การบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักดีว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการผลิต รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เกินพอดี ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบและความเสียหายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และภาวะมลพิษต่าง ๆ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นหน้าที่ของพลเมืองโลกทุกคนที่ต้องช่วยกันดูแลและประคับประคองให้ปัญหาดังกล่าวบรรเทาเบาบางลง ตลอดจนร่วมฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพสมบูรณ์เพื่อส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป

ด้วยความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงาน (Operational Net Zero) ภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) ธนาคารให้ความสำคัญต่อการบรรเทาและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินงานธุรกิจ โดยได้กำหนดนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามกฎระเบียบและมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงริเริ่มกิจกรรมทางธุรกิจและโครงการที่มุ่งเสริมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของธนาคารจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด มีส่วนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน และสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสังคม

แนวทางการจัดการประสิทธิภาพเชิงเศรษฐนิเวศ

ทั้งนี้ ธนาคารได้บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001:2015 ตั้งแต่ปี 2564 โดยครอบคลุมการดำเนินงานในอาคารสำนักงานใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเอสซีบี เอกซ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทย่อย 9 แห่งในกลุ่มเอสซีบีเอกซ์ บุคคลากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการทำงาน ณ อาคารสำนักงานใหญ่ ซึ่งหมายรวมถึงบริษัทภายนอกที่ได้รับการว่าจ้างและผู้มาติดต่อใช้พื้นที่ในความรับผิดชอบของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์

ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยที่ได้รับมาตรฐานสากล 
 สำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001: 2015 

ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดสัมมนา Andaman The Sustainability Green Hospitality ให้ลูกค้าธุรกิจโรงแรมเลียบฝั่งอันดามัน ในการเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ด้วยการเปลี่ยนแนวคิดหันมาใช้ประโยชน์จากกิจกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

ธนาคารไทยพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการองค์กรตามหลักประสิทธิภาพเชิงนิเวศ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า และการจัดการของเสียให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลัก 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) นำกลับมาใช้ซํ้า (Reuse) และแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) นอกจากนี้ จากการดำเนินนโยบาย Work from Anywhere ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์สามารถลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) และทางอ้อม (Scope 2) ลดการใช้น้ำ และลดปริมาณของเสียได้อย่างต่อเนื่อง

ลดปริมาณขยะฝังกลบ

ธนาคารไทยพาณิชย์ส่งเสริม ‘การลดและการคัดแยกขยะ’ เพราะทราบดีว่าเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน จากการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่นำไปจำกัดโดยวิธีการฝังกลบ และเพิ่มการนำขยะไปใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle)

  •  รักษ์ต้องเลิก  รณรงค์ให้พนักงานงดใช้ภาชนะพลาสติก 5 ประเภทหลัก  สามารถลดปริมาณขยะขวดพลาสติกได้ถึง 80% 
  •  Zero Food Waste  หนึ่งในสาเหตุของภาวะโลกร้อน คือ อาหารที่เหลือทิ้งหรือขยะอาหารที่ส่วนใหญ่ถูกกำจัดโดยวิธีการฝังกลบ ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซมีเทน ธนาคารไทยพาณิชย์จึงนำเครื่องย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยมาใช้มาใช้จัดการเศษอาหารทั้งหมดที่เกิดขึ้นในศูนย์อาหารแต่ละวัน และนำปุ๋ยที่ได้ไปบำรุงต้นไม้รอบสำนักงานและมอบให้พนักงานหรือบุคคลที่สนใจ นับตั้งแต่เริ่มโครงการ  สามารถนำขยะอาหารมากกว่า 44,900 กิโลกรัม เปลี่ยนเป็นปุ๋ยได้แล้วกว่า 11,125 กิโลกรัม 
  •  แยกก่อนทิ้ง  ส่งเสริมการบริหารจัดการขยะ ด้วยการติดตั้งชุดถังแยกประเภทขยะ ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงขยะผ้าอนามัยและหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว พร้อมรณรงค์ให้ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน ตลอดจนหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

งดใช้ภาชนะพลาสติก 5 ประเภทหลัก

สนับสนุนห่วงโซ่อุปทานสีเขียว

ธนาคารไทยพาณิชย์ร่วมกับคู่ค้าธุรกิจในการบริหารผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งกำหนดให้คู่ค้าธุรกิจทุกรายลงนามรับทราบจรรยาบรรณคู่ธุรกิจธนาคารฯ  (SCB Supplier Code of Conduct) ซึ่งระบุแนวปฏิบัติที่ดีตามข้อกำหนดกฎหมาย คำนึงถึงการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและอยู่บนพื้นฐานการเคารพสิทธิมนุษยชน

ส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการประสิทธิภาพเชิงนิเวศ

การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงาน

ธนาคารไทยพาณิชย์ เสริมสร้างจิตสํานึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของพนักงานในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการฝึกอบรมและการสื่อสารข้อมูลความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาทิ