การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
จับไต๋ เฟซบุ๊กเพจปลอม
ในยุคดิจิทัลที่องค์กรและแบรนด์สินค้าล้วนสื่อสารกับลูกค้าอย่างสะดวก ฉับไวต่อสถานการณ์ผ่านทาง โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook Page, Twitter, LINE Official Account ฯลฯ แต่ในความรวดเร็ว ทันสมัยนั้น กลับมีกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดี ปลอมแปลงบัญชีโซเชียลมีเดียขององค์กร พร้อมคัดลอกภาพ เนื้อหา วิดีโอ มาโพสต์ในบัญชีปลอมที่สร้างขึ้น โคลนนิ่งสวมรอยเป็นแบรนด์แบบเนียนๆ หลอกให้หลงเชื่อ แล้วลวงถามข้อมูลส่วนตัว สร้างความเสียหายให้เราได้
ในกรณีของ Facebook แม้เพจปลอมจะพยายามลอกแบบเพจจริงอย่างไรก็ตาม แต่เพจจริงของแบรนด์ต่างๆ (Official Page) ก็มีเอกลักษณ์ที่เลียนแบบกันไม่ได้ ให้เราได้สังเกต ไม่หลงกลเพจปลอมๆ ดังนี้
1) เพจจริงควรมี (Verified Badge)
โซเชียลมีเดียรายใหญ่ เช่น Facebook, Twitter, Instagram จะให้เครื่องหมาย Verified Badge แก่แอคเคาท์ทางการขององค์กร แบรนด์สินค้า เซลิบริตี้ ฯลฯ เพื่อยืนยันว่าเป็นแอคเคาท์ของเจ้าของจริงๆ กรณีของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ทั้ง Facebook Page, Twitter, IG Account หลักทางการซึ่งใช้ชื่อ SCB Thailand ต้องมี Verified Badge (สัญลักษณ์วงกลมหรือวงแฉกที่มีเครื่องหมายถูก) ต่อท้ายชื่อเสมอ ถ้าไม่เห็นเครื่องหมายดังกล่าวต่อท้ายชื่อ SCB Thailand ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นบัญชีปลอม (กรณีของเพจหรือแบรนด์อื่นๆ ที่อาจไม่มี Badge ก็อาจดูองค์ประกอบอื่น ร่วมด้วย)
2) ชื่อเพจ สะกดถูกต้องเป๊ะ
กลโกงของเพจปลอมอีกอย่างคือการตั้งชื่อเลียนแบบใกล้เคียงกับเพจจริง แต่จะมีเครื่องหมายพิเศษต่างๆ เช่น ตัวลูกน้ำ (,) เครื่องหมายจุด (.) หรือตัวอักขระพิเศษ ที่เหมือนกับตัวภาษาอังกฤษ ทำให้หากไม่สังเกตให้ดี จะคิดว่าเป็นเพจจริงได้ เน้นย้ำอีกครั้งว่าแอคเคานท์ Social Media ทางการทุกช่องทางของธนาคารไทยพาณิชย์ ใช้ชื่อ SCB Thailand เท่านั้น
ตัวอย่างชื่อเพจปลอมที่ตั้งชื่อเลียนแบบ หรือใช้ชื่อเพจเป็นชื่ออื่นๆ
3) จำนวนแฟนผู้ติดตาม การโพสต์เนื้อหา และจำนวน Like, Comment ต่อโพสต์
จำนวนแฟนผู้ติดตามเพจ (Page Like) ก็เป็นอีกหนึ่งจุดสังเกต แยกว่าใครเป็นตัวจริง ตัวปลอม โดยเพจ Facebook ทางการของแบรนด์สินค้าส่วนใหญ่จะเปิดกันมาเป็นระยะเวลานานประมาณหนึ่ง ดังนั้น หากเจอเพจแบรนด์ใหญ่ๆ มียอดแฟน แค่หลักสิบหรือหลักร้อย ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นเพจปลอม ในส่วนของเพจ SCB Thailand เปิดมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2553 มีแฟนเพจเป็นหลักล้านคน ถ้าเจอเพจหน้าตาใกล้เคียง แต่มียอดแฟนจำนวนน้อยๆ ให้ฟันธงได้เลยว่าเป็นเพจปลอม
วิธีการโพสต์เนื้อหาในเพจ และจำนวน Like ต่อโพสต์ ก็เป็นอีกหนึ่งจุดสังเกตในการดูเพจปลอม ส่วนใหญ่แล้ว เพจทางการของแบรนด์จะโพสต์เนื้อหา 3-4 ครั้งต่อวัน และแต่ละโพสต์จะมียอด Like ยอด comment จำนวนหนึ่ง แต่ถ้าดูหน้า Feed แล้วเจอเพจไหน โพสต์เนื้อหารัวๆ ทุก 5-10 นาที แล้วแต่ละโพสต์แทบไม่มียอด Like ยอด Comment เลย ให้สงสัยไว้เลยว่าเพจนั้นเป็นเพจปลอมที่มิจฉาชีพกำลังพยายามทำเลียนแบบเพจจริง
4) การสอบถามข้อมูลลูกค้า
แอคเคาท์ โซเชียลมีเดีย ธนาคารไทยพาณิชย์ ภายใต้ชื่อ SCB Thailand ใช้ช่องทางกล่องข้อความ (Inbox) ดูแลการบริการให้ลูกค้า โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการ และจะไม่สอบถามข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น หมายเลข Pin บัตรเดบิต, บัตรเครดิต หรือรหัสผ่านต่างๆ โดยเด็ดขาด
สรุปข้อสังเกตเฟซบุ๊กของธนาคารไทยพาณิชย์ เพจจริง เพจปลอม