ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
มุ่งสู่ธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบ
ในปี 2566 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ ‘Digital Bank with Human Touch’ ด้วยพันธกิจสำคัญในการเป็นดิจิทัลแบงก์อันดับหนึ่งด้านการบริหารความมั่งคั่ง พร้อมมอบประสบการณ์การให้บริการที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อในทุกช่องทางให้กับลูกค้า และมุ่งมั่นสู่การเป็นธนาคารดิจิทัลที่เข้าใจและรู้ใจลูกค้ามากกว่าเดิม ด้วยบริการที่รู้จักลูกค้าผ่านข้อมูล รู้ใจลูกค้าผ่านความรู้สึก เพื่อก้าวสู่การเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้าทุกกลุ่มภายในปี 2025
SCB Digital Banking (DBANK) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Products) ที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละกลุ่ม มีแพลตฟอร์ม (Platform) ที่มุ่งสร้างประสบการณ์การให้บริการแบบไร้รอยต่อในทุกช่องทาง และพัฒนาโซลูชัน (Solutions) ที่ตั้งใจสนับสนุนความสำเร็จให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในปี 2566
สินเชื่อดิจิทัลเพื่อธุรกิจ “UP เงินทันใจ” สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย (sSME) บน SCB EASY เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับธุรกิจหรือการลงทุนในกิจการ โดยไม่ต้องมีบุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน สามารถวางแผนผ่อนชำระตามความสามารถ รวมถึงไม่คิดค่าธรรมเนียม
“บัญชีหุ้นกู้ EASY-D บริการรับฝากหุ้นกู้แบบไร้ใบ” บน SCB EASY แก่นักลงทุนรายย่อยให้สามารถรวมการลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเก็บใบหุ้นกู้ ยกระดับประสบการณ์การลงทุนอย่างไร้รอยต่อ ซื้อง่าย-ฝากหุ้นกู้ได้ และ “บัญชีกองทุน SCB Omnibus” หรือบัญชีกองทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อให้ลูกค้ามีตัวเลือกในการลงทุนมากยิ่งขึ้น ด้วยกองทุนรวมจากหลากหลายบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บน SCB EASY นอกเหนือไปจากฟีเจอร์ ‘Wealth4U’ เครื่องมือที่ช่วยแนะนำผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนขั้นพื้นฐานเฉพาะบุคคล ซึ่งธนาคารได้เปิดตัวเมื่อปลายปี 2565
บริการ SCB Cross Border Payment Tracking สำหรับผู้ประกอบธุรกิจในการติดตามสถานะเงินโอนต่างประเทศได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ www.scb.co.th ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถบริหารธุรกิจและจัดการกระแสเงินสดได้อย่างคล่องตัว ทั้งยังสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจไทยและคู่ค้าต่างประเทศในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศในระยะยาว
นำเทคโนโลยีขับเคลื่อนสู่ Digital-first and Customer-centric Organization
ด้วยวิสัยทัศน์ใหม่ ‘Digital Bank with Human Touch’ เพื่อการเป็น ‘ธนาคารที่ดียิ่งขึ้น (Better Bank)’ นำมาซึ่งโจทย์สำคัญของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ต้องการไปให้ถึง นั่นคือ การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ความมุ่งมั่นข้างต้นได้นำมาสู่การตัดสินใจครั้งสำคัญกับการเปลี่ยน ‘ระบบหลักธนาคาร หรือ Core Banking’ จากที่อยู่บนเทคโนโลยีเมนเฟรมขึ้นสู่สภาพแวดล้อมแบบ Public Cloud ในปี 2566 โดยธนาคารเลือกใช้ Microsoft Azure เป็นผู้ให้บริการ และมุ่งดำเนินการใน 3 เรื่องหลักเพื่อไปสู่เป้าหมาย ได้แก่
เดินหน้าพัฒนาทักษะด้านข้อมูลและดิจิทัล
“มุ่งสร้าง Data-Driven Organization สู่การเป็นธนาคารดิจิทัลที่เข้าใจและรู้ใจลูกค้ามากกว่าเดิม” เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ ‘Digital Bank with Human Touch’ ที่มุ่งหวังเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งผ่านข้อมูลสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและสร้างประสบการณ์การบริการที่เชื่อมโยงกันอย่างราบรื่นในทุกช่องทาง กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ โดยธนาคารไทยพาณิชย์ จึงมุ่งเน้นพัฒนาทักษะและเทคนิคการทำงานรูปแบบใหม่ (New Ways of Working) ในยุคดิจิทัลให้กับพนักงานมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ Digital Champion ซึ่งประกอบไปด้วยการเสริมสร้างทักษะ ‘Data – Lean – Design Thinking and Agile (Dgile) โดยในปี 2566 ธนาคารมี Digital Champion รวมแล้ว 3,550 คน มาอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้ ในปี 2566 ธนาคารยังได้เสริมทักษะการใช้ Generative AI ให้พนักงานที่สนใจมากว่า 1,800 คน ผ่านหลักสูตรต่าง ๆ อาทิ AI for Financial Services, Application from Idea to Product, Generative AI 101-102-103, สู่การเป็น ChatGPT Expert Prompt Engineering 101, Boost Productivity with Generative AI Tools, ChatGPT and AI Intensive for Marketing เป็นต้น
Data Analytics
วัตถุประสงค์:
เพื่อสร้าง Data-driven Organization ที่พนักงานสามารถวิเคราะห์และใช้ ข้อมูลเป็นส่วนสําคัญในการทํางานและการตัดสินใจ อันจะนําไปสู่การยกระดับ ประสิทธิภาพการดําาเนินงานที่สร้างโอกาสทางธุรกิจและมูลค่าเพิ่มที่คํานึงถึงลูกค้าเป็นสําคัญ
แนวทางการพัฒนา:
ธนาคารยังคงมุ่งพัฒนาความรู้และ 6 ทักษะ พื้นฐานด้านข้อมูล รวมถึงเพิ่มเติมทักษะการใช้ เครื่องมืออัตโนมัติ (Automation Tools) ใน รูปแบบของ No-code Low-code ให้พนักงาน ในทุกระดับชั้น ผ่านการเรียนรู้แบบใช้โครงงาน เป็นฐาน (Project-based learning) และการ เรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended-learning) ซึ่ง ครอบคลุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง การอบรมเชิง ปฏิบัติการ การฝึกปฏิบัติจริง และการนําเสนอ ผลงาน เพื่อให้พนักงานสามารถเรียนรู้และ ประยุกต์ใช้แนวคิดและเครื่องมือด้านข้อมูล ในการวิเคราะห์ นําเสนอ และนํามาประกอบ การตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
LeanX
วัตถุประสงค์:
เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานขององค์กรให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง และลดต้นทุนการดําเนินงานไปพร้อมกัน
แนวทางการพัฒนา:
ธนาคารส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักการ DMAIC ในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่มุ่งลดขั้นตอนและกระบวนการช้าช้อน ตลอดจนส่งเสริมการร่วมงานภายในองค์กร โดยเปิดโอกาสให้พนักงานที่เข้าร่วมโครงการนํากระบวนการภายในหน่วยงานที่ต้องการปรับปรุงมาวิเคราะห์หาความสูญเปล่าที่ซ่อนอยู่ และออกแบบแนวทางในการปรับปรุงให้เกิดขึ้นจริง ผ่านการเรียนรู้เชิงปฏิบัติและการ Coaching
ในปี 2566 พนักงานเข้าร่วมการฝึกอบรม รวมแล้ว 1,142 คน
Design Thinking and Agile (Dgile)
วัตถุประสงค์:
เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้เข้าใจและเข้าถึงความต้องการเชิงลึกของ ลูกค้า สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงกระบวนการทำงานรูปแบบใหม่ ที่จะสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา:
ธนาคารมุ่งส่งเสริมทักษะการทำความเข้าใจความต้องการเชิงลึกของลูกค้าด้วยหลัก Design Thinking เพื่อสร้างนวัตกรรมหรือค้นหาไอเดียใหม่ ๆ รวมถึงการนําแนวคิดการทำงานแบบ Agile มาใช้เพื่อเพิ่ม ความคล่องตัวของกระบวนการทำงาน ขณะเดียวกัน ยังมี Design Thinking Coach ที่คอยให้คำปรึกษากับ พนักงานในการนํา Design Thinking ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
โครงการความคิดริเริ่มจากการฝึกอบรม หลักสูตร DIY DESIGN THINKING สามารถสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ราว 124 ล้านบาท
ในปี 2566 พนักงานเข้าร่วมการฝึกอบรมรวมแล้ว 202 คน