ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ทำความเข้าใจความเสี่ยง
แม้ว่าการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนตามเป้าหมาย แต่ก็ไม่สามารถกำหนดได้ว่าผลตอบแทนจะมั่นคงเสมอไป เพราะไม่มีการลงทุนใด ๆ ในโลกนี้ ที่ปราศจากความเสี่ยง โดยเมื่อเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงก็คาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยง ซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่า High Risk, High Return เช่นเดียวกันหากเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำก็ควรคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนที่น้อยลงตามไปด้วย
ดังนั้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพิจารณาตัดสินใจลงทุน คือ ความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งหมายถึง โอกาสที่นักลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ โดยความเสี่ยงของการลงทุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ความเสี่ยงที่เป็นระบบ
คือความเสี่ยงที่ทำให้ราคาของสินทรัพย์ที่ลงทุนมีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าว เป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนไม่สามารถควบคุมได้และมีผลต่อสินทรัพย์ลงทุนทุกประเภท
ตัวอย่าง ความเสี่ยงที่เป็นระบบ
1.การเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานและราคาสินทรัพย์ลงทุน เช่น ถ้าแนวโน้มเศรษฐกิจขยายตัว ราคาหุ้นจะปรับสูงขึ้น หากแนวโน้มเศรษฐกิจหดตัว ก็มักคาดการณ์ว่าราคาหุ้นส่วนใหญ่จะปรับลดลงตามไปด้วย เป็นต้น
2.การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย
ซึ่งทำให้ราคาของตราสารหนี้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้าม หากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น ราคาของตราสารหนี้จะปรับลดลง ในทางกลับกันหากอัตราดอกเบี้ยปรับลดลง ราคาของตราสารหนี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้น
3.การเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาดหุ้น
เช่น ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงร้อนแรงก็มีความเป็นไปได้สูงว่าราคาหุ้นจะปรับขึ้น ตรงกันข้ามตลาดหุ้นอยู่ในช่วงซบเซา ราคาหุ้นก็มักจะปรับลดลงตามไปด้วย
ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ
เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภายในของสินทรัพย์ลงทุนนั้นที่อาจส่งผลให้ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ แต่เป็นความเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้จากการปรับการลงทุน เนื่องจากเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเฉพาะเจาะจง
ตัวอย่าง ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ
1.ความเสี่ยงทางธุรกิจ เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทนั้น เช่น นโยบายการดำเนินงาน โครงสร้างการบริหาร โครงการผลิต โครงสร้างต้นทุน เป็นต้น
2.ความเสี่ยงทางการเงิน
เป็นความเสี่ยงเกี่ยวกับการทำกำไรของบริษัท ซึ่งเป็นผลมาจากโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้ากู้เงินจำนวนมาก ๆ หรือกู้เงินสกุลเงินต่างประเทศและไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน จะมีความเสี่ยงทางการเงินมากตามไปด้วย
จากนิยามความเสี่ยงจากการลงทุน หมายถึง โอกาสที่นักลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ หมายความว่าเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้ เพราะการลงทุนมีปัจจัยหลากหลาย มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันและส่งผลให้เกิดความผันผวน เช่น ภาวะเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน การคลัง ปัจจัยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับกลุ่มธุรกิจ หรือจังหวะการลงทุนของนักลงทุน ล้วนเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการลงทุน
ดังนั้น การบริหารความเสี่ยง คือ วิธีการลงทุนเพื่อทำให้พอร์ตลงทุนสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ด้วยการลดโอกาสขาดทุนให้เหลือน้อยที่สุด
คือ การกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์เพื่อลดความเสี่ยง
โลกการลงทุน ผลตอบแทนจะมาคู่กับความเสี่ยงเสมอ แต่หากเรียนรู้วิธีการบริหารความเสี่ยงแล้วนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสมกับพอร์ตลงทุนก็จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว หมายความว่าจะสามารถลดโอกาสขาดทุนจากการลงทุนลงไปได้