7. ร้านค้าที่ต้องการรับเงินด้วย QR Code ต้องทำอย่างไร
- ร้านค้าสามารถติดต่อผู้ให้บริการ เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือผู้ให้บริการชำระเงินอื่น ที่ให้บริการ QR Code และได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสอบถามถึงบริการรับชำระเงินด้วย QR Code มาตรฐานได้โดยตรง โดยธนาคารหรือ ผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดทำข้อมูลและสร้าง QR Code ให้กับแต่ละร้านค้า ทั้งนี้ QR Code มี 2 แบบ คือ
- แบบ Static : QR Code จะไม่เปลี่ยนแปลง ร้านค้าสามารถพิมพ์และติดไว้ที่ร้านค้าได้ตลอด จนกว่าข้อมูลการชำระเงินจะเปลี่ยนไป โดยอาจเป็นแบบที่ระบุจำนวนเงินไว้ หรือแบบที่ลูกค้าเป็นผู้ใส่จำนวนเงินเอง
- แบบ Dynamic : QR Code จะเปลี่ยนในทุกรายการ เช่น การระบุราคาสินค้าในแต่ละรายการ โดยลูกค้าไม่ต้องใส่จำนวนเงิน กรณีนี้ QR Code จะถูกสร้างขึ้นจาก application ของร้านค้าในแต่ละรายการ
8. ประโยชน์ที่ร้านค้าจะได้รับ
- เพิ่มช่องทางการชำระเงิน ช่วยขยายฐานลูกค้าและโอกาสทางธุรกิจ
- ค่าใช้จ่ายถูก ไม่ต้องเสียค่าอุปกรณ์
- เงินเข้าบัญชีโดยตรง เงินไม่สูญหาย ไม่ถูกโจรกรรม ไม่ต้องห่วงเรื่องธนบัตรปลอม และไม่ต้องทอนเงิน
- ตอบสนอง lifestyle ยุคใหม่ของลูกค้า ที่นิยมทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ
9. ร้านค้าจะได้รับเงินอย่างไร
- กรณีเป็นร้านค้าที่รับบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต จะมีวิธีการตัดเงินเข้าบัญชีของร้านค้าตามปกติ
- กรณีเป็นร้านค้าที่ใช้บริการพร้อมเพย์เพื่อรับเงิน (โดยผูกบัญชีเงินฝากธนาคารกับเลขประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือใช้บัญชี e-Wallet) จะได้รับเงินเข้าบัญชีที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้
- กรณีร้านค้าเปิดบัญชี e-Wallet ก็สามารถใช้บัญชีดังกล่าว ในการรับชำระเงินได้เช่นกัน
10. ร้านค้ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
- ค่าใช้จ่ายของร้านค้า ขึ้นอยู่กับบริการต่างๆ ที่ร้านค้าต้องการได้รับจากธนาคารหรือผู้ให้บริการ
11. ร้านที่ใช้ QR Code เป็นร้านค้าบุคคลธรรมดาได้หรือไม่
- ร้านค้าทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สามารถรับเงินผ่าน QR Code ได้ โดยสมัครรับบริการกับผู้ให้บริการ ซึ่งจะมีการรับร้านค้าตามข้อกำหนดของธนาคาร
12. ร้านค้าจะทราบได้อย่างไรว่าได้รับเงินเข้าบัญชีแล้ว
- ร้านค้าจะมี application หรือ mobile banking ซึ่งธนาคารจะมีบริการแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชี เช่น SMS หรือบริการแจ้งเตือน (Notification) รวมทั้ง ร้านค้าสามารถตรวจสอบรายการใน mobile application ได้อีกทางหนึ่งด้วย
13. สามารถตรวจสอบรายการเงินเข้าบัญชีใน Mobile Banking ได้ทันทีหรือไม่
14. ร้านค้าสามารถเปลี่ยนผู้ให้บริการชำระเงินด้วย QR Code ได้หรือไม่
- ร้านค้าสามารถเลือกใช้บริการจากธนาคารหรือผู้ให้บริการชำระเงินได้ตามความสะดวก และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยควรยกเลิกการใช้ QR Code เดิม และแสดง QR Code ใหม่ ที่ร้านค้าเพียงอันเดียว เพื่อป้องกันการโอนเงินผิดพลาด
15. ร้านค้าต้องการเปลี่ยนบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ต้องทำอย่างไร
- สามารถเปลี่ยนบัญชีได้ที่สาขาธนาคาร แอพพลิเคชั่น Mobile application หรือช่องทางอื่นๆ ของธนาคาร
- การเปลี่ยนบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ภายในธนาคารหรือผู้ให้บริการเดียวกันไม่ต้องเปลี่ยน QR Code ในกรณีนี้ร้านค้ายังคงใช้หมายเลขพร้อมเพย์เลขเดิมในการรับชำระเงิน
- การเปลี่ยนบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์กับต่างธนาคารหรือต่างผู้ให้บริการ ต้องทำการเปลี่ยน QR Code กับธนาคารหรือผู้ให้บริการใหม่
16. ร้านค้าต้องการเปลี่ยนแปลงเลขพร้อมเพย์เพื่อรับ QR Code ต้องทำอย่างไร (ทั้งธนาคารเดิมและต่างธนาคาร)
- ร้านค้าต้องแจ้งต่อธนาคาร เพื่อทำการยกเลิกการผูกหมายเลขพร้อมเพย์เดิม
- ร้านค้าสามารถติดต่อธนาคารที่ท่านจะใช้บริการ เพื่อทำการสมัครบริการพร้อมเพย์ และขอรับ QR code ใหม่
17. การรับชำระเงินด้วย QR Code ที่ร้านค้าแตกต่างจากการใช้เครื่อง EDC อย่างไร
- การรับชำระเงินด้วย QR Code จะมีความสะดวกและคล่องตัวในการติดตั้งมากกว่าเครื่อง EDC อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า สามารถเลือกชำระเงินได้หลากหลายช่องทางที่ตรงกับการใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งการใช้บัตร หรือใช้ mobile banking ดังนั้น การเลือกติดตั้งควรพิจารณาให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของร้าน
18.หากร้านค้าใช้ QR Code จะถูกส่งข้อมูลทางการเงินให้กรมสรรพากรหรือไม่
- ข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้ามีกฎหมายดูแล ซึ่งห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการเปิดเผยข้อมูลของลูกค้า ยกเว้นการเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เปิดเผยตามคำสั่งศาล หรือเปิดเผยเพื่อประโยชน์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
- การชำระเงินด้วย QR Code หรือการใช้พร้อมเพย์ไม่มีความสัมพันธ์กับการตรวจสอบภาษีหรือการเรียกคืนภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากรแต่อย่างใด
- การชำระเงินด้วย QR Code หรือการใช้พร้อมเพย์ เป็นช่องทาง การโอนเงิน/ชำระเงินช่องทางหนึ่งเช่นเดียวกับการโอนเงินผ่านทาง e-Banking หรือผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มีการส่งให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ กรมสรรพากรมีอำนาจออกหมายเรียก ให้ธนาคารส่งข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน (ไม่ว่าจะทำผ่านช่องทางใดก็ตาม) ให้แก่กรมสรรพากรตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้เสียภาษีรายนั้นยื่นเสียภาษีไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างจำกัด และไม่สามารถขอให้ส่งข้อมูลการโอนเงินทั่วไปได้