ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
แนวทางลงทุนต่างประเทศ ฉบับประหยัดภาษีเงินได้
ตามที่กรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 161/2566 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 และ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 162/2566 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของเจ้าพนักงานในการให้คำแนะนำแก่ผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งมีเงินได้จากต่างประเทศตามหลัก Resident Rule คือมีเงินได้จากต่างประเทศในปีที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน โดยหลักปฏิบัตินี้จะมีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้จากต่างประเทศที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป* จากหลักปฏิบัตินี้มีผลให้บุคคลธรรมดาที่อยู่อาศัยในประเทศไทยและมีรายได้จากต่างประเทศที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เมื่อนำเงินดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทย จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยตามอัตราภาษีก้าวหน้า (5% - 35%) ด้วยภาระภาษีที่เกิดขึ้นจากหลักปฏิบัตินี้ด้วยภาระภาษีที่เกิดขึ้นจากกฎหมายใหม่นี้ ได้สร้างความกังวลให้เหล่านักลงทุนที่ได้ไปลงทุนในต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในบทความนี้ SCB Wealth Planning and Family Office จึงขอนำเสนอแนวทางการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มเติม ดังนี้
| นิติบุคคล | บุคคลธรรมดา |
อัตราภาษี |
สำหรับกรณีนี้จะมี Effective Tax Rate อยู่ที่ 28% ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 100 บาท จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% ซึ่งก็คือ 20 บาท บริษัทจะมีเงินเหลือ 80 บาท บริษัทได้จ่ายเงินปันผล 80 บาทดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดา บริษัทจะมีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย 8 บาท (10% ของ 80 บาท) ภาษีที่จะต้องเสียให้กับสรรพากรในกรณีนี้จึงเป็น 28 บาท หรือก็คือ 28% นั่นเอง | ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามก้าวหน้า (5% - 35%) ตามวิธีเงินได้สุทธิโดยอัตราสูงที่สุด 35% |
การหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องจากการลงทุน | หักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องจากการลงทุน (การประกอบกิจการ) ได้ | หักค่าใช้จ่ายทโดยขึ้นอยู่กับประเภทเงินได้ และบางเงินได้หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ เช่น เงินได้ดอกเบี้ย เงินได้เงินปันผล |
ผลขาดทุนจากการลงทุน | หากมีผลขาดทุนจากการขายหุ้นสามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ | หักผลขาดทุนจากการลงทุนไม่ได้ |
จากตารางข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่าการลงทุนในต่างประเทศผ่านรูปแบบนิติบุคคลจะมีภาระภาษีที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับบุคคลธรรมดา รวมทั้งยังสามารถหักค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้อีกด้วย การลงทุนในรูปแบบบริษัทนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่ชื่นชอบการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้การลงทุนในรูปแบบบริษัทก็จะมีต้นทุนในด้านการบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี ค่าทนายความ เป็นต้น รวมทั้งบริษัทก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเป็นประจำทุกปี เช่น การจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบการเงิน การนำส่งงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากร ซึ่งวิธีนี้ อาจจะเหมาะกับนักลงทุนที่ลงทุนในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก สำหรับกรณีที่ไม่ได้ลงทุนต่างประเทศเป็นจำนวนที่มากนั้น อาจจะพิจารณาการลงทุนในรูปแบบบุคคลธรรมดาตามตัวอย่างในข้อ 1 และ ข้อ 2 ข้างต้น ซึ่งธนาคารและ InnovestX ก็มีกองทุนและผลิตภัณฑ์หลากหลายให้ท่านพิจารณาเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับความต้องการของท่าน โดยท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุนของท่าน หรือ ผ่าน SCB Call Center 02-777-7777
===================================================================