ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เลือกลงทุนในยุค New Normal อย่างไร ให้เงินงอกเงย
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบและผันผวนอย่างมาก จนนักลงทุนยุค New Normal ต้องมองย้อนกลับไปศึกษาวิกฤตการณ์ในอดีต เพื่อประเมินสถานการณ์ว่าจากนี้ไปจะต้องเผชิญหน้ากับปัจจัยอะไรบ้าง
JP Morgan Asset Management ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเกิดภาวะตลาดขาลง หรือภาวะหมี (Bear Market) โดยคำนิยามที่นิยมใช้กันในตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะหมี คือ หากดัชนีตลาดหุ้นปรับลดลงมากกว่า 20% จากจุดสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ (หรือ 1 ปี) โดยพบว่าในช่วงตลาดขาลงจะมีปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor) เกิดขึ้นร่วมกันอย่างน้อย 2 ปัจจัยจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1. Recession
คือ ภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย โดยข้อสังเกตเบื้องต้นในการประเมินว่าเศรษฐกิจเริ่มถดถอย ได้แก่ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน เช่น จีดีพี ไตรมาส 1 ติดลบ 1% และไตรมาส 2 ติดลบ 0.5% อีกทั้ง ให้สังเกตว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับลดลงเป็นระยะเวลาหลายเดือนต่อเนื่องกัน เช่น การลงทุน กำลังการผลิต การอุปโภคบริโภค การนำเข้าและส่งออก ขณะเดียวกันอัตราการว่างงานปรับเพิ่มสูงขึ้น
2 .Extreme Valuations
คือ ภาวะที่หุ้นมีมูลค่าสูงเกินจริงและส่งผลให้ตลาดผันผวน โดยในอดีตช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น (ก่อนที่ตลาดหุ้นจะปรับลดลง) ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเกิดจากนักลงทุนยอมซื้อหุ้นที่ระดับมูลค่า (Valuation) แพงขึ้น สังเกตจากค่า P/E Ratio ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการซื้อหุ้นแพงขึ้น ไม่ใช่มาจากการประเมินว่าปัจจัยพื้นฐานของหุ้นมีความแข็งแกร่ง แต่เกิดจากการเข้ามาเก็งกำไร
3. Commodity Spikes
คือ สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสินค้าอุปโภคบริโภคมีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ราคาของสินค้าถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ดังนั้น หากมีสถานการณ์ผิดปกติจนราคาสินค้าปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เศรษฐกิจและตลาดหุ้นได้รับผลกระทบตามไปด้วย เช่น ในช่วงปี 1973 กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ยกเลิกการส่งออกน้ำมันให้กับสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีดขึ้นจากราคา 3 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล เป็น 12 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นประมาณ 300% ภายในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา S&P 500 ปรับตัวลดลงมากถึง 40% เนื่องจากนักลงทุนขายหุ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยง จากความกังวลว่าสหรัฐอเมริกาจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน และส่งผลต่อการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
4. Aggressive Fed Tightening
คือ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ดำเนินนโยบายเข้มงวดขึ้น ด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็วเพื่อลดภาวะเงินเฟ้อ โดยเฟดจะดำเนินการดังกล่าวเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจที่อาจขยายตัวเร็วเกินไปจนมีโอกาสเกิดฟองสบู่และมีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนในหุ้นลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในตราสารหนี้ ที่ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากเงินปันผลของหุ้น (Dividend Yield) ดังนั้น แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้น
จากการวิเคราะห์ดังกล่าว ประเมินว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นมีโอกาสเข้าสู่ภาวะขาลง มาจากเศรษฐกิจถดถอย และภาวะที่หุ้นมีมูลค่าสูงเกินจริง มาถึงตรงนี้ คำจำกัดความที่ว่า “COVID-19 Recession” หรือ COVID-19 ทำให้สภาวะเศรษฐกิจถดถอย คงจะอธิบายสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และตลาดหุ้นไทยได้ดีพอสมควร ทั้งนี้นักลงทุนยุค New Normal ต้องพร้อมปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว
การบริหารเงินในยุค New Normal
นักลงทุนควรตรวจสอบสถานะทางการเงินของตนเองก่อนว่ามีสินทรัพย์อะไรบ้าง มีรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนเท่าไหร่ และวางแผนว่าสินทรัพย์ที่มีสามารถครอบคลุมรายจ่ายไปได้อีกกี่เดือน โดยควรมีเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายล่วงหน้าอย่างน้อย 12 เดือน เพราะไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ว่า วิกฤตการณ์ครั้งนี้จะคลี่คลายเมื่อไร และไม่ว่าสถานะการเงินจะเป็นเช่นไร สิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้ คือ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และที่สำคัญ คือ หยุดสร้างหนี้ เมื่อตรวจสอบสถานะการเงินและวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบแล้ว จึงควรเริ่มการลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงย
ควรลงทุนอย่างไรให้เงินงอกเงย
1. Planning
ก่อนการลงทุนทุกครั้ง นักลงทุนควรวางแผนให้ชัดเจนว่าต้องการลงทุนเท่าไหร่ ลงทุนในรูปแบบไหน ประเมินความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้ พร้อมกำหนดเป้าหมายการลงทุนให้ชัดเจน
2. Risk Management
ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เป็นการกระจายความเสี่ยงและสร้างโอกาสในการทำกำไร
3. Age and Timing
อายุก็เป็นอีกปัจจัยที่ควรพิจารณา นักลงทุนอายุน้อยอาจกล้าเสี่ยงได้มากกว่านักลงทุนอายุมาก โดยสัดส่วนที่เหมาะสมของความเสี่ยงในการลงทุนควรจะเท่ากับ 100 – อายุ เช่น อายุ 25 ปี สัดส่วนความเสี่ยงในการลงทุน คือ 75% นอกจากนี้ ยิ่งเริ่มต้นลงทุนเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีแนวโน้มได้รับผลตอบแทนมากขึ้นเท่านั้น
4. Cut Loss
นักลงทุนควรกำหนดจุดตัดขาดทุน (Cut Loss) ให้ชัดเจนว่าสามารถยอมรับการขาดทุนได้ที่ระดับใด ซึ่งการ Cut Loss หมายถึง การขายหุ้นออกไปโดยที่ขาดทุน แต่เพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด ก่อนที่จะขาดทุนมากไปกว่าปัจจุบัน จึงเป็นการขายเพื่อจำกัดการขาดทุนจะช่วยให้นักลงทุนมีสภาพคล่องในการนำเงินมาลงทุนใหม่
5. Discipline
วินัยในการลงทุน คือ หัวใจหลักในการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลในการลงทุนแต่ละครั้ง การคงสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ การลงทุนแบบต่อเนื่อง การขจัดอารมณ์ที่ทำให้ไขว้เขวในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิกฤติ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนควรปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนในยุค New Normal ได้อย่างยั่งยืน