ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำ เมื่อตรวจรับโอนคอนโดฯ
เรื่องที่ยากที่สุดสำหรับหลายๆ คนในการซื้อคอนโดมิเนียมสักห้อง อาจไม่ใช่ตอนยื่นกู้ธนาคาร แต่เป็นตอนตรวจรับโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯจากของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาเป็นของตัวเอง เพราะถ้าตรวจไม่ดี แล้วรับโอนมา ตอนทำเรื่องขอแก้ไขอะไรจะยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ วันนี้จึงมีเช็กลิสต์ สิ่งที่ต้องทำเมื่อตรวจรับโอนคอนโดฯ มาแบ่งปันกันค่ะ
1.เตรียมอุปกรณ์
เนื่องจากในการตรวจรับโอนคอนโดฯเราต้องเช็กหลายส่วนงานมาก การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับตรวจทุกส่วนงานจึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก มีอุปกรณ์หลักๆ ที่ต้องเตรียม ดังนี้
- กล้องถ่ายรูป/กล้องมือถือ
: ใช้ถ่ายรูปทุกอย่างเป็นหลักฐานอย่างละเอียด
- โพสต์-อิท/กระดาษจด
: ใช้สำหรับจดรายละเอียดและแปะจุดที่ต้องการให้ซ่อมก่อนโอน
- ตลับเมตร
: ใช้ตรวจวัดพื้นที่ส่วนต่างๆ
- ลูกแก้ว
: ใช้ตรวจสอบความลาดเอียงของพื้น
- ถังน้ำ
: ใช้ราดน้ำทดสอบความลาดเอียงของระเบียงและห้องน้ำว่าจะทำให้น้ำสามารถไหลลงท่อได้หรือไม่
- เหรียญ
: ใช้เคาะพื้นหรือกระเบื้องว่ามีจุดไหนที่กลวงผิดปกติหรือไม่
- อุปกรณ์ไฟฟ้า/สายชาร์จแบตฯ : ใช้ตรวจสอบปลั๊กไฟ
2.ตรวจงานพื้น ผนัง ประตูหน้าต่าง และเพดาน
ถือเป็นงานกลุ่มแรกที่สามารถตรวจได้ เพราะปัญหาหลายๆ ส่วนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ขณะเดียวกัน ก็มีงานบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่มักมีปัญหาอยู่เสมอ งานกลุ่มนี้มีจุดที่ต้องตรวจเช็กหลักๆ ดังนี้
-
งานพื้น
กรณีเป็นลามิเนต ตรวจสอบว่าพื้นบวมหรือมีจุดไหนที่เคาะแล้วเป็นโพรงหรือไม่ ติดตั้งได้เท่ากัน ไม่มีตรงไหนที่เดินแล้วสะดุด ใช้ลูกแก้วตรวจสอบดูว่าปูได้เสมอกัน ไม่มีส่วนไหนเป็นหลุมหรือลาดเอียง กรณีกระเบื้องระเบียงและห้องน้ำ ให้ตรวจสอบว่าเมื่อเทน้ำราดพื้นแล้ว น้ำสามารถระบายได้ดีและรวดเร็วหรือไม่ ที่สำคัญเทน้ำราดพื้นแล้วต้องไม่มีน้ำขัง
-
งานผนัง
ตรวจสอบรอยฉาบว่าทำได้เรียบหรือไม่ มีรอยร้าวตรงไหน สีที่ทานั้นทาได้สม่ำเสมอหรือเกิดรอยด่างตรงไหน เป็นสีตามแบบที่กำหนดหรือไม่ กรณีเป็นวอลเปเปอร์ ให้ลองไล่ลูบผนังดูเพื่อตรวจสอบภายในว่าฉาบผนังเรียบหรือไม่ ติดวอลเปเปอร์เนียนแล้วหรือยัง และดูว่าวอลเปเปอร์มีรอยฉีกขาดหรือรอยต่อตรงไหนที่ทำได้ไม่ดีหรือไม่ บัวเชิงผนังก็ต้องมีความต่อเนื่อง กรณีผนังกระเบื้องในห้องน้ำ ต้องตรวจสอบด้วยการเคาะเหรียญว่าปูเต็มแผ่น ไม่มีเสียงกลวงด้านใน
-
งานประตูหน้าต่าง
ตรวจสอบตั้งแต่การเปิดปิดปกติ ว่าสามารถเปิดปิดได้สนิทโดยไม่มีเสียงดัง ปัญหาฝืด เอียง ตรวจสอบลูกบิดว่ายึดกับประตูแน่น ตรวจสอบบานพับ ตรวจสอบกลอนประตูหน้าต่าง ตรวจสอบกระจกบานเลื่อนว่าไม่มีรอยร้าว และสามารถเลื่อนได้โดยไม่ฝืดหรือตกราง และดูว่ามีสีทาเลยมาโดนประตูหน้าต่างหรือไม่
-
งานเพดาน
ตรวจสอบความสูงจากพื้นถึงเพดานว่าเป็นไปตามที่ระบุในสัญญาหรือไม่ ตรวจสอบระดับฝ้าว่าไม่มีรอยแตกร้าว หรือสีด่าง คราบน้ำที่มาจากการรั่วซึมของห้องด้านบน
3.ตรวจระบบน้ำและสุขาภิบาล
เป็นระบบที่หากไม่ตรวจให้ดี ชีวิตจะพังพินาศ เพราะมักจะกระทบกับเรื่องสุขอนามัย ดังนั้นนอกจากจะตรวจเช็กห้องน้ำผ่านงานพื้นและผนังแล้ว ยังต้องตรวจสอบระบบน้ำอื่นๆ ให้ครบถ้วน
-
สายฉีด ฝักบัว และก๊อกน้ำทุกจุด
: ตรวจสอบดูว่าเมื่อเปิดใช้งานพร้อมกัน แรงดันน้ำไม่ตก และน้ำไหลแรงพอทุกจุด
-
อ่างซิงค์และอ่างล้างจาน
: ไม่มีรอยรั่วซึม ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และสามารถระบายน้ำได้ ไม่อุดตัน
-
ระบบเครื่องทำน้ำอุ่น
: ตรวจสอบว่าไม่รั่วและมีการติดตั้งสายดิน
-
ท่อน้ำทิ้งจากเครื่องปรับอากาศ
: ตรวจสอบว่าสามารถทำงานได้ปกติ
4.ตรวจระบบไฟฟ้า
เป็นส่วนที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาช่วย โดยมีสิ่งที่ต้องตรวจสอบหลักๆ ดังนี้
-
เต้าเสียบทุกจุด
: ตรวจสอบว่าไฟทำงานได้ทุกจุดหรือไม่ โดยอาจใช้สายชาร์จแบตฯมือถือ หรือไขควงวัดไฟ
-
สวิตช์ไฟทุกจุด
: ตรวจสอบว่าเปิดติดทุกจุดหรือไม่
-
ระบบสัญญาณโทรศัพท์
: ตรวจสอบว่าใช้งานได้หรือไม่
-
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่แถมมา
: ตรวจดูว่าชำรุดหรือไม่ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ต้องตรวจด้วยว่าเป็นของใหม่และไม่มีเสียงดังผิดปกติ
5.ตรวจเฟอร์นิเจอร์บิลต์-อิน
เฟอร์นิเจอร์บิลต์-อินมักเป็นสิ่งที่คอนโดฯสั่งมาเป็นล็อตใหญ่ ทำให้สินค้าบางชิ้นมีโอกาสชำรุดได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นตู้บิลต์-อิน ครัวบิลต์-อินต่างๆ ก็จำเป็นต้องดูว่าประกอบมาเรียบร้อย สามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่
ทั้งหมดนี้คือเช็กลิสต์จุดที่สำคัญๆ สำหรับการตรวจรับโอนคอนโดฯ สำหรับท่านใดที่รู้สึกว่าเห็นแล้วไม่อยากตรวจเอง ก็สามารถจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในการตรวจรับได้ โดยส่วนใหญ่ราคายังอยู่ในหลักพันบาท โดยบวกลบตามขนาดของห้อง แต่ไม่ว่าจะตรวจเองหรือจ้างที่ปรึกษามาตรวจ ก็ต้องอาศัยความละเอียดเข้ามาช่วย เพราะท้ายที่สุดแล้ว คนที่ต้องผ่อนหรืออยู่กับห้องชุดนี้ไปอีกนับสิบปีหลังโอน ก็คือตัวเรานั่นเอง