ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
รีไฟแนนซ์รถยนต์คืออะไร? ยังผ่อนไม่หมดเอารถไปรีไฟแนนซ์ได้ไหม
หากเอ่ยถึงคำว่า “รีไฟแนนซ์” (refinance) ทุกคนคงเข้าใจดีว่า รีไฟแนนซ์คือ การขอสินเชื่อก้อนใหม่มาโปะสินเชื่อก้อนเก่า เพื่อลดดอกเบี้ยให้ต่ำลงและระยะเวลาผ่อนชำระลดลงด้วย
สังเกตเห็นว่าเวลาขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ในช่วงปีแรกๆ (เช่น 1 – 3 ปีแรก) สถาบันการเงินจะเสนอโปรโมชันเพื่อจูงใจผู้ขอกู้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำและเป็นแบบคงที่ แต่หลังจากหมดช่วงโปรโมชัน ผู้ขอกู้ต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นแบบลอยตัว ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
การรีไฟแนนซ์ ทำได้ทั้งขอสินเชื่อก้อนใหม่จากสถาบันการเงินเดิม หรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินแห่งใหม่มาจ่ายเงินกู้ก้อนเดิม เช่น ปี 2558 ขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน A และปี 2562 ต้องการรีไฟแนนซ์
กรณีที่ 1 : ขอสินเชื่อก้อนใหม่กับสถาบันการเงิน A เพื่อจ่ายเงินกู้ก้อนเดิม
กรณีที่ 2 : ขอสินเชื่อก้อนใหม่กับสถาบันการเงิน B เพื่อจ่ายเงินกู้ก้อนเดิมของสถาบันการเงิน A
สำหรับการรีไฟแนนซ์ ทำได้ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย รีไฟแนนซ์รถยนต์ รถจักรยานยนต์ บัตรเครดิต เป็นต้น ดังนั้น ก่อนรีไฟแนนซ์ก็ต้องคำนวณว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่
ในขั้นแรกต้องเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงว่าจะช่วยให้ประหยัดได้มากกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์หรือไม่ เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำประกัน ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้เดิมในกรณีที่ยุติการกู้ก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา
หากพบว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงหรือเสียเวลามาก แต่ช่วยประหยัดเงินได้น้อยก็ไม่ต้องทำการรีไฟแนนซ์
ตัวอย่าง การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น และดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ เพื่อประเมินเบื้องต้นก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์ ไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัย รีไฟแนนซ์รถยนต์ หรือบัตรเครดิต
นาย ก ได้กู้เงินซื้อบ้านจากธนาคาร A เป็นเงิน 2,200,000 บาท โดยกู้มาแล้ว 3 ปี ขณะที่เงินต้น คงเหลือ 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่จ่ายอยู่เดิม คือ 7% โดยนาย ก กำลังตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์ ไปธนาคาร B ซึ่งจะคิดดอกเบี้ยคงที่ 3% เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ให้สันนิษฐานว่าหลังจากหมดโปรโมชันแล้ว จะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งเท่ากับอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินเดิม)
ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ |
ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ |
ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยที่ ประหยัดได้ x จำนวนปีที่ได้ โปรโมชัน
ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = อัตราดอกเบี้ยที่อยู่สถาบัน การเงินเดิม – อัตรา ดอกเบี้ยสถาบันการเงินที่ จะรีไฟแนนซ์
จำนวนปีที่ได้โปรโมชัน = จำนวนปีที่สถาบันการเงิน แห่งใหม่ให้ดอกเบี้ยต่ำ กว่าสถาบันการเงินเดิม
คำนวณได้ดังนี้ ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ (ประมาณ) = 2,000,000 x (7 – 3) x 3 100 = 240,000 บาท
ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ประมาณ 240,000 บาท |
ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้แก่หน่วยงานราชการ
ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินแห่งใหม่
คำนวณได้ดังนี้
ค่าจดจำนองบ้าน = 2,000,000 x 1 100 = 20,000 บาท
ค่าอากรแสตมป์ = 2,000,000 x 0.05 100 = 1,000 บาท
ค่าประเมินหลักประกัน (ประมาณ) =3,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 + 1,000 + 3,000 = 24,000 บาท |
เมื่อคำนวณแล้วการรีไฟแนนซ์จะประหยัดเงินได้ประมาณ 240,000 - 24,000 = 216,000 บาท |
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ การคำนวณเป็นเพียงตัวอย่าง ควรสอบถามรายละเอียดจากสถาบันการเงินแต่ละแห่งก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์
ปัจจุบัน มีตารางสูตรคำนวณ ซึ่งสถาบันการเงินแต่ละแห่งมีให้บริการ เพียงแค่กรอกข้อมูลก็สามารถเปรียบเทียบได้อย่างรวดเร็ว
ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์ ไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัย รีไฟแนนซ์รถยนต์ หรือบัตรเครดิต ในเบื้องต้นต้องเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายตลอดอายุสินเชื่อเดิม กับสินเชื่อใหม่ที่จะรีไฟแนนซ์ว่าอันไหนต่ำกว่ากัน นอกจากนี้ให้ดูเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบ เช่น การรีไฟแนนซ์รถยนต์หรือบ้าน ให้ดูจำนวนเงินผ่อนต่องวด ระยะเวลาการผ่อน หรือเงื่อนไขบางอย่างจากสถาบันการเงิน
ถัดมา ให้ดูค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมของการรีไฟแนนซ์ที่จะต้องจ่ายทั้งหมดว่าเป็นเท่าไหร่ รวมถึงเงื่อนไขการไถ่ถอนสินเชื่อเดิมว่าเป็นอย่างไร เพราะถ้าผิดเงื่อนไขจะต้องเสียค่าปรับด้วย
มาถึงข้อควรดูก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัย รีไฟแนนซ์รถยนต์ หรือบัตรเครดิต คือ การวิเคราะห์ ด้วยการนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาเปรียบเทียบกับจำนวนดอกเบี้ยทั้งหมดที่จะประหยัดได้ ถ้าดูแล้วเกิดความคุ้มค่าก็ติดต่อสถาบันการเงินเพื่อทำการรีไฟแนนซ์ตามขั้นตอน อาจลองยื่นเอกสารกับสถาบันการเงินเป้าหมายสัก 3 – 4 แห่ง แล้วเลือกรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินที่ให้วงเงินสูงที่สุด ภายใต้เงื่อนไขการผ่อนชำระและค่าธรรมเนียมที่ใกล้เคียงกัน
แน่นอนการรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัยหรือรีไฟแนนซ์รถยนต์ ทำเพื่อให้เปิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือ ต้นทุนอัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจดำเนินการจะมีรายละเอียด ข้อมูล รวมถึงการเปรียบเทียบ ซึ่งต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วน ถ้าวิเคราะห์ว่ารีไฟแนนซ์แล้วคุ้มค่าก็ต้องทำ แต่ถ้าไม่คุ้มค่าและเสียเวลาก็ใช้สินเชื่อเดิมต่อไป
รีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านมาที่ SCB ผ่อนเท่าเดิม กู้เพิ่มได้ ชีวิตเบาขึ้น