ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
อิ่มมื้อนี้ มีดีตรงรักษ์โลก!
หนึ่งในกระแสที่กำลังเป็นที่พูดถึงขณะนี้ คงหนีไม่พ้นประเด็น “สิ่งแวดล้อม” ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตของประชากรโลกในด้านต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่เว้นแม้แต่ “ความมั่นคงทางอาหาร” จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรและปศุสัตว์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเศษอาหารเหลือทิ้งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีกด้วย “การเปลี่ยนวิถีบริโภคอาหาร” จึงเป็นหนึ่งในทางออกใกล้ตัวที่เราทุกคนสามารถเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่วันนี้
1. ลดการกินเนื้อสัตว์
เนื่องจากการทำฟาร์มปศุสัตว์มีส่วนสร้างก๊าซเรือนกระจกจำนวน 14.5% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจากรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยเฉพาะวัวที่มีการปล่อยก๊าซมีเทนจากกระบวนการตามธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้นการลดการกินเนื้อสัตว์ยังช่วยเพิ่มที่ดินหรือพื้นที่ป่าสำหรับสร้างผลผลิตทางการเกษตรให้เพียงพอ เพื่อทดแทนพื้นที่เสื่อมสภาพจากผลกระทบของอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ เราอาจจะลองหันมากินโปรตีนทางเลือกอย่างธัญพืชประเภทถั่ว รวมถึงเทรนด์อาหารสุขภาพแบบใหม่อย่างเนื้อสัตว์เทียมจากพืช (Plant-Based Meat) หรือแมลงกินได้ (Edible Insect) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารแห่งอนาคตในยามที่ประชากรโลกมีแนวโน้มสูงถึง 9 พันล้านคนในปี ค.ศ.2050 และอาจนำมาซึ่งสภาวะขาดแคลนอาหารขั้นรุนแรง
2. กินพออิ่ม
เพื่อลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งที่สุดท้ายแล้วจะกลายเป็นขยะอาหาร หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 8% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด
สถิติจาก FAO ชี้ว่า ในแต่ละปีมีอาหารประมาณ 1.3 พันล้านตันหรือ 1 ใน 3 ของอาหารทั้งหมดที่ผลิตขึ้นบนโลกเหลือทิ้งอย่างน่าเสียดาย คิดเป็นจำนวน 6.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับประเทศพัฒนาแล้วในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือซึ่งมีปริมาณอาหารเหลือทิ้งมากที่สุดเป็นจำนวน 95-115 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และอีก 3.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงในทวีปเอเชียเป็นจำนวน 6-11 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
3. ทำอาหารกินเอง
นอกจากจะเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่รัดตัวแล้ว ยังทำให้เราสามารถจัดสรรปริมาณอาหารในมื้อนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม เริ่มจากการเลือกซื้อวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารที่อาจมีรอยตำหนิหรือไม่สมบูรณ์แบบตามเกรดสินค้าเกษตร แต่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการไว้อย่างเต็มเปี่ยม เพื่อลดการเหลือทิ้งของพืชผักที่ไม่สวยงามเหล่านั้นเพราะถูกคนมองข้าม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตจากการลงทุนลงแรงของเกษตรกร
ยิ่งไปกว่านั้น ควรเลือกอาหารที่ทำจากวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่นตามฤดูกาล เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขั้นตอนขนส่ง และเศษเนื้อสัตว์หรือพืชผักยังสามารถนำมาดัดแปลงเป็นอาหารอื่นๆ ได้อีกอย่างคุ้มค่า โดยไม่เหลือทิ้งในมื้อถัดไป
4. เลือกใช้วิธีเก็บและถนอมอาหารอย่างเหมาะสม
ลดการเน่าเสียและเหลือทิ้งของอาหารหรือของสด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้โดยไม่จำเป็น โดยวิธีง่ายที่สุดคือการเก็บไว้ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง เพื่อคงความสดใหม่และยืดอายุได้นาน
5. ใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือวัสดุที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่
เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขยะพลาสติกกว่า 300 ล้านตันต่อปี จากสถิติของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในจำนวนนี้มีเพียง 9% เท่านั้นที่นำกลับมารีไซเคิลได้ใหม่ ทำให้ขยะพลาสติกจำนวน 8 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่ทะเล
ยกตัวอย่าง แม่น้ำแยงซีในประเทศจีนต้องรองรับขยะพลาสติกมากที่สุดในโลกเป็นจำนวนถึง 1,469,481 ตันต่อปี หากปริมาณของพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าในปี ค.ศ. 2050 ขยะพลาสติกจะมีจำนวนมากกว่าปลาในท้องทะเล!
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนักและร่วมไม้ร่วมมือกันให้มากขึ้น เริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุดด้วยการสร้างพฤติกรรมการกินแบบรักษ์โลกเพื่อสร้างความยั่งยืน
นอกจากนี้ เรายังสามารถอิ่มได้อย่างสบายกระเป๋า ด้วยโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษมากมายสำหรับผู้ถือบัตรเครดิต SCB ไม่ว่าจะมื้อไหนๆ ก็ให้คุณได้อร่อยฟินสุดคุ้มกับร้านดังที่ร่วมรายการ