ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เสริมพลังลูกค้ามุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านไปยังเศรษฐกิจ-สังคมคาร์บอนต่ำ
การเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero นับเป็นการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นภาคพลังงาน ขนส่ง อสังหาริมทรัพย์ การเกษตร การผลิต และอื่น ๆ โดยสถาบันการเงินถือเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนให้ธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจำกัดอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และลดความเสี่ยงของธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปพร้อมกัน โดยธนาคารได้มีการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีการที่เสนอโดยโครงการกำหนดเป้าหมายโดยอิงหลักวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative: SBTi) โดยเป็นธุรกิจทางการเงินแห่งแรกในประเทศไทยที่ประกาศความมุ่งมั่นสู่ Net Zero ตามแนวทางของ SBTi เพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วนเปลี่ยนทางไปสู่เศรษฐกิจ-สังคมคาร์บอนต่ำ
ธนาคารไทยพาณิชย์มุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงาน (Operational Net Zero) ภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) และจากการให้สินเชื่อและการลงทุน (Net Zero Financed Emission) ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593) เพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วนให้สามารถปรับตัวก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำและเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ด้วยตระหนักดีถึงความสำคัญในการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมขอบเขตที่ 3 ประเภทที่ 15 (กิจกรรมการให้สินเชื่อและการลงทุน) ซึ่งเป็นขอบเขตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดของสถาบันการเงิน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ จึงได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เช่น การนำเสนอโซลูชั่นทางการเงินสีเขียวให้กับลูกค้า การสนับสนุนสินเชื่อโครงการอย่างรับผิดชอบตามหลักการอีเควเตอร์ (Equator Principles: EPs) การประกาศแนวทางการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิล (Statement on Fossil Fuel Financing) ซึ่งครอบคลุม 2 อุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ได้แก่ ถ่านหิน (Coal) และน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกเหนือรูปแบบทั่วไป (Unconventional Oil & Gas Financing) แนวทางการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิล ตลอดจนการเข้าร่วมโครงการความคิดริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เพื่อมีส่วนร่วมจัดการกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการให้สินเชื่อ (Financed Emissions Measurement)
ธนาคารไทยพาณิชย์จัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกโดยใช้วิธีการของ Partnership for Carbon Accounting Financials หรือ PCAF ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับสถาบันการเงินในการประเมินและเปิดเผยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเงิน อีกทั้งการใช้มาตรฐาน PCAF ยังเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ Science Based Targets initiative หรือ SBTi ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับสากลที่ส่งเสริมองค์กรธุรกิจและสถาบันทางการเงินในการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (Climate Science) และความตกลงปารีส (Paris Agreement)
จากการประเมินพอร์ตสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ลูกค้า SME และลูกค้าบุคคลของธนาคารไทยพาณิชย์ในปี 2564 ตามขอบเขตข้างต้น ทำให้ทราบว่า Financed Emission Baseline ของธนาคารอยู่ที่ 7.3 ล้านตันคาร์บอนได้ออกไซต์เทียบเท่า โดยกลุ่มธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปโภคมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56
ตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการให้สินเชื่อ (Financed Emission Target Setting)
ธนาคารไทยพาณิชย์กำหนดเส้นทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Pathway) ตามแนวทางของ SBTi ซึ่งเป็นธุรกิจทางการเงินแห่งแรกในประเทศไทยที่ประกาศความมุ่งมั่นสู่ Net Zero ตามแนวทางของ SBTi โดยใช้ Sectoral Decarbonization Approach (SDA) สำหรับการกำหนดเป้าหมายลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากพอร์ตสินเชื่อกลุ่มธุรกิจไฟฟ้า และ Implied Temperature Rise (ITR) ซึ่งเป็นวิธีการที่จัดทำโดยความร่วมมือระหว่าง CDP และ WWF สำหรับการกำหนดเป้าหมายระดับอุณหภูมิของพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio Temperature Rating) ครอบคลุมอุตสาหกรรมและประเภทสินทรัพย์ตามที่ SBTi ระบุไว้ใน Financial Sector Science-based Targets Guidance นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังได้นำเครื่องมือ Portfolio Alignment Toolkit (PAT) มาใช้ในการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกรณีฐาน (Emission Baseline) และการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจากตามวิธีการ SDA อีกด้วย
กำหนดแนวทางสู่เป้าหมาย Net Zero (Levers to Achieve Net Zero)
ธนาคารไทยพาณิชย์ได้กำหนดกรอบการบริหารจัดการและดำเนินงานที่เป็นรากฐานสำคัญในปี 2566 เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการให้สินเชื่อและการลงทุน (Net Zero Financed Emissions) ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593) ดังนี้
กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ (Wholesale Business Group: WBG)
ด้วยความมุ่งมั่นที่ต้องการส่งมอบคุณค่าการเป็น ‘เพื่อนคู่คิดทางการเงินที่ลูกค้าไว้ใจสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านสภาพภูมิอากาศ’ (Trusted Financial Partner for Customers Climate Transition) กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ได้วางแนวทางการบริหารจัดการ เพื่อตอบโจทย์การทำงานร่วมกับลูกค้าและสนับสนุนลูกค้าในการปรับตัวเพื่อบรรลุการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ท่ามกลางภูมิทัศน์เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ธนาคารได้มีการพัฒนาโดยมีแนวทางสนับสนุนธุรกิจและกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น โดยนำร่องในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมด้านความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า โรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ ที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
พร้อมทั้งตลอดจนการลดสัดส่วนธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวทางการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิล (Statement on Fossil Fuel Financing) เช่น การไม่สนับสนุนโครงการเพื่อการสร้างใหม่หรือต่อขยายที่เกี่ยวข้องกับเหมืองถ่านหิน การสร้างใหม่หรือต่อขยายโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน และธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกเหนือรูปแบบทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition Finance) และทำงานร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาและนำเสนอโซลูชันโซลูชั่นสีเขียวต่อลูกค้าธนาคาร โดยในปี 2566 ธนาคารได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ เช่น หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) สินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability -Linked Loan) สัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Swap) รวมร่วมถึงการเข้าร่วมโครงการนำร่องสนับสนุนเงินทุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อช่วยลด PM2.52.5 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อลดผลกระทบจากปัญหามลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จากการดำเนินกลยุทธ์ข้างต้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายด้านความยั่งยืน (Sustainability Policy) ในปี 2566 กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้สนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ไปแล้วกว่า 8.6 หมื่นล้านบาท สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของธนาคารในการมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการขององค์กรขนาดใหญ่ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ จากการดำเนินกลยุทธ์ข้างต้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายด้านความยั่งยืน (Sustainability Policy) ในปี 2566 กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้สนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ไปแล้วกว่า 8.6 หมื่นล้านบาท สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของธนาคารในการมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการขององค์กรขนาดใหญ่ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
กลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจประเทศและทั่วโลก ให้สามารถบริหารความเสี่ยงและโอกาสจาก ESG โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME ของธนาคารไทยพาณิชย์ จึงได้จัดกิจกรรมและสื่อสารเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Financing for SME) เพื่อสนับสนุนธุรกิจของ SMEs สู่ความยั่งยืน ในปี 2566 กลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME ของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้สนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) อาทิ การประหยัดพลังงาน การขนส่งที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยวงเงินกว่า 1,771 ล้านบาทการเข้าร่วมเป็นคณะทำงานร่วมกับสมาคมธนาคารไทย
ในปี 2566 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานร่วมกับสมาคมธนาคารไทยในการขับเคลื่อนประเด็นด้านความยั่งยืนของภาคธนาคาร จัดทำเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์และร่วมตั้งเป้าหมายในระดับอุตสาหกรรม (Key Performance Indicators and Targets) และร่วมจัดทำคู่มือการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงิน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Industry Handbook) ตลอดจนผลักดันการจัดทำ Transition Plan ของสถาบันการเงิน และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านการเงินที่ช่วยตอบโจทย์การปรับตัวของลูกค้า นอกจากนี้ ธนาคารยังเป็นหนึ่งในคณะทำงาน Thailand Taxonomy ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อร่างมาตรฐาน การจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม