ประตูสู่ธุรกิจ
กราฟการท่องเที่ยวเวียดนามพุ่งเกินคาด เพิ่มโอกาสส่งออกสินค้าไทย
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เกาะติดความสำเร็จของรถไฟขนส่งสินค้า เชื่อมการค้าจีน-สปป.ลาว-ไทย-มาเลเซีย
นับเป็นการเริ่มต้นและถือเป็นก้าวสําคัญในการเชื่อมต่อการค้าระดับภูมิภาคของการขนส่งเส้นทางจีน-สปป.ลาว-ไทย-มาเลเซีย หลังจากที่รถไฟขนส่งสินค้าด่วนจีน-สปป.ลาว-ไทย-มาเลเซีย ขบวนแรกได้ออกเดินทางจากสถานีรถไฟนานาชาติเฉิงตู เมืองเฉิงตู มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเพื่อไปยังมาเลเซีย โดยรถไฟขนส่งสินค้าขบวนแรกนี้มีทั้งหมด 30 ตู้ บรรทุกจอ LCD และรถยนต์พลังงานใหม่ เดินทางด้วยเส้นทางรถไฟจีน-สปป.ลาว จากนั้นจะเปลี่ยนไปใช้โครงข่ายรถไฟในสปป.ลาว และไทย เพื่อเดินทางขนส่งต่อไปยังเมืองท่าของมาเลเซีย ซึ่งการเดินทางเส้นทางขนส่งนี้ จากเดิมจะใช้เวลา 5 วัน มายังไทย และ 8 วัน ไปยังมาเลเซีย แต่การเดินทางด้วยเส้นทางรถไฟด่วนสายนี้ สามารถลดเวลาในการขนส่งลง 50 % เมื่อเทียบกับการขนส่งทางเรือจากเมืองฉินโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน
จากข้อมูลบทสัมภาษณ์ของ Du Peiling กรรมการบริหาร บริษัท Sichuan New Bond International Freight Forwarding ได้กล่าวว่า ก่อนหน้านี้การขนส่งสินค้าไปมาเลเซียจะขนส่งจากเฉิงตูไปฉินโจวโดยทางรถไฟ และจากฉินโจวไปมาเลเซียโดยทางเรือ แต่ตอนนี้การขนส่งสินค้าทางรถไฟจีน-สปป.ลาว-ไทย-มาเลเซีย ช่วยประหยัดเวลาได้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากที่ต้องใช้เวลาประมาณ 15 วัน นับได้ว่าการเปิดตัวเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้าด่วนจีน-สปป.ลาว-ไทย-มาเลเซียสายใหม่นี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยสนับสนุนเส้นทางรถไฟสปป.ลาว-จีน ยังจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้าของจีน-สปป.ลาว-ไทย-มาเลเซียให้แข็งแกร่ง รวมทั้งทำให้การค้าระหว่างมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัดอีกด้วย
จากข้อมูลบทสัมภาษณ์ของ Du Peiling กรรมการบริหาร บริษัท Sichuan New Bond International Freight Forwarding ได้กล่าวว่า ก่อนหน้านี้การขนส่งสินค้าไปมาเลเซียจะขนส่งจากเฉิงตูไปฉินโจวโดยทางรถไฟ และจากฉินโจวไปมาเลเซียโดยทางเรือ แต่ตอนนี้การขนส่งสินค้าทางรถไฟจีน-สปป.ลาว-ไทย-มาเลเซีย ช่วยประหยัดเวลาได้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากที่ต้องใช้เวลาประมาณ 15 วัน นับได้ว่าการเปิดตัวเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้าด่วนจีน-สปป.ลาว-ไทย-มาเลเซียสายใหม่นี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยสนับสนุนเส้นทางรถไฟสปป.ลาว-จีน ยังจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้าของจีน-สปป.ลาว-ไทย-มาเลเซียให้แข็งแกร่ง รวมทั้งทำให้การค้าระหว่างมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัดอีกด้วย
ส่วนสินค้าประเภทน้ำตาลแปรรูปนั้น อ้างอิงข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศที่มีการติดตามผลส่งออก “น้ำตาลแปรรูป” ในตลาดจีน
จากข้อมูลปี 2566 พบว่ามีการเติบโตที่โดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด มีมูลค่าส่งออกเฉียด 3 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 103.14% ครองตลาดอันดับ 1 และช่วง 10 ปีย้อนหลัง ก็โตสูงเฉลี่ยปีละ 144.84%
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้น้ำตาลแปรรูปสามารถครองอันดับ 1 ในตลาดจีนได้ คือ การได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA อาเซียน-จีน (ASEAN–China Free Trade Agreement : ACFTA) เนื่องจากสินค้าน้ำตาลแปรรูป หากไม่ใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ ACFTA จะต้องเสียภาษีศุลกากรนำเข้าปกติ (MFN Rate) ในอัตรา 30% แต่จะได้รับการยกเว้นภาษีเป็น 0% เมื่อมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) ที่ออกโดยกรมกำกับไปด้วย ซึ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่สินค้าน้ำตาลแปรรูปไทย โดยในปี 2566 มีผู้ประกอบการมาขอออกหนังสือรับรอง Form E สำหรับสินค้าน้ำตาลแปรรูป เพื่อนำไปใช้สิทธิพิเศษในขอยกเว้นภาษีนำเข้าที่จีนมูลค่า 833.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 29,099 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 97.62%
ประโยชน์จากการขนส่งผ่านรถไฟมีดังนี้
ที่มา