ป้องกันตัวเองอย่างไร ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

แม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะเคยได้ยินข่าวเรื่องแก๊ง Call Center กันอยู่เป็นประจำ แต่ก็ยังคงมีคนหลงกล ตกเป็นเหยื่อให้เห็นกันอยู่เนื่อง ๆ  ซึ่งผู้เสียหายไม่ได้มีเพียงแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังพบได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษาอีกด้วย นั่นหมายความว่า สักวันหนึ่งคุณเองก็อาจจะกลายเป็นเหยื่อได้โดยไม่รู้ตัว หากรู้ไม่เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกงของเหล่ามิจฉาชีพ


จากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 12 - 18 มีนาคม 2566 มีการรับแจ้งความออนไลน์ จากคดีหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่เป็นขบวนการ หรือที่เรียกว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์  มีจำนวน 529 เคส มูลค่าความเสียหายกว่า 65 ล้านบาท ขณะที่ Whoscall (แอประบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก) ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับ 7 ใน 10 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นข้อความสแปม ขณะที่โทรศัพท์ที่หลอกลวงยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย และยังพบอีกว่า คนไทยได้รับสายจากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น 165% หรือ 17 ล้านครั้งในปี 2565 และยังมีการรายงานถึงการรั่วไหลของข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ในไทยถึง 13.5 ล้านเบอร์ หรือคิดเป็น 45% อีกด้วย

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่า มีภัยทุจริตทางการเงิน เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์, SMS หลอกลวง, แอปดูดเงิน ฯลฯ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้มีมาตรการต่าง ๆ ออกมาป้องกันอย่างเข้มข้นแล้วก็ตาม แต่เพราะมิจฉาชีพมีการปรับปรุงเทคนิคและพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ทำให้หลอกลวงได้อย่างแยบยลมากกว่าเดิม โดยเฉพาะแอปดูดเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในเดือน มิถุนายน 2566  โดยมีรายงานความเสียหายจากแอปดูดเงินในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ธ.ค. 65 - มิ.ย. 66) อยู่ที่ 1,152 ล้านบาท นอกจากนี้การหลอกลวงจากแก๊งมิจฉาชีพ ณ ตอนนี้ไม่ใช่แค่การหว่านแหเพื่อหาเหยื่อเหมือนแต่ก่อน แต่จะมีการหลอกล่อเหยื่อที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากเคยไปติดต่อราชการกับกรมที่ดิน ก็จะมีแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมาหาเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน หรือ ถ้าหากไปจ่ายค่าไฟฟ้า ก็จะมีแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมาหาเกี่ยวกับเรื่องค่าไฟฟ้า เป็นต้น


ป้องกันอย่างไร ไม่หลงตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 
   

  1. ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดจะได้รู้เท่าทันภัยรูปแบบใหม่ ๆ
  2. ไม่คลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
  3. หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลทางการเงิน
  4. อัปเดตระบบปฏิบัติการและแอปของธนาคารให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
  5. ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมนอกเหนือจากแหล่งที่เชื่อถือได้
  6. ไม่ใช้โทรศัพท์ที่ไม่ปลอดภัย ขณะทำธุรกรรมทางการเงิน
  7. ใช้แอป Whoscall  เพื่อช่วยตรวจเช็กเบอร์แปลก ๆ รวมถึงข้อความ SMS ที่ส่งเข้ามาในเบื้องต้น ว่าเบอร์โทร / ข้อความที่ได้รับ มาจากมิจฉาชีพหรือไม่

ทำอย่างไรเมื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 
   

  • เมื่อรู้ตัวว่ากำลังโดนหลอกลวงให้ตั้งสติ และหยุดการติดต่อกับมิจฉาชีพทันที
  • แจ้งธนาคารที่ใช้บริการทันที ผ่านช่องทาง Hotline คอลเซ็นเตอร์ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อสาขาธนาคาร ภายในเวลาทำการ เพื่อทำการระงับธุรกรรม หรือบัญชีชั่วคราวของผู้เสียหาย และบัญชีปลายทาง
  • แจ้งความอย่างรวดเร็วภายในเวลา 72 ชั่วโมง ผ่านทาง www.thaipoliceonline.com ตลอด 24 ชั่วโมง หรือไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ


สุดท้ายแล้ว ต้องมีสติในการทำธุรกรรมการเงินทุกครั้ง เพราะถ้าหากไม่ระแวดระวัง อาจหลงกล ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้โดยง่าย  รวมถึงให้ระมัดระวังในการให้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้รหัส OTP ในการทำธุรกรรมการเงินกับใคร ระมัดระวังการคลิกลิงก์ โดยเฉพาะถ้าหากแจ้งว่ามาจากธนาคารให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าเป็นมิจฉาชีพเพราะธนาคารไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กับลูกค้า รวมถึงให้ระมัดระวังในการติดตั้งแอปต่าง ๆ โดยควรเลือกดาวน์โหลดจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นเกราะป้องกันภัยเบื้องต้น ไม่ให้หลงตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพต่าง ๆ ได้โดยง่าย


SCB ช่วยแก้เกมกลโกง ให้คุณรู้ตัวก่อนเงินหาย รู้ทันมิจฉาชีพ ปลอดภัยได้มากกว่าด้วย “โค้ด Whoscall พรีเมียม” ใช้ฟรีนาน 6 เดือน มูลค่า 354 บาท* กดรับได้ที่ เมนู EASY BONUS บน SCB EASY App


ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ย. 66 - 3 ม.ค. 67 หรือจนกว่าสิทธิ์จะหมด (โค้ดส่วนลดมีอายุ 7 วันหลังจากได้รับโค้ด)


สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และวิธีกรอกโค้ดเพื่อใช้บริการ Whoscall พรีเมียม ได้ ที่นี่


ที่มา :

‘ธปท.’เตือนภัย‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’เจาะกลุ่มผู้ติดต่อราชการ-ยอดเสียหาย‘แอปดูดเงิน’เกินพันล. (isranews.org) 

Whoscall เผยสถิติอันน่าตกใจ 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปม ด้านโทรศัพท์หลอกลวงพุ่งขึ้น 165% (thestandard.co) 

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารและบริษัทฯกำหนด