ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
กฎ 30 วัน ควบคุมรายจ่ายให้อยู่หมัด
ทุกวันนี้โฆษณาของเหล่า e-commerce online shopping ต่างๆ ตามมาล่อตาล่อใจเราอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะบน Facebook Instagram หรือเว็บไซต์ต่างๆ แต่ละดีลช่างราคาดีงามยั่วยวนใจเสียจนอดไม่ได้ที่จะซื้อ ซื้อและซื้อ ทั้งที่จำเป็นหรือไม่ก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าราคามันดี๊ดี คุ้มเหลือเหลือเกินจนเสียดายถ้าจะปล่อยให้หลุดมือไป
พฤติกรรมการซื้อแบบปุ๊บปั๊บเพราะดีลมันยั่วยวนใจจะทำลายเงินในกระเป๋าหรือรายจ่ายในเดือนนั้นๆ ของคุณมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าสินค้านั้นๆ มีราคาแพงแค่ไหน คุณซื้อโดยไม่จำเป็นบ่อยแค่ไหน ถ้าคุณมีเงินในกระเป๋ามากพอและการซื้อนั้นไม่กระทบรายจ่ายของเดือนนั้นๆ และคุณมีความสุขกับการจับจ่าย นั่นอาจไม่มีผลร้ายแรงอะไร
แต่ในทางกลับกันถ้าเพียงแต่คุณเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ใจง่ายซื้อของโดยไม่จำเป็นเพียงเพราะว่าราคามันดี เงินที่ใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นสามารถเปลี่ยนนำไปจ่ายหนี้สินหรือเก็บออมไว้สำหรับสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ ในอนาคต วันนี้เราจะมาแนะนำ กฎ 30 วัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายให้คุ้มค่าที่สุดกัน
กฎ 30 วัน เป็นวิธีการง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณควบคุมรายจ่ายและเลือกจับจ่ายอย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญที่สุดคือ ถ้าคุณมีความต้องการจะซื้ออะไรบางอย่างที่ไม่จำเป็น กฎนี้จะบอกให้คุณหยุดซื้อสิ่งนั้นไม่ว่าจะเป็นการซื้อออนไลน์หรือซื้อที่ร้านค้าก็ตาม คุณจะเอาตัวเองออกมาจากเว็บไซต์นั้น หรือเดินออกมาจากร้านนั้นทันที
ขั้นตอนต่อไปคือการจดรายการสิ่งที่คุณต้องการซื้อ พร้อมกับแหล่งที่สามารถซื้อสินค้านั้น พร้อมทั้งราคา ใส่วันที่ที่ต้องซื้อและบันทึกไว้ในปฏิทินว่าใน 30 วันคุณจะต้องซื้ออะไรบ้างและคุณจะจัดการรายการซื้อต่างๆ อย่างไร
ในช่วงเวลา 30 วัน คุณจะมีเวลาคิดว่าคุณมีความจำเป็นต้องซื้อของเหล่านั้นจริงๆ หรือไม่ มันเป็นแค่ความต้องการหรือมันจำเป็นจริงๆ ถ้าภายใน 30 วัน คุณยังมีความต้องการที่จะซื้อสิ่งเหล่านั้นมันจะเป็นการซื้อที่ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วไม่ใช่การซื้อด้วยอารมณ์ชั่ววูบ
นอกจากช่วยให้คุณมีเวลาได้คิด เทคนิคนี้ยังช่วยให้คุณมีเวลาเปรียบเทียบราคาระหว่างผู้ขายแต่ละรายหลังจากคุณตัดสินใจแล้วว่านั่นคือสิ่งที่คุณต้องการซื้อจริงๆ ทำให้ซื้อได้ในราคาที่คุ้มค่าประหยัดเงินได้อีก
ซึ่งการได้มีเวลาคิด ส่วนใหญ่จะทำให้คุณเห็นชัดเจนขึ้นว่าคุณไม่มีความต้องการสินค้าบางอย่างมากเท่ากับที่คุณคิดในตอนแรก ซึ่งนั่นช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มากขึ้นเพราะคุณรู้ว่าในความจริงแล้วเมื่อใช้สติ ไตร่ตรองคุณไม่ได้ต้องการสิ่งนั้นจริงๆ
กฎ 30 วันจะช่วยลดการใช้จ่ายในสิ่งที่เพียงแค่อยากได้แต่ไม่จำเป็น ตัวอย่างเช่น ถ้าทิชชูหมด มันชัดเจนว่าสิ่งนั้นเป็นความจำเป็น คุณจะมีเวลาเลือกว่าจะซื้อที่ไหนให้ได้ราคาดีที่สุด
หรือถ้ารถของคุณน้ำมันหมดก็แน่นอนว่าคุณต้องเติมน้ำมันในตอนเช้าก่อนไปทำงาน หรือคุณต้องทานอาหารเย็นแต่ของในตู้เย็นหมด คุณก็ต้องซื้ออาหารแต่มันก็ไม่จำเป็นต้องเป็นล็อบสเตอร์หรือเนื้อสเต็กนำเข้าราคาแพงๆ
สำหรับสินค้าหรูหรา ราคาแพง ชัดเจนว่าเป็นแค่ความต้องการ การซื้อกระเป๋าสะพายใบใหม่ ทั้งๆ ที่คุณมีกระเป๋าอยู่แล้วหลายใบหลายขนาด หรือความต้องการซื้อรองเท้าสีใหม่อีกคู่ ในขณะที่คุณก็มีรองเท้าแบบคล้ายกันแล้วหลายคู่แต่คนละสี แน่นอนว่าคุณไม่จำเป็นซื้อเพิ่ม เพราะจริงๆ มันเกินความต้องการ
แต่ในบางครั้งบางสิ่งบางอย่างก็ยากที่จะตัดสินใจว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่แค่ต้องการหรือจำเป็น เช่น ถ้าคุณมีนัดสัมภาษณ์งานคุณจำเป็นต้องซื้อชุดใหม่หรือไม่? ถ้าคุณมีเสื้อผ้าที่เหมาะสมอยู่แล้ว แต่มีเสื้อผ้าใหม่ที่ทั้งราคาดีและคุณคิดว่าถ้าได้ใส่ชุดใหม่นั้นแล้วคุณจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้น ในกรณีนี้จะสมเหตุสมผลมากกว่าที่คุณต้องตัดสินใจว่าจะซื้อใหม่ หรือใส่ชุดเก่าในเวลา 1-2 วัน แทนที่จะตัดสนใจใน 30 วันซึ่งจะช้าเกินไป
พูดง่ายๆ ก็คือกฎ 30 วัน คือวิธีที่จะช่วยให้คุณใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็น แต่ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นแค่ปัจจัย 4, เรื่องสุขภาพ หรือแค่เรื่องความปลอดภัยเท่านั้น
หลังจากใช้กฎ 30 วัน เมื่อเลือกแล้วว่าอะไรแค่ต้องการหรือแค่จำเป็น ในขั้นตอนต่อไปนอกจากแค่จดรายการที่จะซื้อ เงินที่ไม่ได้ใช้จากการซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นควรนำไปเป็นเงินออม ในอนาคตคุณจะเห็นเงินออมเติบโตขึ้น เมื่อเห็นเงินออมโตขึ้น จะทำให้ความอยากซื้อของที่ไม่จำเป็นลดลงตามไปด้วย เพราะคุณจะเริ่มมีความสุขกับการเห็นเงินออมโตขึ้นเรื่อยๆ
· หักเงินออมเงินเข้าบัญชีออมแบบอัตโนมัติ โดยตัดจากบัญชีเงินเดือนเข้าบัญชีเงินออมทุกเดือน
· ตั้งเป้าหมายเงินออม และหมั่นตรวจสอบว่าเงินออมของคุณเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ถ้ายังไม่เป็นไปตามเป้าหมายต้องปรับการใช้จ่าย โดยกลับไปดูในรายการ 30 วัน ว่าสิ่งที่ต้องการซื้อมีอะไรตัดเพิ่มได้หรือไม่
· ในทางตรงข้าม หากมีสินค้าฟุ่มเฟือยที่คุณต้องการซื้อจริงๆ แต่สินค้านั้นเกินงบประมาณที่คุณมีอยู่ อาจพิจารณาหารายได้เสริม หรือตัดสินค้าสินค้าที่ไม่จำเป็นอื่นๆ เพื่อมีเงินออมเพียงพอที่จะซื้อสิ่งที่มีมูลค่าสูง
ใช้สติ ใช้เวลาไตร่ตรองให้รอบคอบ ว่าอะไรจำเป็นจริงๆ หรือเป็นเพียงแค่ความอยาก คุณจะมีเงินพอใช้ทั้งเดือนแถมมีเงินเหลือเก็บเหลือออมมากขึ้น อยากออมเงินให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้น ออมกับบัญชีเงินฝากระยะยาวของ SCB เพื่อเพิ่มพูนเงินออมให้งอกเงยและโดยใช้วิธีการตัดเงินอัตโนมัติจากบัญชีเงินเดือนเพื่อเป็นการบังคับตัวเองให้ออมอย่างสม่ำเสมอ สุดท้ายคุณจะมีความสุขเมื่อเห็นเงินออมเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
อ้างอิง
https://www.sofi.com/learn/content/30-day-spending-rule/?__cf_chl_jschl_tk__=533ef911b71b582243aeb759437af8d22c4a8b18-1613629977-0-ATQELd5ictEmdAqIRmhyDsygVKbX4QvpuvDPzszM-w3UGw3Lhzd8oVO9XvNFu_G2y1-rWTQ-f-i1n2EVsZAXGUPcJMfVrREj__otLSTjW-3u31s0ct7BjeIYKbtoKpIGXZWvccOWKo05JscxFOE_-rVfgM42I5uIiqkzew8MFz-SuN6XB3QxTppIMgTmjhdK4a40_RFZeKAD0o-vfIAP7aOqM5PdpIs2OeWia22W1pqldqwmISRIG2lVwT0dVoMxCaYppGnEIrEYd5FeMUo9-51JtiZVzUXnp0yFZZOyPVVOgxV2tDod-C90MYiuMRSfChHYIvqP_jRns08xeGR0hmH9SIIRyEWbPe--1cBlKJguNZqGo6gQpPW55aQak1zafyDa8kMVMwW40x2szQjzUquBdp0S0GPqczNWOKJKeXVH