกลงทุนหลากหลาย ทั้ง พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน และ ทองคำ ซึ่งนักลงทุนสามารถสับเปลี่ยนกองทุน RMF จากสินทรัพย์ชนิดหนึ่ง ไปสู่อีกชนิดหนึ่งได้ เช่น การสับเปลี่ยนกองทุน RMF หุ้นสหรัฐS&P500 ย้ายมาที่กองทุน RMF หุ้นไทย SET50 ในระหว่างที่ถือครองได้ เพื่อประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ เมื่อนำเงินลงทุนในกองทุน RMF นับรวมกับการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ อย่างเช่น กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนรวมเพื่อการออม SSF (Super Savings Fund) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และ ประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุน SSF (Super Savings Fund) 

หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม วงเงินลงทุนการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท มีสินทรัพย์ให้เลือกหลากหลาย ทั้ง พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาฯ โครงสร้างพื้นฐาน และ ทองคำ ระยะเวลาถือครองอย่างน้อย 10 ปีนับจากวันที่ลงทุน

ทั้งนี้ เมื่อนำเงินลงทุนในกองทุน SSF นับรวมกับการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ อย่างเช่น กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และ ประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท



Thai ESGSSFRMF
นโยบายการลงทุนลงทุนสินทรัพย์ในประเทศไทยประเภท หุ้นไทย ESG หรือตราสารหนี้กลุ่ม ESGลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์ เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาฯ โครงสร้างพื้นฐาน และ ทองคำลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์ เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาฯ โครงสร้างพื้นฐาน และ ทองคำ
วงเงินลงทุนลดหย่อนไม่เกิน 30% ของรายได้ หรือไม่เกิน 300,000 บาท โดยไม่ต้องคำนึงถึงวงเงินลดหย่อนกลุ่มเกษียณอื่นๆ*เฉพาะหน่วยลงทุนที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569ไม่เกิน 30% ของรายได้ หรือไม่เกิน 200,000 บาท*โดยต้องคำนึงถึงวงเงินลดหย่อนภาษีกลุ่มเกษียณ*ไม่เกิน 30% ของรายได้ หรือไม่เกิน 500,000 บาท โดยต้องคำนึงถึงวงเงินลดหย่อนภาษีกลุ่มเกษียณ*
จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำและไม่บังคับลงทุนต่อเนื่องทุกปีไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำและไม่บังคับลงทุนต่อเนื่องทุกปีไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ แต่บังคับลงทุนต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน)
ระยะเวลาถือครอง5 ปีขึ้นไป นับจากวันที่ลงทุน เฉพาะหน่วยลงทุนที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 256910 ปีขึ้นไป นับจากวันที่ลงทุน5 ปีขึ้นไปนับจากวันที่ลงทุน และต้องถือจนกว่าจะอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
ลดหย่อนภาษีปีใด ต้องซื้อภายในปีนั้นหากจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีปีใด ต้องซื้อภายในปีนั้น ๆ เช่น ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของรายได้ปี 2567 ก็ต้องซื้อกองทุนภายใน 31 ธ.ค. 2567 หลังจากนั้นคือช่วงการถือครองตามระยะเวลา โดยระหว่างนี้ไม่สามารถขายกองทุนออกมาก่อนกำหนดได้ ถ้าขายก่อนกำหนดจะถือว่าทำผิดเงื่อนไขลดหย่อนภาษี อาจต้องเสียเงินค่าภาษีที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนไปแล้ว รวมถึงเงินเพิ่มในบางกรณีด้วย (ยกเว้นกรณีผู้ซื้อกองทุนทุพพลภาพหรือเสียชีวิต)
เมื่อถือครบกำหนด สั่งขายกองทุนแล้วมีกำไรไม่ต้องเสียภาษี หากขายหน่วยลงทุนคืนแล้วได้กำไร จึงไม่ต้องนำกำไรที่ได้มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


*วงเงินลดหย่อนภาษีกลุ่มเกษียณได้แก่ SSF RMF PVD กบข. ประกันชีวิตแบบบำนาญและกองทุนสงเคราะห์ครู กองทุนการออมแห่งชาติ รวมกันแล้วทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท

จากการปรับเกณฑ์นี้ทำให้วงเงินการลดหย่อนภาษีจากกลุ่มการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นสูงสุด 800,000 บาท เมื่อนับรวมจากวงเงินสูงสุด Thai ESG, SSFและ RMF



วันนี้ SCB มี 3 กองทุนแนะนำ เพื่อการออมพร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษี:
  1. ลงทุนกองทุน Thai ESG ที่เน้นลงทุนหุ้นไทยที่ผ่านเกณฑ์ ESG

    แนะนำ SCBTM(ThaiESG) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ไทยผสมยั่งยืน (ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน)

    • กองทุนกระจายการลงทุนในหุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีความโดดเด่นด้านความยั่งยืน (Environment, Social and Governance: ESG) และ/หรือมีเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย และตราสารหนี้ที่เป็นตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อความยั่งยืน หรือตราสารส่งเสริมความยั่งยืนที่มีการเปิดเผยข้อมูลตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
    • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาว มองเห็นโอกาสจากการลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินงานตามหลัก ESG ในประเทศไทย ต้องการวงเงินลงทุนลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ลงทุน SSF RMF และกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอื่นๆ ที่ใช้จนเต็มสิทธิ 500,000 บาทแล้ว จะได้วงเงินลงทุนลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ด้วยการลงทุนในกองทุน Thai ESG อีก 300,000 บาท (ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 30% ของรายได้) เฉพาะหน่วยลงทุนที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569
    • SCBTM(ThaiESG) ลงทุนในหุ้นไทย ESG 83% โดยหุ้นที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ CPALL AOT DELTA ADVANC SAWAD และลงทุนในเงินฝาก 4.16% พันธบัตร 4.36% ตราสารหนี้ภาคเอกชน 7.96% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567)
    • ความเสี่ยงระดับ 5 : เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
  2. ลงทุนกองทุนผสมในประเทศ ที่เน้นลงทุนหุ้นไทยปันผล

    แนะนำ SCBLT1-SSF กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (ชนิดเพื่อการออม)

    • กองทุนผสมในประเทศโดยเน้นการลงทุนในตราสารทุน หุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตราสารทุนที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียน กองทุนรวมอีทีเอฟที่อ้างอิงกับผลตอบแทนหุ้นหรือกลุ่มหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% และไม่เกิน 70% ของ NAV ส่วนที่เหลือกระจายลงทุนในตราสารหนี้
    • กลยุทธ์ในการบริหารกองทุนรวม จะมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
    • เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่รับความผันผวนระหว่างทางได้ และต้องการเพิ่มผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนส่วนใหญ่ (ประมาณ 70%) ในหุ้นไทยที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน SSF
    • ลงทุนในหุ้นไทย ESG 69.64% โดยหุ้นที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ CPALL DELTA ADVANC GULF AOT และลงทุนในเงินฝาก 2.77% พันธบัตร 20.08% ตราสารหนี้ภาคเอกชน 8.52% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567)
    • ความเสี่ยงระดับ 6 : เสี่ยงสูง
  3. ลงทุนเน้นหุ้นไทยคุณภาพดี

    แนะนำ SCBRM4 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ

    • กองทุนลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีสภาพคล่องสูง โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ส่วนที่เหลือจะลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัททั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตลอดจนตราสารการเงินอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสมของแต่ละช่วงเวลา โดยมีเป้าหมายที่จะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสอดคล้องกับดัชนี SET50
    • เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนใน RMF สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน และสามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป
    • ลงทุนในหุ้นไทยที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพและเป็นผู้นำตลาด 95.57% โดยหุ้นที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ DELTA GULF CPALL AOT ADVANC และลงทุนในเงินฝาก 4.15% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567)
    • ความเสี่ยงระดับ 6 : เสี่ยงสูง

ถึงตรงนี้...หากคุณยังมีคำถามในใจว่า “ควรซื้อกองทุนประหยัดภาษี Thai ESG | SSF | RMF ตอนไหนดี?” ทยอยลงทุนตั้งแต่ตอนนี้ คือ คำตอบ เริ่มลงทุนตั้งแต่ตอนนี้จะทำให้คุณไม่พลาดโอกาสการลงทุนและโอกาสลดหย่อนภาษี ไม่ว่าสภาวะการลงทุนจะเป็นอย่างไรครับ



อยากลงทุน SCBTM(ThaiESG), SCBLT1-SSF และ SCBRM4 วันนี้ เริ่มต้นยังไง?

ใครสนใจ อย่าช้า เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy แล้วทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆนี้:

  1. เปิดบัญชีกองทุนผ่าน SCB Easy App
  2. ผูกบัญชีกองทุนบน SCB Easy App
  3. ซื้อกองทุนผ่าน SCB Easy App

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:

พิเศษ! รับหน่วยลงทุน SCBSFF สูงสุด 1,600 บาท* เมื่อมียอดลงทุนสะสมในกองทุน RMF / SSF / Thai ESG ที่ร่วมรายการ ตั้งแต่ 2 ก.ย. 67 – 30 ธ.ค. 67 ลงทุนสะดวก ง่าย ผ่านแอป SCB EASY

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก! https://www.scb.co.th/th/personal-banking/investment/fund/mutual-funds/tax-2024.html

หมายเหตุ:

  • *เงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายและกองทุนรวมที่ร่วมรายการเป็นไปตามที่บลจ. ไทยพาณิชย์กำหนด
  • เงื่อนไขการการลงทุนและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต้องเป็นไปตามกฎหมายและประกาศที่กรมสรรพากรกำหนด
  • *สำหรับการซื้อหน่วยลงทุน Thai ESG ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2569 **ข้อมูล RMF ประเภทหุ้นขายดีของ SCB, SSF ขายดีของ SCB 4 ปีซ้อน ตั้งแต่ปี 2563-2566 และ Thai ESG ขายดีของ SCB ปี 2566 ณ วันที่ 11 ม.ค. 67 และผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุนและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน
  • ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนเพิ่มเติมได้จาก website บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนและแอป SCB EASY หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777

#ออมและวางแผนภาษี #SCBTM(ThaiESG) #SCBLT1-SSF #SCBRM4 #SCBX #SCBWealth #SCBEASY #นิ้วโป้ง