การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ในการลงทุนนั้น ผู้ลงทุนควรจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท (Asset Allocation) โดยมีสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น เพื่อคาดหวังผลกำไรที่เพิ่มพูนขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับกับการแลกมาด้วยความเสี่ยงหรือความผันผวนจากการขาดทุนได้ในระหว่างทาง เพื่อคาดหวังอนาคตขยายตัวดีขึ้นระยะถัดไป และก็ควรมีตราสารหนี้เป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ในพอร์ตลงทุน เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนน้อยกว่า และด้วยคุณสมบัติที่มีความเสี่ยงไม่สูง จึงช่วยลดความเสี่ยงและความผันผวนของพอร์ตโดยรวมลงมาได้
สำหรับ Credit Rating ของตราสาร จะจัดทำขึ้นโดยบริษัทภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท ได้แก่ Tris Rating, Fitch Ratings, Moody’s และ S&P Global Ratings ซึ่งบริษัทเหล่านี้ก็จะประเมิน Credit Rating โดยวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ เช่น ผลประกอบการของบริษัทผู้ออกตราสาร สัดส่วนหนี้สินต่อทุน ความสามารถในการชำระหนี้ เป็นต้น
ในการจัดอันดับจะมีการให้ลำดับออกมาเป็นเกรด เริ่มตั้งแต่ AAA, AA, A, BBB, BB, B ไปจนถึง CCC โดยทุกบริษัทมีการใช้เกรดที่ใกล้เคียงกัน และมีการจัดแบ่งของเกรดเหล่านี้ออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่ม BBB ขึ้นไป ก็จะจัดอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade: IG) ซึ่งผู้ออกตราสารที่มี Credit Rating ระดับนี้ ก็จะมีความสามารถชำระหนี้ได้ดีพอสมควร อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon) ที่ตราสารเหล่านี้นำเสนอก็จะไม่สูงมาก อย่างไรก็ตาม หากมี Credit Rating ต่ำกว่าระดับ IG ลงไป จะสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดหลั่นลงไป ซึ่งกลุ่มนี้มักจะนำเสนอ Coupon ที่สูง แต่ผู้ลงทุนก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงเช่นกัน ดังนั้นหากเรา ต้องการลดความเสี่ยงลงมาหน่อย เพื่อความอุ่นใจ ก็ควรลงทุนในตราสารหนี้ที่มี Credit Rating ที่ BBB ขึ้นไป
ทั้งนี้ ในการจัดพอร์ตลงทุนตราสารหนี้ให้สมาร์ท ผู้ลงทุนควรบริหารจัดการเลือกช่วงอายุของตราสารที่เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุน เช่น อาจจะลงทุนในตราสารหนี้อายุสั้นน้อยกว่า 1 ปี ประมาณ 30% ของพอร์ตตราสารหนี้โดยรวม ตราสารหนี้อายุปานกลาง 1 ปีขึ้นไปถึง 5 ปี ประมาณ 30% และตราสารหนี้อายุยาวกว่า 5 ปี ประมาณ 40% โดยผู้ลงทุนอาจเลือกจัดพอร์ตลงทุนในตราสารหนี้ผ่านการคัดเลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ในช่วงอายุที่แตกต่างกันไป
สำหรับการเลือกลงทุนในตราสารหนี้อายุสั้นสามารถทำได้ผ่านกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น (Short – Term Fixed Income Fund)
สำหรับกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น ที่เราแนะนำให้ลงทุน คือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (ชนิดหน่วยลงทุน B) หรือ SCBSFFPLUS-B ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยง ระดับ 4 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
กองทุนนี้ จะนำเงินไปลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน และตราสารหนี้ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และกองทุนจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนในต่างประเทศ
ใครที่สนใจลงทุนผ่านกองทุนนี้ ก็เริ่มได้ง่ายๆ โดย ลงทุนขั้นต่ำที่ครั้งละ 1,000 บาท ลองคิดดูว่า ถ้าทยอยแบ่งเก็บเข้าไปลงทุนในกองทุนนี้เรื่อยๆ เดือนละอย่างน้อยแค่ 3,000-5,000 บาท จากนี้ไปจนถึงปลายปี ก็มีเงินก้อนที่เพียงพอจะไปทำเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้แล้ว
เมื่อตัดสินใจได้แล้วก็มาเริ่มต้นลงทุนกันเลย แต่อย่าลืมพิจารณาเรื่อง Credit Rating กับอายุตราสารให้ดี เลือกลงทุนตราสารที่เหมาะสำหรับเป้าหมายการลงทุนของตัวเอง ด้วยระยะเวลาที่ยาวเพียงพอ เหมาะสมกับอายุของตราสาร เพียงเท่านี้ไม่ว่าสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยโลกเวลานั้นจะเป็นอย่างไร ท่านก็จะยังอุ่นใจได้กับพอร์ตลงทุนตราสารหนี้ที่สมาร์ท
ระดับความเสี่ยง: 4 ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
จุดเด่นกองทุน*:
ทางเลือกของผู้ลงทุนที่ต้องการรับผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากหรือต้องการพักเงินเพื่อรอการลงทุน
กลยุทธ์การลงทุน:
ลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน และตราสารหนี้ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ความเสี่ยงที่สำคัญ:
กองทุนนี้เหมาะกับใคร*:
เวลาซื้อ-ขาย:
จำนวนซื้อขายขั้นต่ำ: 1,000 บาท
หมายเหตุ:
*ข้อมูลจากเอกสาร Fact Sheet และ SCBS CIO Office
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้ และสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนหลักได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนผ่าน SCB EASY App
SCB พร้อมให้บริการคุณ 24 ชั่วโมงทุกวัน
พบกับบริการสาขา ตู้เอทีเอ็มใกล้เคียง หรือสะดวกที่สุด
ส่งข้อความหาเรา หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม
ส่งข้อความ