ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
แฮปปี้ฟาร์มสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืน
รู้หรือไม่ว่าสัตว์ฟาร์มเช่น หมู ไก่ ต้องแลกชีวิตตัวเองเพื่อต่อชีวิต “มนุษย์” อย่างเรา ก่อนที่จะถูกฆ่าเพื่อนำมาทำเป็นอาหารนั้น โหดร้ายขนาดไหน หลายคนคงแทบไม่เคยคิดถึงชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์เหล่านี้ หรืออาจจะไม่ได้มองว่าพวกมันก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก มีชีวิต มีใจจิต เช่นเดียวกันกับเราและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ
ปัจจุบันมีสัตว์ฟาร์มอีกนับหมื่นล้านตัวทั่วโลกต้องอยู่ในสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ ทำให้เกิดความเครียดและเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะการเลี้ยงสัตว์ฟาร์มยังคงมีขั้นตอนการจัดการที่ทรมานสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดตอนอวัยวะของลูกหมูตั้งแต่แรกเกิด ตัดหาง ตัดฟัน ชลิบหู และลูกหมูต้องถูกแยกจากแม่ของมันตั้งแต่ยังเล็ก ถ้ามองมาที่ไก่บ้าง ฟาร์มจะเลือกสายพันธุ์ที่โตเร็ว ซึ่งสายพันธุ์นี้จะมีเนื้อหน้าอกที่ใหญ่ผิดปกติ ส่งผลให้มีชีวิตที่เลวร้าย ซึ่งทั้งหมดทำให้สัตว์ฟาร์มเหล่านี้เกิดความเครียด เจ็บป่วยได้ง่าย ส่งผลให้ฟาร์มต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินความจำเป็นเพื่อให้สัตว์ในฟาร์มสามารถทนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายได้ และก็วนกลับมามีผลร้ายกับมนุษย์อย่างเราที่ทานเนื้อสัตว์เหล่านี้เป็นอาหาร
รายงานจาก Fuelling the Pandemic Crisis จากองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเผยว่า ในฟาร์มสัตว์มีการใช้ยาปฏิชีวนะกว่า 75% ทั่วโลก ยาปฏิชีวนะเหล่านี้จะถูกผสมลงในอาหารและน้ำให้กับสัตว์เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากระบบการเลี้ยงที่ขัดต่อสวัสดิภาพสัตว์อย่างสิ้นเชิง เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดแบคทีเรียดื้อยา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Superbugs ที่สามารถปนเปื้อนแพร่กระจายไปยังแหล่งน้ำและสภาพแวดล้อมรอบๆ ฟาร์มอุตสาหกรรมได้
ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากแบคทีเรียดื้อยากว่า 700,000 คนต่อปี โดยในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตกว่าปีละ 38,000 คนหรือทุกๆ 15 นาที จะมีผู้เสียชีวิต 1 คน ปัจจุบันปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตสัตว์ในฟาร์มอุตสาหกรรมบ้านเรายังไม่ได้รับความสนใจและให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก โดยวิธีแก้ไขคือการรณรงค์ทั้งภาคประชาสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เห็นถึงความสำคัญของการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งหากผู้เลี้ยงสัตว์ฟาร์มปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงสัตว์ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นก็สามารถลดปัญหาหรือตัดปัญหานี้ไปได้เลย ซึ่งเมื่อสัตว์ในฟาร์มได้รับสวัสดิภาพที่ดี ระบบอาหารของมนุษย์เราก็จะปลอดภัยและยั่งยืนเช่นกัน
ด้วยการรณรงค์อย่างจริงจังขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก โดยเริ่มต้นจากโครงการ “เลี้ยงหมูด้วยใจ” ที่เป็นโครงการที่ช่วยเหลือหมูในฟาร์มให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเน้นการสร้างความตระหนักและความเข้าใจกับความทุกข์ทรมานของสัตว์ในฟาร์มให้กับสังคมมากขึ้น และเชิญชวนให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคเนื้อสัตว์จากฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์อย่างมีสวัสดิภาพที่ดี ซึ่งในต่างประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกาได้มีการทำมานานแล้ว เช่น ในซุปเปอร์มาเก็ตมีเนื้อไก่ที่เรียกว่า free range chicken คือไก่ที่ถูกเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งผู้บริโภคนิยมซื้อไก่ประเภทนี้ถึงแม้ว่าจะราคาแพงกว่าไก่ฟาร์มทั่วไปก็ตาม
ในประเทศไทยเราเองบริษัทผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ ได้ประกาศที่จะยุติการกักขังแม่หมูในคอกขังภายในปี 2568 โดยอีกบริษัทคู่แข่งก็ประกาศที่จะเลิกขังแม่หมูในขณะตั้งครรภ์ภายในปี 2570 พวกเราในฐานะผู้บริโภคเองก็สามารถมีส่วนช่วยลดความทรมานของสัตว์เหล่านี้ได้ โดยเลือกบริโภคเนื้อสัตว์จากฟาร์มที่ดี นอกจากช่วยสัตว์แล้วยังเป็นการช่วยตัวเราเองให้ได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัย เป็นการสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน
อ้างอิง วารสารฮีโร่ พิทักษ์สัตว์โลก ISSUE 29/4/64