โครงสร้างการบริหารงาน

ข้อมูล ณ มกราคม 2568

คณะกรรมการธนาคาร

คณะกรรมการชุดย่อย

คณะกรรมการบริหาร

รายชื่อคณะกรรมการบริหาร

1. พ.ต.อ.ธรรมนิธิ วนิชย์ถนอมประธานกรรมการบริหาร 
2. นายอาทิตย์ นันทวิทยากรรมการ
3. นายประสัณห์ เชื้อพานิชกรรมการ
4. นายกานต์ ตระกูลฮุนกรรมการ
5. นาย กฤษณ์ จันทโนทกกรรมการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ
คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญในการดำเนินการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ นโยบาย รวมถึงระเบียบของธนาคาร และมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของธนาคาร ตลอดจนดำเนินการต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการธนาคาร มอบหมาย เพื่อให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ของธนาคาร และสอดคล้องกับพันธกิจของธนาคาร รวมทั้งมีหน้าที่ส่งเสริมให้มีการบริหารกิจการให้เป็นไปตามค่านิยมหลักของธนาคาร

นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารยังมีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาและจัดทำกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจ เป้าหมายทางการเงิน และแผนงาน (ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว) รวมถึงงบประมาณประจำปี เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคาร

  2. พิจารณาอนุมัติเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่าง ๆ ของธนาคารตามที่ระเบียบของธนาคารกำหนด รวมถึงแต่ไม่จำกัด เพียงเรื่องดังต่อไปนี้
    1. การให้สินเชื่อ
    2. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
    3. แนวทางในการลงทุนและการลงทุน
    4. การก่อภาระผูกพันและการกู้ยืมเงิน
    5. งานที่เกี่ยวเนื่องกับการพนักงาน
    6. งบประมาณ ค่าใช้จ่าย รายงานทางการเงิน (Financial Report) และรายงานเพื่อการบริหาร (MIS Report)
    7. เรื่องอื่น ๆ ที่มีความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกิจการของธนาคาร เช่น ธุรกิจใหม่ นโยบายดอกเบี้ย นโยบายสินเชื่อ การบันทึกบัญชี การเปิดสาขา การจัดโครงสร้างองค์กร เป็นต้น

  3. พิจารณากลั่นกรองงานทุกประเภทที่เสนอคณะกรรมการธนาคารพิจารณา ยกเว้น งานที่อยู่ภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบ และ/หรือ เป็นอำนาจของคณะกรรมการชุดย่อยอื่นของธนาคารที่จะเป็นผู้พิจารณากลั่นกรอง เพื่อนำเสนอคณะกรรมการธนาคารโดยตรง

  4. พิจารณารับทราบเรื่องอื่น ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการและไม่เกี่ยวกับการบริหารกิจการของธนาคาร เช่น คดีความที่ธนาคารตกเป็นจำเลย เป็นต้น ที่กรรมการบริหารเห็นว่าจำเป็นหรือสมควรที่จะให้เสนอเพื่อรับทราบ

  5. รับทราบรายงานด้านการตรวจสอบภายในสำหรับเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรการป้องกันตรวจสอบและแก้ไขปัญหา และในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่เกิดความเสียหาย หรืออาจจะเกิดความเสียหายต่อธนาคาร โดยให้กลุ่มตรวจสอบ และกำกับ รายงานให้คณะกรรมการบริหารทราบทันที

  6. พิจารณาหรืออนุมัติเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย

     


    ทั้งนี้ ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารมีมติหรือคำสั่งให้บุคคลใด หรือคณะบุคคลใดเป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำการใดๆ แทน ผู้รับมอบอำนาจนั้นไม่สามารถมอบอำนาจช่วงให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าวแทนตนเองได้ เว้นแต่ในการมอบอำนาจนั้นได้ระบุไว้ว่าให้มอบอำนาจช่วงต่อไปได้
คณะกรรมการตรวจสอบ

รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ

1. นายเชาวลิต เอกบุตรประธานกรรมการตรวจสอบ
2. ดร.พสุ เดชะรินทร์
กรรมการ
3. นางปริศนา ประหารข้าศึก
กรรมการ
   นางสาวนิภาภรณ์ กุลเลิศประเสริฐ
เลขานุการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

 

คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่สนับสนุนคณะกรรมการธนาคาร โดยการให้คำแนะนำอย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรมเกี่ยวกับความเพียงพอของการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ดังนี้

 

1. ค่านิยมและจริยธรรม

เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับค่านิยมและจริยธรรมของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ คณะกรรมการตรวจสอบจะ

  • ทบทวนและประเมินนโยบาย ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติที่กำหนดขึ้นโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อติดตามว่าผู้บริหารและพนักงานทุกคนปฏิบัติตามค่านิยมและจรรยาบรรณ
  • กำกับดูแลกลไกของฝ่ายบริหารเพื่อสร้างและรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานการปฏิบัติตามจริยธรรมของคนในกลุ่มธนาคารให้อยู่ในระดับสูง
  • ทบทวนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบหรือวิธีการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารในการติดตามให้มีการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ นโยบายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและจัดการกับการละเมิดกฎหมายหรือจริยธรรม
  • ส่งเสริมให้มีช่องทางแจ้งเบาะแสถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Whistleblower) รวมถึงติดตามเพื่อให้มั่นใจว่า มีนโยบายหรือวิธีการในการรับแจ้งเบาะแสและปกป้องผู้แจ้งเบาะแสอย่างเหมาะสม

 

2 การกำกับดูแลองค์กร

เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับกระบวนการกำกับดูแลกิจการของกลุ่มธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบจะทบทวนและให้คำแนะนำในกระบวนการกำกับดูแลกิจการของกลุ่มธนาคารเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนดไว้

 

3 การบริหารความเสี่ยง

เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบจะ

  • สอบทานและติดตามให้มั่นใจว่าการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีได้ดำเนินการอย่างเพียงพอ และมีการประเมินการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
  • หารือกับคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงเพื่อให้มั่นใจว่านโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภทรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ และมีการดำเนินการตามนโยบายและกลยุทธ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4 การทุจริต

เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับการป้องกันและตรวจพบการทุจริตของกลุ่มธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบจะ

  • กำกับดูแลการดำเนินการของฝ่ายบริหารเกี่ยวกับการป้องกันและยับยั้งการทุจริต
  • ทำให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการที่เหมาะสมต่อผู้ทุจริต
  • สอบถามฝ่ายบริหาร ผู้ตรวจสอบภายในและภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มธนาคารมีการป้องกันการทุจริตและการควบคุมที่เหมาะสม เพื่อระบุถึงการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นและให้มั่นใจว่ามีดำเนินการสอบสวนหากมีการตรวจพบการทุจริต
  • กำกับดูแลนโยบายและมาตรการต่อต้านการให้หรือรับสินบนและการคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ตามกฎหมายและจริยธรรมที่กำหนดไว้

5 การควบคุมภายใน

เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับความเพียงพอและประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกลุ่มธนาคาร เพื่อที่จะตอบสนองความเสี่ยงที่มีอยู่ในกระบวนการกำกับดูแลกิจการ กระบวนการปฏิบัติงานและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการตรวจสอบจะ

  • สอบทานและประเมินว่ากลุ่มธนาคารมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอเหมาะสมและมีประสิทธิผล ซึ่งรวมถึงการควบคุมภายในของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการตรวจสอบภายใน รวมทั้งแนวทางการสื่อสารถึงความสำคัญของการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งกลุ่มธนาคาร
  • พิจารณาประสิทธิผลของกรอบการควบคุมภายในของกลุ่มธนาคาร รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยและการควบคุมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สอบทานและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมภายในของกลุ่มธนาคารโดยรวมและแยกตามหน่วยงาน
  • รับทราบรายงานเรื่องที่มีนัยสำคัญจากการปฏิบัติงานโดยผู้ให้บริการด้านการเงิน ที่ปรึกษาด้านการเงินและการให้ความเชื่อมั่นด้านการควบคุมภายในซึ่งได้รายงานต่อฝ่ายบริหารและคณะกรรมการธนาคาร

6 การกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
คณะกรรมการตรวจสอบจะ

  • สอบทานให้กลุ่มธนาคารปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย และ/หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของกลุ่มธนาคาร
  • สอบทานประสิทธิผลของระบบการติดตามการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์และผลการสอบสวนของฝ่ายบริหารและติดตาม (รวมถึงการดำเนินการทางวินัย) กรณีของการทำผิด
  • สอบทานข้อสังเกตและข้อสรุปของผู้ตรวจสอบภายในและภายนอกและผลการตรวจสอบของหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ
  • สอบทานกระบวนการสื่อสารจรรยาบรรณให้กับพนักงานของกลุ่มธนาคารและการติดตามการปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนด
  • รับทราบรายงานจากฝ่ายบริหารของกลุ่มธนาคาร

7 งานตรวจสอบภายใน

เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มธนาคารคณะกรรมการตรวจสอบจะกำกับดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

7.1 กฎบัตรการตรวจสอบภายในและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล

  • สอบทานและอนุมัติกฎบัตรการตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สะท้อนถึงวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ซึ่งสอดคล้องกับกรอบการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในที่เป็นสากล (The IIA's International Professional Practices Framework) และขอบเขตงานการให้ความเชื่อมั่นและการให้บริการให้คำปรึกษา ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงิน การบริหารความเสี่ยงและกระบวนการกำกับดูแลของกลุ่มธนาคาร และสะท้อนถึงพัฒนาการของวิชาชีพการตรวจสอบภายใน
  • ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นและลดลงของทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อให้สามารถบรรลุแผนตรวจสอบภายในที่วางไว้ รวมถึงประเมินความต้องการในการเพิ่มทรัพยากรบุคคลที่อาจมีในรูปแบบการจ้างถาวรหรือรูปแบบการจัดจ้างคนภายนอก (Outsourcing)

7.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบ

  • ให้คำแนะนำคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับคุณสมบัติและการสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอนของผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบ
  • ให้ข้อมูลอันเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบแก่ฝ่ายบริหาร
  • ให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหารเกี่ยวกับค่าตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบ

7.3 กลยุทธ์ของหน่วยงานตรวจสอบภายในและแผนงาน

  • สอบทานและให้คำแนะนำในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ การวัดผลการปฏิบัติงานและผลที่เกิดขึ้น
  • สอบทานและอนุมัติแผนการตรวจสอบตามความเสี่ยงประจำปี และให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ของหน่วยงานตรวจสอบ
  • สอบทานและอนุมัติแผนการตรวจสอบและแนวทางตรวจสอบ รวมถึงพิจารณาความเพียงพอของบุคลากรที่ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้
  • สอบทานผลการปฏิบัติงานเทียบกับแผนการตรวจสอบ

7.4 งานตรวจสอบและการติดตาม

  • สอบทานรายงานการตรวจสอบและการสื่อสารหรือนำเสนอต่อฝ่ายบริหาร
  • สอบทานแผนการติดตามการดำเนินการของฝ่ายบริหารจากประเด็นการตรวจสอบ
  • สอบทานและให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหารในการจัดการกับประเด็นจากการสอบสวนพิเศษ
  • สอบถามผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบว่ามีงานตรวจสอบภายในหรืองานอื่นใดที่แล้วเสร็จ แต่ไม่ได้รายงานคณะกรรมการตรวจสอบหรือไม่ หากมีให้สอบถามว่ามีประเด็นที่สำคัญใดจากงานดังกล่าวหรือไม่
  • สอบถามผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบว่าพบหลักฐานการเกิดทุจริตในระหว่างการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในหรือไม่ และประเมินว่าควรดำเนินการใด ๆ เพิ่มเติมเพื่อจัดการกับเหตุการณ์ดังกล่าว

7.5 การปฏิบัติตามมาตรฐาน

  • สอบถามผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสอดคล้องกับ มาตรฐานสากลสำหรับการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน (มาตรฐาน) ของสมาคมผู้ตรวจสอบภายในสากล (The Institute of Internal Auditors)
  • ทำให้มั่นใจว่าหน่วยงานตรวจสอบภายในจัดทำการประเมินและมีแผนการปรับปรุงคุณภาพการทำงานอย่างสม่ำเสมอ และมีการนำเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
  • ทำให้มั่นใจว่าหน่วยงานตรวจสอบภายในมีการประเมินคุณภาพการทำงานจากผู้ประเมินภายนอกทุกห้าปี
  • สอบทานผลการประเมินคุณภาพจากผู้ประเมินอิสระภายนอกและติดตามการดำเนินการตามคำแนะนำที่ได้รับ
  • แนะนำคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับการพัฒนาการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

8 หน่วยงานกำกับและควบคุม 

เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานกำกับและควบคุมของกลุ่มธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบจะกำกับดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • สอบทานและอนุมัติกฎบัตรของหน่วยงานกำกับและควบคุม แผนงานประจำปี ตลอดจนบุคลากรและทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
  • พิจารณากฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง และมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร ที่นำเสนอโดยหน่วยงานกำกับและควบคุมอย่างสม่ำเสมอ
  • สอบทานข้อตรวจพบขององค์กรที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลกลุ่มธนาคาร และผลการติดตามการแก้ไข รวมถึงรายงานให้แก่คณะกรรมการธนาคาร
  • สอบทานประสิทธิผลของระบบในการติดตามการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และผลการติดตามการแก้ไขในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตาม
  • สอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น และรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบ

9 ผู้สอบบัญชี

เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับงานของผู้สอบบัญชีภายนอกของกลุ่มธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบจะประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอกตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การนำเสนอผลการตรวจสอบรายงานทางการเงิน และการหารือผลการตรวจสอบรวมถึงคำแนะนำสำหรับฝ่ายบริหาร โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะ

  • สอบทานวิธีการตรวจสอบและขอบเขตของผู้สอบบัญชี และรวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานตรวจสอบภายใน
  • สอบทานการปฏิบัติงาน อนุมัติแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้สอบบัญชี
  • รับทราบการชี้แจงจากผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับกลุ่มธนาคารรวมทั้งบริการที่ไม่ใช่งานตรวจสอบบัญชีในอดีตที่ผ่านมา และหารือกับผู้สอบบัญชีเพื่อยืนยันความเป็นอิสระ
  • ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับรายงานจากผู้สอบบัญชีหรือตรวจพบความผิดปกติในงบการเงิน เช่น มีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขและอัตราส่วนทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญ เปลี่ยนนโยบายบัญชี มีรายการที่ไม่ใช่รายการปกติซึ่งมีนัยสำคัญเกิดขึ้นในรอบปี ไม่ปรับปรุงรายการบัญชีที่ผู้สอบบัญชีตรวจพบ ผู้สอบบัญชีไม่ได้รับหลักฐานหรือคำชี้แจงที่น่าพอใจหรือถูกจำกัดขอบเขต ในการตรวจสอบจากผู้บริหาร เป็นต้น กรรมการตรวจสอบต้องรีบดำเนินการสอบถามถึงสาเหตุและขอบเขตการตรวจสอบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้สอบบัญชี และผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบสูงสุดด้านบัญชีและการเงินของบริษัทจดทะเบียน เป็นต้น
  • การจัดจ้างผู้สอบบัญชีในการปฏิบัติงานอื่นใด (Non-Assurance Services) นอกเหนือจากงานตรวจสอบงบการเงินประจำปี ต้องเป็นงานที่ไม่ทำให้ผู้สอบบัญชีขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินประจำปี และต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบก่อนการจัดจ้าง หากงานนั้นมีมูลค่าต่องานมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ภาคผนวก 1)
  • ประชุมกับผู้สอบบัญชีเป็นประจำเพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญและอ่อนไหว และมีการประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • ติดตามความคืบหน้าของฝ่ายบริหารเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่าฝ่ายบริหารได้มีการดำเนินการตามผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายในและภายนอก คณะกรรมการตรวจสอบจะสอบทานรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการของฝ่ายบริหารเป็นประจำ

10 รายงานทางการเงิน 

คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการกำกับดูแล (Oversight) การตรวจสอบรายงานทางการเงิน อย่างเป็นอิสระของกลุ่มธนาคาร รวมถึงดูแลให้มีการแก้ไขข้อตรวจพบในประเด็นต่างๆ เช่น การควบคุมภายใน กฎหมาย การปฏิบัติตามกฎระเบียบและจริยธรรม โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะ

  • สอบทานรายงานทางการเงินของกลุ่มธนาคาร เพื่อให้มั่นใจว่ารายงานทางการเงินถูกต้องและเพียงพอ และพิจารณาความครบถ้วนของข้อมูลที่คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบ และสอบทานความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่ใช้ในรายงานทางการเงิน
  • พิจารณาความถูกต้องและครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูลของกลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • สอบทานร่วมกับฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับผลการตรวจสอบ รวมถึงปัญหาที่พบ
  • สอบทานประเด็นเกี่ยวกับบัญชีและการรายงานที่มีสาระสำคัญ รวมทั้งธุรกรรมที่ซับซ้อนหรือผิดปกติ เรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณเป็นอย่างมากและกฎเกณฑ์ใหม่ๆของวิชาชีพ และทำความเข้าใจถึงผลกระทบที่มีต่อรายงานทางการเงิน
  • สอบทานรายงานทางการเงินประจำปี โดยพิจารณาว่ามีความครบถ้วนและสอดคล้องกันกับข้อมูลที่คณะกรรมการตรวจสอบทราบ และสะท้อนหลักการบัญชีที่เหมาะสม
  • สอบทานส่วนอื่น ๆ ของรายงานประจำปี และการยื่นข้อมูลตามเกณฑ์ทางการที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลก่อนที่จะประกาศ
  • พิจารณาร่วมกับผู้บริหารและผู้สอบบัญชีถึงเรื่องที่กำหนดให้ต้องสื่อสารกับคณะกรรมการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ สมมติฐานและประมาณการที่ฝ่ายบริหารใช้ในการจัดทำรายงานทางการเงิน งบประมาณและแผนการลงทุน
  • ทำความเข้าใจวิธีการที่ฝ่ายบริหารจัดทำรายงานทางการเงินระหว่างกาลและการมีส่วนร่วมของผู้ตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก
  • สอบทานรายงานการเงินระหว่างกาลร่วมกับผู้บริหารและผู้สอบบัญชีภายนอกก่อนที่จะยื่นต่อหน่วยงานกำกับดูแล และพิจารณาว่ามีความครบถ้วนและสอดคล้องกับข้อมูลที่คณะกรรมการตรวจสอบทราบ

11 ความรับผิดชอบอื่นๆ

คณะกรรมการตรวจสอบจะ

  • กำกับดูแลการตรวจสอบพิเศษตามความจำเป็น
  • ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการธนาคารได้มอบหมายด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
  • สอบทานบทบาทหน้าที่และกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบ และประเมินกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารเมื่อมีการแก้ไข
  • จัดให้มีการประเมินตนเองโดยสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และนำเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการธนาคาร
  • คณะกรรมการตรวจสอบควรมีการหารือและตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เมื่อได้รับแจ้งพฤติการณ์อันควรสงสัยจากผู้สอบบัญชี เกี่ยวกับการทุจริต หรือฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารตามมาตรา 89/25 ของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2559 และแจ้งผลให้ผู้สอบบัญชีและสำนักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเวลาที่ ก.ล.ต. กำหนด
  • สอดส่องและติดตามการทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีมูลค่านัยสำคัญ (“MT”) และ การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน (“RPT”) โดยดำเนินการดังนี้
    • พิจารณาให้ความเห็นต่อการเข้าทำรายการ MT & RPT ที่มีนัยสำคัญ ซึ่งต้องขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น
    • ติดตามความคืบหน้าของการเข้าทำรายการ MT & RPT ที่มีนัยสำคัญ โดยพิจารณาร่วมกับข้อมูลต่างๆ เพื่อสอดส่องความผิดปกติในภาพรวม
    • ดำเนินการใดๆ เพื่อยับยั้งการทำรายการ MT & RPT ที่ไม่เหมาะสม พร้อมทั้งแจ้งข้อเท็จจริงให้หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องทราบตามเกณฑ์ที่กำหนด
  • พิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินระดมทุน และติดตามการใช้เงินระดมทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการเปิดเผยไว้


 การรายงาน


คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องรายงานสรุปการปฏิบัติงานและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการธนาคารเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วย

  • สรุปการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบตามความรับผิดชอบในช่วงปีที่ผ่านมา
  • สรุปความคืบหน้าของผู้บริหารในการแก้ไขประเด็นจากรายงานการตรวจสอบภายในและภายนอก
  • การประเมินในภาพรวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง การควบคุมและกระบวนการปฏิบัติตามกฎระเบียบ รวมทั้งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ที่มีความสำคัญหรือการเปลี่ยนแปลงด้านกฎเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อกลุ่มธนาคาร
  • รายละเอียดของการประชุม รวมทั้งจำนวนครั้งของการประชุมและจำนวนของสมาชิกที่เข้าร่วม
  • ให้ข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มเติม (ถ้ามี) ซึ่งเป็นไปตามพัฒนาการของการกำกับดูแลกิจการใหม่หรือที่จะเกิดขึ้นใหม่
  • คณะกรรมการอาจรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบในช่วงเวลาใดขึ้นอยู่กับความสำคัญของเรื่องนั้นๆ
  • จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของธนาคาร
  • กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร และต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้นทราบในรายงานประจำปีของธนาคาร
  • รายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควรในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำ ดังต่อไปนี้
    • รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
    • ความผิดปกติหรือความไม่เหมาะสมของการทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีมูลค่านัยสำคัญ (“MT”) และการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน (“RPT”)
    • การใช้เงินระดมทุนที่ไม่เหมาะสมหรือผิดวัตถุประสงค์
    • การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
    • การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของสถาบันการเงินและหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่น ๆ หากคณะกรรมการของธนาคารหรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องเปิดเผยการกระทำดังกล่าวไว้ในรายงานประจำปี และรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล

รายชื่อคณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล

1. นายกานต์ ตระกูลฮุนประธานกรรมการสรรหาค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
2. ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูลกรรมการ
3. ดร. ประสงค์ วินัยแพทย์กรรมการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

        คณะกรรมการ NCCG มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการสรรหาและการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการ ด้านนโยบายทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กร และการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการของธนาคาร ตลอดจนการดำเนินการเรื่องอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้

1. ด้านสรรหา

  1.1 การสรรหากรรมการ

  1. กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหากรรมการ ที่สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ
  2. คัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ตลอดจนนโยบายของธนาคาร เพื่อเสนอคณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงที่ประชุมผู้ถือหุ้น (กรณีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของที่ประชุมผู้ถือหุ้น) พิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคาร และกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย
  3. ดูแลให้คณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อยมีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับองค์กร รวมถึง มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคณะกรรมการ NCCG ต้องดูแลให้มีกลไกหรือเครื่องมือ อาทิ Board Skill Matrix ที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการคัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการ เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการธนาคารประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ และสอดคล้องกับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจของธนาคารทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อยจะต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ อาทิ 1) ความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์ ในการบริหารจัดการเชิงมหภาค 2) ความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์เฉพาะด้าน เช่น กฎหมาย บัญชี การเงิน เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) ความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์ด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านบริหารความเสี่ยง ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านความยั่งยืน เป็นต้น ตลอดจนดูแลให้คณะกรรมการมีความหลากหลาย ทั้งด้านเพศ สัญชาติ เชื้อชาติ อายุ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ทักษะ หรือความรู้ ตลอดจนความแตกต่างอื่น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงสร้างของคณะกรรมการมีความเหมาะสมและหลากหลาย เพื่อสนับสนุนให้ธนาคารมีการเติบโตอย่างยั่งยืน

  1.2 การสรรหาผู้มีอำนาจในการจัดการและที่ปรึกษาของธนาคาร

  1. กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหาผู้มีอำนาจในการจัดการ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ ให้สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน)
  2. คัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอคณะกรรมการธนาคารพิจารณาแต่งตั้งผู้มีอำนาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของธนาคาร

  1.3  การสรรหากรรมการและผู้บริหารของบริษัทย่อยของธนาคาร

            กำกับดูแล กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหากรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทย่อยของธนาคารให้สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ได้กรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการที่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงาน

            นอกจากนี้ คณะกรรมการ NCCG ยังมีหน้าที่ดูแลให้มีการเปิดเผยนโยบายและรายละเอียดของกระบวนการสรรหากรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการในรายงานประจำปีของธนาคาร และส่งนโยบายให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ

 

2  ด้านค่าตอบแทน

2.1 ค่าตอบแทนของกรรมการ

  1. กำหนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น รวมถึงจำนวนค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น ซึ่ง จ่ายให้กับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการธนาคารและกรรมการชุดย่อย ที่สะท้อนวัตถุประสงค์ หน้าที่และ ความรับผิดชอบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและโปร่งใส สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของธนาคาร ตลอดจนหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการบริษัทในกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ รวมถึงผลประโยชน์ของธนาคารในระยะยาว และนำเสนอให้คณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) พิจารณาเห็นชอบ ก่อนเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ และนำส่งนโยบายดังกล่าวให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยหากมีการร้องขอ
  2. ดูแลให้กรรมการได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นควรได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ ได้รับมอบหมาย และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการบริษัทในกลุ่ม เอสซีบี เอกซ์
  3. ดูแลให้ธนาคารเปิดเผยนโยบายการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำรายงานการกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาการประเมินผลการดำเนินงานในภาพรวม เป้าหมาย การดำเนินงาน พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ NCCG รวมถึงวิธีและเครื่องมือในการจ่ายค่าตอบแทนที่สะท้อนความเสี่ยง (ถ้ามี) รวมถึงเปิดเผยค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับกรรมการเป็นรายบุคคลไว้ในรายงานประจำปีของธนาคาร



2.2 ค่าตอบแทนของผู้มีอำนาจในการจัดการ

  1. กำหนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น รวมถึงจำนวนค่าตอบแทนและผลประโยชน์ ซึ่งจ่ายให้กับการปฏิบัติหน้าที่ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้มีอำนาจในการจัดการอื่น ที่สะท้อนวัตถุประสงค์ หน้าที่และความรับผิดชอบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและโปร่งใส สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของธนาคาร รวมถึงผลประโยชน์ของธนาคารในระยะยาว และนำเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ
  2. ดูแลให้ผู้มีอำนาจในการจัดการได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบ
  3. กำหนดแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้มีอำนาจในการจัดการอื่น เพื่อพิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปี โดยจะต้องคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นในระยะยาวประกอบการพิจารณาประเมินผลด้วย
  4. ดูแลให้ธนาคารเปิดเผยนโยบายการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จ่ายให้กับกรรมการที่เป็นผู้มีอำนาจในการจัดการและผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการที่ได้รับค่าตอบแทนในฐานะพนักงาน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาการประเมินผลการดำเนินงานในภาพรวม เป้าหมายการดำเนินงาน พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ NCCG รวมถึงวิธีและเครื่องมือในการจ่ายค่าตอบแทน ที่สะท้อนความเสี่ยง (ถ้ามี) และเปิดเผยค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับกรรมการที่เป็นผู้มีอำนาจในการจัดการและผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการที่ได้รับค่าตอบแทนในฐานะพนักงานเป็นจำนวนรวมค่าตอบแทนไว้ในรายงานประจำปีของธนาคาร
  5. กลั่นกรองข้อเสนอของฝ่ายจัดการเรื่องนโยบายจ่ายค่าตอบแทน แผนการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์พิเศษอื่นนอกเหนือจากเงินค่าจ้างสำหรับพนักงานธนาคาร และเสนอต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ

    2.3   ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทย่อยของธนาคาร

            กำกับดูแลการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และการจ่ายค่าตอบแทนแก่กรรมการของบริษัทย่อยของธนาคารให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการบริษัทในกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ และกำกับดูแลการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นใดแก่ผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทย่อยของธนาคาร โดยมีหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนที่ชัดเจน โปร่งใส และสอดคล้องกับความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัทในกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ และเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงาน

 

3. ด้านนโยบายทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กร

    3.1  พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ของธนาคาร ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงและพัฒนากรรมการและบุคลากรของธนาคารให้มีจำนวน ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ และแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญกับความหลากหลายของบุคลากรทั้งด้านเพศ อายุ เชื้อชาติ ฯลฯ

    3.2 กำหนดนโยบายและกำกับให้มีการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งสำหรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้มีอำนาจในการจัดการอื่น โดยระบุตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่แทน พร้อมจัดให้มีระบบพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อม

    3.3 พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนการปลูกฝังและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร


4 ด้านการกำกับดูแลกิจการ


    4.1 กำหนดนโยบายด้านกำกับดูแลกิจการของธนาคารที่สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) รวมถึงนโยบายอื่น ๆ ของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการธนาคารพิจารณาให้ความเห็นชอบ และติดตามเพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายกำกับดูแลกิจการ รวมถึงทบทวนและปรับปรุงนโยบายให้มีความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ

    4.2 กำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารให้สอดคล้องกับหลักกำกับดูแลกิจการของหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลตามกฎหมาย รวมถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอื่นที่มีมาตรฐานระดับสากล

    4.3 กำกับดูแลให้ธนาคารมีกลไกในการดูแลให้ผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิที่พึงมีตามที่กฎหมายบัญญัติ

    4.4 กำหนดแนวทางและจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร (ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการธนาคาร นายกกรรมการ กรรมการรายบุคคล และคณะกรรมการชุดย่อย) ด้วยวิธีการประเมินตนเอง และ/หรือ การประเมินแบบไขว้เป็นประจำทุกปี โดยอาจจัดให้ที่ปรึกษาภายนอกประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธนาคาร นายกกรรมการ กรรมการรายบุคคล และคณะกรรมการชุดย่อยอย่างน้อยทุก 3 ปี หรือตามความเหมาะสม เพื่อนำผลประเมินไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการธนาคาร

 

คณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม

รายชื่อคณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม

1. พ.ต.อ.ธรรมนิธิ วนิชย์ถนอมประธานกรรมการ
2. พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมลกรรมการ
3. ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
กรรมการ
4. นายกฤษณ์ จันทโนทก
กรรมการ
5. นางสาวกุลยา ตันติเตมิท
กรรมการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. กำหนดนโยบายและวางกรอบการดำเนินงานด้านกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคมของธนาคาร
  2. กำหนดนโยบายในการทำงานและประสานไปยังมูลนิธิสยามกัมมาจล
  3. พิจารณาจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณสำหรับโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งสำหรับธนาคารและ มูลนิธิสยามกัมมาจล
คณะกรรมการกำกับความเสี่ยง

รายชื่อคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง

1. นายเกริก วณิกกุลประธานกรรมการกำกับความเสี่ยง
2. นายพสุ เดชะรินทร์
กรรมการ
3. นางสาวกุลยา ตันติเตมิท
กรรมการ
4. นาย กฤษณ์ จันทโนทก
กรรมการ
    นายเกรียง วงศ์หนองเตย
เลขานุการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. ให้คำแนะนำคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับกรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
  2. ดูแลให้ผู้บริหารระดับสูงรวมถึงหัวหน้าหน่วยงานบริหารความเสี่ยงปฏิบัติตามนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงรวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  3. ดูแลให้กลยุทธ์ในการบริหารเงินกองทุนและสภาพคล่องเพื่อรองรับความเสี่ยงต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีความสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่ได้รับอนุมัติ
  4. ทบทวน สอบทานความเพียงพอและประสิทธิผลของนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงโดยรวม รวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อย่างน้อยปีละครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ โดยคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงควรหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อประเมินว่านโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภท รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ และมีการดำเนินการตามนโยบายและกลยุทธ์ดังกล่าว อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  5. รายงานต่อคณะกรรมการธนาคารถึงฐานะความเสี่ยง ประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงและสถานะการปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง ตลอดจนปัจจัยและปัญหาที่มีนัยสำคัญ และสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ ในการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
  6. มีความเห็นหรือมีส่วนร่วมในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานของ Chief Risk Officer
  7. ให้คำแนะนำคณะกรรมการธนาคารในการปลูกฝัง Risk Culture ทั่วทั้งองค์กร และกำกับให้มีการปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กร

คณะกรรมการเทคโนโลยี

รายชื่อคณะกรรมการเทคโนโลยี

1. ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูลประธานกรรมการเทคโนโลยี
2. นาย อาทิตย์ นันทวิทยา
กรรมการ
3. นาย กฤษณ์ จันทโนทก 
กรรมการ
4. นาย อรพงศ์ เทียนเงิน  
กรรมการและเลขานุการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. กำกับดูแลกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมด้านระบบงานของธนาคาร เพื่อให้มั่นใจว่ามีความสอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของธนาคาร ซึ่งรวมถึงบูรณาภาพของการ ให้บริการด้านเทคโนโลยี และการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี  ตลอดจนการส่งเสริมการปฏิบัติงานที่ดีด้านเทคโนโลยีเพื่อให้สอดคล้องกับค่านิยมหลักของธนาคาร
  2. ทบทวนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี ความเสี่ยง ประสิทธิภาพ และงบประมาณ
  3. ร่วมกับคณะกรรมการธนาคารในการอนุมัติเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานและนโยบายด้านเทคโนโลยี รวมทั้งให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการธนาคาร เกี่ยวกับผลกระทบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยี
  4. ศึกษาความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพธุรกรรมทางการเงินของธนาคารให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งสู่การเป็นธนาคารชั้นนำด้านเทคโนโลยี
  5. ในกรณีที่คณะกรรมการเทคโนโลยีมีมติหรือมอบหมายให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดทำหน้าที่แทน  บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว ไม่สามารถมอบหมายหรือมอบอำนาจช่วงให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่ได้รับการยินยอมจากคณะกรรมการเทคโนโลยี
  6. มีอำนาจในการเรียกประชุมกับกรรมการและผู้บริหารของธนาคาร เพื่อบริหารจัดการประเด็นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
  7. คณะกรรมการเทคโนโลยีจะนำเสนอรายงานประจำปีต่อคณะกรรมการธนาคาร เกี่ยวกับ “สถานการณ์ด้านเทคโนโลยี”  นอกจากนั้น เมื่อคณะกรรมการเทคโนโลยีเห็นว่าประเด็นใดมีความสำคัญจะพิจารณานำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการธนาคาร กรรมการบริหาร  กรรมการตรวจสอบ และกรรมการบริหารความเสี่ยงตามความเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าคณะกรรมการชุดต่าง ๆ มีความเห็นที่สอดคล้องกันในด้านเทคโนโลยี
  8. คณะกรรมการเทคโนโลยีจะเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่คณะกรรมการธนาคาร เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี
  9. ร่วมกับคณะกรรมการชุดย่อยอื่น ๆ ในการกำกับดูแลการปรับเปลี่ยน (Transformation) และธรรมาภิบาล (Governance Structure) เพื่อนำไปสู่การเป็น Technology Company

คณะกรรมการฝ่ายจัดการ

คณะกรรมการจัดการ

รายชื่อคณะกรรมการจัดการ

1. กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารประธานกรรมการ
2. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารความเสี่ยงกรรมการ
3. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกฎหมายและควบคุมกรรมการ
4. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการเงินกรรมการ
5. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesaleกรรมการ
6. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealthกรรมการ
7. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ SMEกรรมการ
8. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Retail and Business Bankingกรรมการ
9. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Integrated Channelsกรรมการ
10. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Bankingกรรมการ
11. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจประกันกรรมการ
12. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลกรรมการ
13. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Information Technologyกรรมการ
14. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กรกรรมการ และเลขานุการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

 

คณะกรรมการจัดการมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินการของธนาคารให้เป็นไปตามกลยุทธ์ บรรลุเป้าหมายทางการเงินและเป้าหมายทางธุรกิจ ตลอดจนเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สำคัญ รวมถึงดูแลการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคาร

นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดการยังมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

  1. จัดทำแผนธุรกิจและแผนงานประจำปี (Business and Annual Operating Plan) รวมถึงเป้าหมายทางการเงิน งบประมาณประจำปี และตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน ตามแนวทางของยุทธศาสตร์องค์กร เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารพิจารณากลั่นกรองก่อนนำเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ

  2. ทบทวนผลการดำเนินงานและกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการแข่งขัน

  3. พิจารณาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
         (ก)   อนุมัติยุทธศาสตร์และแผนงานการดำเนินการของโครงการที่สำคัญของธนาคาร พิจารณาอนุมัติการจัดสรรทรัพยากรตามที่ระเบียบของธนาคารกำหนด รวมถึงติดตามการดำเนินการและตัดสินใจในเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับโครงการนั้น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการนั้น ๆ จะประสบผลสำเร็จ
         (ข)   อนุมัติ และ/หรือรับทราบเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่/บริการใหม่/กระบวนการปฏิบัติงานใหม่
         (ค)   อนุมัติแผนการจัดสรรทรัพยากรที่สำคัญของธนาคาร
         (ง)   อนุมัติเรื่องใด ๆ ตามกรอบอำนาจใด ๆ ที่กำหนดไว้ตามระเบียบ และ/หรือได้รับมอบหมายตามมติคณะกรรมการธนาคาร/คณะกรรมการบริหาร
         (จ)   กลั่นกรองงานทุกประเภทที่ไม่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการฝ่ายจัดการชุด   ใด ๆ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร

  4. รายงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องสำคัญต่าง ๆ ของธนาคาร
คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน

รายชื่อคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน

1. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 
ประธานคณะกรรมการ
2. ผู้จัดการใหญ่ ที่รับผิดชอบด้านธุรกิจกรรมการ
3. ผู้จัดการใหญ่ ที่รับผิดชอบด้านยุทธศาสตร์และการเงินกรรมการ
4. ผู้จัดการใหญ่ ที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีกรรมการ
5. ผู้จัดการใหญ่ ที่รับผิดชอบด้านปฏิบัติการกรรมการ
6. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Financial Officerกรรมการ
7. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Strategy Officerกรรมการ
8. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Risk Officerกรรมการ
9. รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Chief Wholesale Banking Officerกรรมการ
10. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief SME Banking Officerกรรมการ
11. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Wealth Banking Officerกรรมการ
12. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief SSME and Retail Banking Officerกรรมการ
13. รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Centerกรรมการ
14. ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานบริหารการเงินกรรมการและเลขานุการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. Liquidity Policy
    1. กำหนดนโยบายการบริหารสภาพคล่องให้มีความเหมาะสมทางธุรกิจ และเป็นไปตามกฏเกณฑ์ของทางการ
    2. ติดตามภาวะตลาดทั้งในและต่างประเทศที่อาจมีผลกระทบต่อสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน
    3. กำหนดนโยบายและเพดานความเสี่ยงในการบริหารสภาพคล่อง
    4. อนุมัติและทบทวนแผนรองรับเหตุฉุกเฉินด้านสภาพคล่อง (Contingency Funding Plan)
    5. ให้ความเห็นชอบต่อแผนรองรับการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง (Recovery Plan)

  2. Interest Rate Risk and Foreign Exchange Risk Policy
    1. กำหนดนโยบายและเพดานความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน
    2. อนุมัติประกาศอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทางด้านเงินกู้ เช่น MLR MOR และด้านเงินฝาก เช่น อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์และฝากประจำใน Term มาตรฐาน
    3. ให้ความเห็นชอบในการกำหนดวงเงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน และตราสารหนี้ ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้ง Structured notes ทั้งใน Trading Book และ Banking Book ทั้งสกุลบาทและเงินสกุลต่างประเทศ

  3. Asset and Liability Structure
    1. กำหนดนโยบายในการจัดการโครงสร้างสินทรัพย์และหนี้สินเพื่อ Optimize risk/return และการกระจายความเสี่ยง
    2. ให้ความเห็นชอบในการระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้ระยะยาวเกิน 1 ปี เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวให้กับธนาคาร เช่น หุ้นกู้ Structured notes และหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารได้ เป็นต้น
    3. อนุมัติเครื่องมือในการบริหารจัดการ เช่น Fund Transfer Pricing และ Economic Profit

  4. Capital Management
    1. กำหนดนโยบายระดับเงินกองทุนที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจและข้อกำหนดของทางการ
    2. ให้ความเห็นชอบแผนการจัดหาเงินกองทุนของธนาคารในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการออกตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หรือตราสารอื่นใด ที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารได้
    3. ควบคุมดูแลให้มีการใช้เงินกองทุนของธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
    4. ติดตามการดำเนินงานในด้านต่างๆ ข้างต้นให้เป็นไปตามนโยบาย

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

รายชื่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

1. Chief Executive Officerประธานกรรมการ
2. President 3 ท่านกรรมการ
3. Chief Risk Officerกรรมการ
4. Chief Financial Officerกรรมการ
5. Chief Legal and Control Officerกรรมการ
6. Chief Technology Officerกรรมการ
7. Chief Strategy Officerกรรมการ
8. ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านธุรกิจพิเศษกรรมการ
9. ผู้บริหารสูงสุดธุรกิจพิเศษกรรมการ
10. Chief Credit Officerกรรมการและเลขานุการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. วางกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง ให้สอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร
  2. กลั่นกรองนโยบาย และแนวทางการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน นำเสนอต่อคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงหรือคณะกรรมการชุดย่อยอื่น / คณะกรรมการธนาคาร ซึ่งต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงประเภท
    ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เป็นต้น
  3. ควบคุม ดูแล ให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน มีการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของกลุ่ม ตลอดจนมีผลการวัดระดับความเสี่ยงอยู่ภายในระดับที่ยอมรับได้ รวมทั้งพิจารณาอนุมัติรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk Acceptance) เมื่อมีประเด็น
  4. พิจารณาอนุมัติกฎบัตรของคณะกรรมการชุดย่อย ได้แก่ คณะกรรมการ Model Risk Management Committee (MRMC) ซึ่งหมายความรวมถึง การพิจารณาอนุมัติบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและการแต่งตั้งคณะกรรมการ MRMC
  5. นำเสนอการทบทวน สอบทานความเพียงพอและประสิทธิผล ของนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงโดยรวม รวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ต่อคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง อย่างน้อยปีละครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงควรหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับหน่วยงานตรวจสอบของบริษัทต่าง ๆ ในกลุ่มฯ เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของ
    กลุ่มธุรกิจทางการเงินครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภทรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ และมีการดำเนินการตามนโยบายและกลยุทธ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  6. รายงานต่อคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงถึงฐานะความเสี่ยง ประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยง และสถานะการปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง ตลอดจนปัจจัยและปัญหาที่มีนัยสำคัญ และสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
  7. ดำเนินการให้มีการปลูกฝัง Risk Culture ทั่วทั้งองค์กร และกำกับให้มีการปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กร

คณะกรรมการบริหารการลงทุนตราสารทุน

รายชื่อคณะกรรมการบริหารการลงทุนตราสารทุน

1. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานคณะกรรมการ
2. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารความเสี่ยงกรรมการ
3. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการเงินกรรมการ
4. รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Creditกรรมการ
5. ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารความเสี่ยงทางการเงินกรรมการ และเลขานุการ

 

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. พิจารณา ทบทวน และอนุมัติการลงทุนในหลักทรัพย์ตราสารทุน รวมถึงนโยบายการลงทุน สถานะความเสี่ยง กระบวนการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
  2. ทบทวนและประเมินผลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปด้วยความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
  3.  ปรับปรุง แก้ไขนโยบายการลงทุน ก่อนนำเสนอคณะกรรมการธนาคาร

 

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ

กฏบัตรและนิยามกรรมการอิสระ

นิยามกรรมการอิสระ

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดนิยามกรรมการอิสระเข้มกว่าประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(ก)ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 (ศูนย์จุดห้า) ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย
(ข)ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระ ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามดังกล่าว ไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการหรือที่ปรึกษาของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร
(ค)

ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็น บิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของกรรมการรายอื่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร หรือบริษัทย่อย

(ง)

ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระ

ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตาม (ง) ข้างต้น รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้ธนาคารหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่ร้อยละสามของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของธนาคารหรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ทางธุรกิจดังกล่าวไม่นับรวมธุรกรรมด้านการรับฝากเงินซึ่งเป็นธุรกรรมปกติของธนาคาร

การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยอนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างหนึ่งปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน

(จ)ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคารสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระ
(ฉ)ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใด ๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย  ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของ   ผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระ
(ช)ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของธนาคาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้น  ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคาร
(ซ)ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของธนาคารหรือบริษัทย่อยหรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของธนาคารหรือบริษัทย่อย
(ฌ)

ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคาร


ทั้งนี้ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะเป็นไปตามวรรคหนึ่ง (ก) ถึง (ฌ) แล้ว กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของธนาคาร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุมของธนาคาร โดยมีการตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะ (Collective Decision) ได้

ในกรณีที่บุคคลที่ธนาคารแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระเป็นบุคคลที่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพเกินมูลค่าที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง (ง) หรือ (ฉ) ให้ธนาคารได้รับการผ่อนผันข้อห้ามการมีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพเกินมูลค่าดังกล่าว ก็ต่อเมื่อธนาคารได้จัดให้มีความเห็นคณะกรรมการธนาคารที่แสดงว่าได้พิจารณาตามหลักในมาตรา 89/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แล้วว่า การแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และการให้ความเห็นที่เป็นอิสระ และจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นในวาระพิจารณาแต่งตั้งกรรมการอิสระด้วย

จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มธุรกิจของธนาคาร

จรรยาบรรณธุรกิจ

1. จรรยาบรรณด้านการประกอบธุรกิจ

            ธนาคารให้ความสำคัญในการดูแลให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณด้านประกอบธุรกิจ ดังต่อไปนี้

           1.1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ให้ไว้ต่อ เจ้าหนี้ และลูกค้า ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการ และระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึงนโยบายการต่อต้านและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น นโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
           1.2  ปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และความระมัดระวัง รอบคอบ
           1.3  มุ่งให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม โดยดำเนินการให้มีผลประกอบการที่ดีเลิศอย่าง สม่ำเสมอ
           1.4  เก็บรักษาความลับ และไม่ใช้ข้อมูลภายใน หรือข้อมูลอันเป็นความลับเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทาง ที่มิชอบ แก่ตนเองและผู้อื่น
           1.5 ปกป้อง และหลีกเลี่ยงการกระทำซึ่งอาจนำมาสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

 

2. มาตรฐานการให้บริการ

             ธนาคารต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย โดยจัดให้มีมาตรฐานการให้บริการ ดังนี้

           2.1 มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียได้รับการบริการอย่างดี
           2.2 มีระบบการบริหารจัดการ การตรวจสอบ และการควบคุมภายในที่รอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ข้อผิดพลาดในการให้บริการ   
           2.3  มีระบบการบริหารความเสี่ยงสอดคล้องกับธุรกิจ เพื่อให้ธนาคารสามารถจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและรับมือได้อย่างเหมาะสม

 

3.    พนักงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ธนาคารดูแลและจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานทุกคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้

           3.1  สรรหาและรักษาพนักงานที่มีความสามารถในการปฏิบัติงาน รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อให้พนักงานมีโอกาสในความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ
           3.2   ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเป็นธรรมและให้เกียรติ
           3.3 ไม่เลือกปฏิบัติโดยอ้างเหตุความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ อายุ ศาสนา หรือความพิการ
           3.4  ให้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงาน บนพื้นฐานของการประเมินผลงานที่เป็นธรรม
           3.5 จัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและปลอดภัย พร้อมให้บริการแก่ลูกค้า
3.6 เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานไว้เป็นความลับและไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานออกไปหาประโยชน์อื่น
           3.7 ดูแลไม่ให้เกิดการคุกคาม โดยการแสดงออกทางคำพูดหรือกิริยาท่าทางที่อาจกระทบต่อเกียรติหรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นในที่ทำงาน
           3.8 จัดให้มีช่องทางต่างๆ ในการร้องเรียน แจ้งเบาะแส หรือรายงานข้อสงสัยเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ การไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
          3.9 กรณีมีการสอบสวนเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ธนาคารพึงให้การดูแลพนักงานในการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับและตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
          3.10  จัดให้มีการดำเนินการทางวินัยกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ หรือกฎระเบียบ ตามความเหมาะสมของผลกระทบและลักษณะของการกระทำความผิด และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
          3.11 ธนาคารจะยึดหลักสิทธิมนุษยชนเป็นหลักปฏิบัติร่วมกับพนักงานทุกคน โดยจะให้พนักงานเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงาน

4. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

ธนาคารให้ความสำคัญและปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมีความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

          4.1 ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการให้บริการทางการเงินอย่างมีคุณภาพและเป็นธรรมตามแนวปฏิบัติ Market Conduct ของธนาคารแห่งประเทศไทย  ภายใต้สิทธิขั้นพื้นฐานของลูกค้าที่พึงได้รับ 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง สิทธิที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างอิสระ  สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และสิทธิที่จะรับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย
          4.2 มีการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างยั่งยืน ไม่เรียกรับสินบน และ/หรือผลประโยชน์ ของกำนัล ทรัพย์สิน และการเลี้ยงสังสรรค์ในรูปแบบใดๆ ที่ส่อถึงเจตนาดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อลูกค้าอย่างไม่ถูกต้อง
          4.3 จัดให้มีการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของลูกค้า
          4.4 จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร โดยครอบคลุมถึงเงื่อนไขและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอัตราค่าบริการและดอกเบี้ยที่ถูกต้อง ชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์แก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจและมีข้อมูลเพียงพอแก่การตัดสินใจ รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์จะต้องสื่อสารอย่างโปร่งใสด้วยข้อความที่ชัดเจน ไม่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด
          4.5 จัดให้มีช่องทางและกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน และจัดการประเด็นต่างๆ ที่ลูกค้าร้องเรียนอย่างชัดเจนและเหมาะสม เช่น รับเรื่องร้องเรียนทางโทรศัพท์หรือสาขาที่ให้บริการ เป็นต้น

 

5. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

ธนาคารจัดให้มีมาตรการเพื่อบริหารจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ดังต่อไปนี้

         5.1  มีการควบคุมดูแล และป้องกันเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการระหว่างกันที่ไม่เหมาะสม โดยกำหนดนโยบาย ระเบียบวิธปฏิบัติ กระบวนการในการพิจารณา และอนุมัติรายการ พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและอนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หน่วยงานที่กำกับดูแลธนาคาร

5.2 การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน
              ก.  จัดให้มีมาตรการควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์และให้มีการเปิดเผยการมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่อาจเข้าถึงข้อมูลภายใน รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลจากตำแหน่ง หน้าที่ หรือการปฏิบัติงาน เพื่อหา ผลประโยชน์ในทางมิชอบแก่ตนเองหรือผู้อื่น
ข. กำหนดให้มีการแบ่งแยกสถานที่การปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงาน โดยจัดให้หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์แยกออกจากกัน เพื่อการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล

5.3 การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องและรายการที่เกี่ยวโยงกัน
              ก.   กำหนดระเบียบว่าด้วยการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน กำหนดกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อประโยชน์ต่อธนาคารและผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
              ข.   การเข้าทำรายการระหว่างธนาคารกับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องไม่มีลักษณะถ่ายเทผลประโยชน์ของธนาคารไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ค. พนักงานธนาคารที่มีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมใด ต้องไม่เข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจพิจารณาธุรกรรมนั้น เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปเพื่อประโยชน์ของธนาคารอย่างเต็มที่

         5.4 การรับหรือให้ของขวัญ การรับรองและผลประโยชนอื่นๆ
ก. การรับ/ให้ของขวัญ การรับรอง และผลประโยชน์อื่นๆ ของธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ต้องดำเนินด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ เป็นไปอย่าง สมเหตุสมผล และมีมูลค่าเหมาะสม ตามกาลเทศะ ธรรมเนียม จารีตประเพณี
ข. ไม่ติดสินบน ตอบแทน เสนอให้ หรือเรียกร้อง ผลประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสม ทั้งทางตรง และทางอ้อม กับลูกค้า หน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือบุคคลที่สาม เพื่อก่อให้เกิดอิทธิพลต่อการใช้วิจารณญาณที่เป็นกลางในการตัดสินใจ หรือก่อให้เกิดอิทธิพลต่อผู้อื่นต่อการกระทำในหน้าที่ หรือทำให้ได้มาซึ่งประโยชน์อันไม่สมควร

 

6. การจัดการข้อมูล

ธนาคารให้ความสำคัญกับการรักษาความลับและการจัดการข้อมูลทั้งของลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และข้อมูลธนาคาร โดยมีการจัดการข้อมูลต่างๆ ให้เหมาะสม รัดกุม ดังนี้

         6.1 การจัดการข้อมูล
ก. ปกป้อง จัดเก็บ ดูแลข้อมูลของลูกค้า พนักงาน คู่ค้า รวมถึงข้อมูลของธนาคารตามที่กฎหมายกำหนดให้พึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย โดยจะต้องทำการเก็บรวบรวม ดูแลรักษาและใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่ธนาคารได้กำหนดไว้
              ข. ไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และข้อมูลของธนาคาร เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกค้า พนักงาน คู่ค้า หรือธนาคารแล้วแต่กรณี หรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

         6.2 การสื่อสาร
              ก. ธนาคารมุ่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของธนาคารต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสาธารณชนทั่วไปอย่างถูกต้องครบถ้วนทั่วถึงและทันกาล รวมทั้งเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ข. การสื่อสาร แถลงการณ์ หรือการให้ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร ธุรกิจของธนาคาร ลูกค้า พนักงาน และ คู่ค้า ต้องมีความถูกต้องเหมาะสม โดยการกระทำ ดังกล่าวต่อสื่อมวลชน หรือสื่อใดๆนั้น ต้องกระทำโดยบุคคลซึ่งได้รับมอบหมาย ให้ทำหน้าที่ให้ข้อมูลในนามของธนาคารเท่านั้น

 

7. การกำกับดูแลโดยรวม

       ธนาคารยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปด้วยความถูกต้องตามกรอบของกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง นโยบายและระเบียบปฏิบัติของธนาคาร รวมถึงหลักธรรมาภิบาล ดังต่อไปนี้

         7.1  ธนาคารยึดมั่นในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่กำหนดโดยหน่วยงานทางการที่ควบคุมดูแลธนาคารในฐานะธนาคารพาณิชย์ และบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย ในการมุ่งพัฒนางานกำกับดูแลกิจการของธนาคารให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล  เพื่อประโยชน์และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
         7.2  จัดให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ รวมทั้งตระหนักถึงความเสี่ยงของการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของธนาคาร รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานเอง
         7.3  จัดให้มีหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ซึ่งสามารถทำหน้าที่ได้โดยอิสระจากการบริหารจัดการของธนาคาร รวมถึงมีการจัดสรรบุคลากรและทรัพยากรต่างๆ ให้กับหน่วยงานดังกล่าวอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
         7.4  จัดให้มีการกำกับดูแลเพื่อสอบทานการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้อง นโยบายและระเบียบปฏิบัติของธนาคารอย่างสม่ำเสมอ โดยให้มีการบริหารจัดการ พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขและมาตรการป้องกันภายใต้กรอบกฎหมาย กฎเกณฑ์ หลักธรรมาภิบาล นโยบายและระเบียบปฏิบัติของธนาคาร

 

8. การแข่งขันทางการค้าและการระงับข้อพิพาท

       ธนาคารให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดย

         8.1 ดำเนินธุรกิจและปฏิบัติต่อพันธมิตรและคู่แข่งทางการค้าอย่างเสรีและแข่งขันอย่างเป็นธรรม โดยไม่มีการตกลงร่วมกันระหว่างธนาคารในการกำหนดราคาซื้อ ขาย หรือเงื่อนไขการให้บริการที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกค้า รักษาความลับภายใต้หลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่แสวงหาข้อมูลของพันธมิตรและคู่แข่งทางการค้าอย่างไม่สุจริตและไม่เป็นธรรม
         8.2 กำหนดแนวปฏิบัติในการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นประโยชน์และคุ้มค่าแก่ลูกค้า ให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระและต้องไม่ขัดขวางลูกค้าในการเปลี่ยนไปใช้บริการกับธนาคารอื่นจนเกินพอดี
         8.3  ไม่กล่าวโจมตีคู่แข่ง หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาด
         8.4  หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ธนาคารพึงจัดให้มีกระบวนการที่เหมาะสมในการระงับหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

 

9. สังคมและสิ่งแวดล้อม
         9.1 ธนาคารยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และระมัดระวังในการพิจารณาดำเนินการใดๆ ในเรื่องที่กระทบต่อความรู้สึกของสาธารณชน (Public Interest) นอกจากนี้ธนาคารมุ่งดำเนินการ และให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมโดยรวมอย่างสม่ำเสมอ
         9.2 ธนาคารให้ความสำคัญในการดูแลด้านความปลอดภัย และรักษาสิ่งแวดล้อมของธนาคารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบใดๆ กับชุมชนใกล้เคียง และส่งเสริมพนักงานให้มีจิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม

 

 

จรรยาบรรณของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน

 

จรรยาบรรณนี้ใช้ถือปฏิบัติกับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ของธนาคารและบริษัทในกลุ่มธุรกิจ ทั้งนี้  “พนักงาน” ให้หมายรวมถึง ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับชั้น รวมถึงพนักงานที่มีสัญญาจ้างทุกคน ไม่ว่าจะ เป็นพนักงานที่มีสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลาหรือไม่มีกำหนดระยะเวลา

1. ธรรมาภิบาล และการกำกับดูแลกิจการที่ดี

           1.1 กรรมการและผู้บริหารเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น ลูกค้า หน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ภาคอุตสาหกรรมและประเทศชาติ รวมถึงจัดให้มีการกำหนดนโยบายเรื่องธรรมาภิบาลที่ดีให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ตลอดจนมีการจัดทำจรรยาบรรณและสื่อสารให้พนักงานและผู้บริหารนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
           1.2 กรรมการและผู้บริหารต้องปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี  โดยทำหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และทิศทางการดำเนินงาน รวมถึงจัดให้มีการกำกับควบคุมดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนดูแลให้ผู้บริหารของธนาคารและฝ่ายจัดการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
           1.3 การดำเนินธุรกิจของธนาคารอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานทางการ ดังนั้นกรรมการในฐานะตัวแทนของผู้ถือหุ้นจึงต้องกำหนดนโยบายโดยมีผู้บริหารของธนาคารในฐานะฝ่ายจัดการทำหน้าที่ผลักดันให้มีการนำไปปฏิบัติได้จริงอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ เพื่อกำกับดูแลให้ธนาคารดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง
           1.4 กรรมการต้องดูแลให้ธนาคารมีนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับความเสี่ยงที่สำคัญของธนาคาร รวมทั้งดูแลให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ มีความเป็นมืออาชีพ และไม่ถูกครอบงำจากหน่วยงานที่ประกอบธุรกิจ นอกจากนั้น ผู้บริหารของธนาคารจะต้องทราบถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งปกป้องดูแลผลประโยชน์ของธนาคารและจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

 

2. การรักษาผลประโยชน์ รวมถึงภาพลักษณ์ เกียรติภูมิ ชื่อเสียงและคุณธรรมอันดีงาม

     กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน พึงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ดังต่อไปนี้

           2.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ไม่ให้คำสัญญา หรือข้อผูกพันในเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการได้ กระทำการด้วยความรอบคอบระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถยึดมั่นต่อความเป็นจริง ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้กรอบแนวทางหลักการตัดสินใจทางธุรกิจ (Business Judgement Rule)  รวมทั้งคำนึงถึงและรักษาผลประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ ด้วยความใส่ใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับองค์กรหรือการดำเนินการต่างๆ ขององค์กร
           2.2 การรักษาผลประโยชน์ของธนาคารต้องเกิดจากการกระทำโดยชอบธรรม ไม่กระทำการช่วยเหลือสนับสนุนหรือยอมเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ ตามหลักธรรมาภิบาลของการดำเนินธุรกิจ
           2.3 พึงระมัดระวังการกระทำ หรือการแสดงออกในด้านต่างๆ รวมถึงการใช้ Social Media ที่อาจส่งผลกระทบถึงภาพลักษณ์ของธนาคารได้
           2.4 การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรจะต้องถูกต้อง เที่ยงตรง ตรงไปตรงมา และมีการใช้ช่องทางในการสื่อสารที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์

 

3. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

           ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของธนาคารเป็นสำคัญและต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตนเองจะต้องไม่มีส่วนได้เสีย หรือผลประโยชน์ขัดกันกับผลประโยชน์ของธนาคาร และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจมีขึ้นทั้งทางตรงทางอ้อม 

 

4. ความเชื่อถือได้ของข้อมูล

           ข้อมูลทุกประเภทของธนาคารต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริงและถูกต้อง

           4.1 ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ต้องอาศัยความถูกต้องของข้อมูลของธนาคาร ในการติดตามการดำเนินงานของธนาคาร และในการตัดสินใจ ดังนั้น ทุกคนต้องร่วมมือกันในการจัดทำข้อมูลให้ถูกต้องโดยบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานอย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์

            4.2 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องร่วมมืออย่างเต็มความสามารถกับผู้ตรวจสอบภายในและภายนอกเมื่อได้รับการร้องขอ

 

5. การรักษาความลับของข้อมูล

           5.1 ไม่เปิดเผยข้อมูลของธนาคารที่ยังมิได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ยกเว้นเป็นไปตามกฎหมายหรือได้รับการอนุมัติจากธนาคาร  การรักษาความลับของข้อมูลของธนาคาร  รวมถึงข้อมูลของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ แผนงาน กลยุทธ์ วิธีการดำเนินการและระบบงาน ผู้เกี่ยวข้องทุกคนจะต้องไม่นำข้อมูลที่ได้ทราบหรือจัดทำขึ้นจากหน้าที่งานในธนาคารไปใช้ในทางอื่น นอกเหนือจากงานที่ตนรับผิดชอบ และจะไม่นำข้อมูลไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ ส่วนตนหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ไม่ว่าในขณะที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือพ้นสภาพจากการปฏิบัติหน้าที่แล้วก็ตาม

           5.2 การเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้าถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด และห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลใดๆ ของลูกค้าแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าด้วยวิธีการ หรือสื่อใดๆ เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าให้แก่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล

           5.3 การรักษาความลับของข้อมูลนี้ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า พนักงาน และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ซึ่งหมายความถึง ข้อมูลที่สามารถทำให้ระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ ชื่อสกุล เลขประจำตัวประชาชน เลขที่หนังสือเดินทาง วันเดือนปีเกิด เพศ อายุ ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ รายได้ การศึกษา และข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และผลประโยชน์ และข้อมูลทางการแพทย์ด้วย ข้อมูลดังกล่าวจะสามารถเปิดเผยได้เฉพาะเจ้าของข้อมูลและผู้เกี่ยวข้องที่ธนาคารกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ในงานธนาคาร หรือเมื่อมีความจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนี้ ต้องปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวโดยใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง และพึงรักษาความลับอย่างเคร่งครัด

 

6. การใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์

           ห้ามผู้ที่รู้ข้อมูลภายในหรือข้อมูลที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง เปิดเผยหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทั้งของตนเอง และ/หรือบุคคลอื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

7. การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

           ยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง โดยจะไม่สนับสนุนหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการรับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้ธนาคารเป็นช่องทางหรือเป็นเครื่องมือในการถ่ายเท ปกปิด หรืออำพรางแหล่งที่มาของทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

8. การต่อต้านการคอร์รัปชั่นและสินบน

           กลุ่มธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีหน้าที่ในการศึกษา และทำความเข้าใจกับนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นและสินบนของธนาคาร และปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

 

9. การพนัน การดื่มแอลกอฮอล์ และสิ่งเสพติด

           9.1 ห้ามเสพ ครอบครอง ซื้อ ขาย ขนย้าย สิ่งเสพติด หรือสารควบคุม (ยกเว้นยาตามใบสั่งของแพทย์) ไม่ว่าประเภทใดๆ และไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ

           9.2 ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่ในงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือการต้อนรับลูกค้าตามระเบียบปฏิบัติของธนาคาร และต้องไม่ดื่มจนมึนเมาหรือขาดสติ

           9.3 ห้ามเล่นการพนันทุกประเภทไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ก็ตาม

 

10. การให้ และการรับของขวัญ ของกำนัล และการเลี้ยงรับรอง

           10.1 ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงาน เพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน จากผู้ประกอบธุรกิจกับธนาคาร รวมทั้งผู้ที่กำลังติดต่อ เพื่อดำเนินธุรกิจกับธนาคาร

           10.2 ต้องไม่เรียกร้องหรือแสดงอากัปกิริยาที่แสดงเจตนาทั้งทางตรงและทางอ้อมว่าต้องการรับเงินและ/หรือทรัพย์สิน และ/หรือประโยชน์อื่นใดที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจในนามธนาคารเว้นแต่ได้รับในโอกาสที่เป็นพิธีการ หรือตามธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นที่ดีงามหรือจารีต ทางการค้า

           10.3 การแลกเปลี่ยนของขวัญ ของกำนัล หรือการเลี้ยงตอบแทนตามประเพณีนิยม เช่น การรับประทานอาหารหรือการเลี้ยงรับรองกับบุคคลอื่น เป็นต้น สามารถทำได้ตามความเหมาะสมเพื่อรักษาสัมพันธภาพทางธุรกิจ โดยไม่มีการรับและการให้ของขวัญ ของกำนัลในรูปแบบของเงินสด หรือทรัพย์สินสิ่งมีค่าเสมือนเงินสด อาทิเช่น ทอง เพชรนิลจินดา หรือตราสารทางการเงินที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น เช็คของขวัญ เป็นต้น

 

11. ทรัพย์สินขององค์กร

           11.1 ทุกคนมีหน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของธนาคารมิให้สูญหาย เสียหาย หรือนำไปใช้ ในทางที่ผิด ความรับผิดชอบนี้ไม่เพียงแค่ครอบคลุมถึงการปฏิบัติตนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการต้องใส่ใจที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนของการรักษาความปลอดภัย และการตื่นตัวต่อสถานการณ์และเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและทำให้ทรัพย์สินของธนาคารเกิดความสูญหาย เสียหาย หรือถูกใช้ในทางที่ผิดด้วย

           11.2 ทรัพย์สินของธนาคารหมายความรวมถึงเงินสด เครื่องมือทางการเงิน ข้อมูลของธนาคารทรัพย์สินทางปัญญา โปรแกรมระบบงานคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เอกสาร เครื่องมือเครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวก ยานพาหนะ ชื่อธนาคาร เครื่องหมายสัญลักษณ์ของธนาคาร และวัสดุอุปกรณ์

           11.3 ทรัพย์สินทางปัญญาหมายความรวมถึงสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายทางการค้าความลับทางการค้า หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นทรัพย์สินมีค่าของธนาคาร ทุกคนมีหน้าที่ปกป้องดูแลรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของธนาคารให้พ้นจากการนำไปใช้ หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตและต้องเคารพลิขสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ

 

12. การทำงานอื่นหรือกิจกรรมภายนอก

           12.1 การดำเนินธุรกรรมหรือกิจการส่วนตัวใดๆ  จะต้องแยกออกจากการดำเนินกิจการของธนาคารไม่ใช้ชื่อธนาคารในการดำเนินธุรกรรมส่วนตัว ดำเนินกิจการในระดับที่เหมาะสม (at arm’s  length) หรือเป็นการทำธุรกรรมที่เป็นธรรมเนียมการค้าปกติ เสมือนการทำธุรกรรมกับบุคลลทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษ โดยมุ่งประโยชน์ต่อองค์กรเป็นหลัก หลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น และเมื่อเกิดกรณีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ จะต้องจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นอย่างเป็นธรรมและรวดเร็ว

           12.2 ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ มีความระมัดระวัง และความถูกต้อง/ซื่อสัตย์สุจริตรวมทั้งการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ข้อบังคับ นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่ธนาคารกำหนด

           12.3 ผู้บริหารหรือพนักงานต้องไม่เป็นพนักงานขององค์กรอื่นที่ไม่ใช่องค์กรในกลุ่มธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือทำกิจกรรมภายนอกอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธนาคารในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

           12.4 ผู้บริหารหรือพนักงานที่จะไปเป็นกรรมการ คณะทำงาน ที่ปรึกษา วิทยากร หรือทำกิจกรรมภายนอกให้กับบุคคลอื่นใดที่ไม่ใช่องค์กรในกลุ่มธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ต้องได้รับการอนุมัติล่วงหน้าจากผู้มีอำนาจอนุมัติที่ธนาคารกำหนด

 

13. การคุกคาม

           ยึดมั่นในการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพโดยปราศจากการคุกคามใดๆ เช่น  การคุกคามทางวาจา การคุกคามทางกาย การคุกคามทางเพศ การคุกคามทางข้อความ รูปภาพหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

 

14. Whistleblower

           ธนาคารมีช่องทาง Whistleblower ให้พนักงานสามารถร้องเรียนให้ข้อมูล หรือแจ้งเบาะแสการทุจริต  คอร์รัปชั่น รวมถึงการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ กฎระเบียบ จรรยาบรรณ เพื่อความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

  • E-mail Address : whistleblower@scb.co.th
  • โทรศัพท์สายตรง 02-544-2000
  • ตู้ไปรษณีย์ 177 ปณศ.จตุจักร 10900

           ผู้รายงาน ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้ หากเห็นว่าการเปิดเผยนั้นจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย หรือเกิดผลกระทบในทางลบใดๆ

           ธนาคารถือว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับ จะเปิดเผยเท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและผลกระทบในทางลบของผู้รายงาน แหล่งที่มาของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสอบสวนหรือหาข้อเท็จจริงมีหน้าที่ในการรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลอย่างเคร่งครัด ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือมีการกระทำใดๆ ที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ที่เป็นพยาน ถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรงและอาจเป็นความผิดตามกฎหมายได้

 

15. บทสรุป

           ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ และคุณธรรม ถือเป็นหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจของธนาคารและในขณะเดียวกัน ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่เป็นเลิศ   ความมุ่งมั่นดังกล่าวต้องเป็นส่วนหนึ่งของพนักงานทุกคน และแสดงออกอย่างชัดเจน ทั้งโดยวาจา การกระทำ และการวางตัว การแสดงออกด้วยความเคารพ ความนอบน้อม สุภาพ จริงใจ ใส่ใจ และด้วยความกระตือรือร้น จะต้องปรากฏชัดเจน  ในการติดต่อกับลูกค้าและบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการต่อหน้า การพูดคุยทางโทรศัพท์หรือ การติดต่อเป็นลายลักษณ์อักษร หรือการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศก็ตาม

           วัฒนธรรมการให้บริการที่เป็นเลิศนี้ จะเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อเนื่องได้อย่างยั่งยืนและยาวนานก็ต่อเมื่อพนักงานทุกคนปฏิบัติต่อกันเช่นนั้นด้วยความกระตือรือร้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจ การ   ทำงานร่วมกันเป็นทีม และความพร้อมตอบสนอง เป็นคุณลักษณะที่พนักงานพึงเรียนรู้จากกันและกัน

           การปฏิบัติตามจรรยาบรรณจะเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ และวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร ซึ่งจะส่งผลให้ การดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจของธนาคารอย่างยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า ผู้ถือหุ้น  พนักงาน และสังคมในที่สุด

จรรยาบรรณคู่ธุรกิจ SCB

Untitled Document

อุดมการณ์และจรรยาบรรณ SCB

 

ธนาคารไทยพาณิชย์ 1 ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมตามหลักบรรษัทภิบาล ควบคู่กับความมุ่งมั่นในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาสู่ความสมดุลของสังคม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจให้เติบโตควบคู่กันได้อย่างยั่งยืน

 

ธนาคารไทยพาณิชย์มีเจตนารมณ์ ที่จะส่งเสริมหลักการนี้ไปยังคู่ธุรกิจ2  ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ ให้ร่วมนำหลักการและแนวคิดดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อการขยายผลออกสู่สังคม และเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน ธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้จัดทำ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจ SCB (SCB Supplier Code of Conduct)” ขึ้นเพื่อให้คู่ธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์นำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป โดยธนาคารไทยพาณิชย์สนับสนุนให้คู่ธุรกิจดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิเสรีภาพ ดูแลด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน ดูแลด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งติดตามการนำ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจ SCB” ไปปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ กรณีที่คู่ธุรกิจปฏิบัติไม่สอดคล้องกับ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจ SCB” ธนาคารไทยพาณิชย์ขอสงวนสิทธิ์ในการดำเนินการใดๆ กับคู่ธุรกิจ โดยพิจารณาจากผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น

 

               1 ธนาคารไทยพาณิชย์ หมายถึง ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และกิจการในเครือทั้งหมดของธนาคารทั้งภายในและต่างประเทศ

              2 คู่ค้าธุรกิจ หมายถึง ผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้าง และ/หรือ ผู้ให้บริการ แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ รวมถึงกิจการในเครือทั้งหมด และผู้รับจ้างช่วงของผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้าง และ/หรือ ผู้ให้บริการดังกล่าว

 

1. จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)    

  • ความซื่อสัตย์ทางธุรกิจ

    ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส มีจริยธรรม การปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นวิธีที่ทุจริต คอร์รัปชั่น ติดสินบนด้วยการให้ เสนอว่าจะให้หรือรับว่าให้เงิน ทรัพย์สิน สิ่งของ หรือ ผลประโยชน์อื่นใด รวมถึงการทำให้ได้เปรียบผู้อื่น เพื่อจูงใจให้ตนเอง หรือ บุคคลอื่นใดได้รับผลประโยชน์โดยไม่ชอบธรรม

  • ความเป็นธรรม  

    ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ที่ให้ทุกฝ่ายได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม ให้ความเคารพต่อผลประโยชน์ของบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ด้วย และไม่ปฏิบัติตนในลักษณะขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม

  • การเปิดเผยข้อมูล

    เปิดเผยข้อมูลของตนอย่างถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

  • การรักษาความลับ 

    ป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่เป็นความลับของธนาคาร ไม่เปิดเผยหรือนำข้อมูลที่เป็นความลับของธนาคาร ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้องของคู่ธุรกิจไปใช้ และ/หรือ แสวงหาประโยชน์ เพื่อตนเองหรือบุคคลใดโดยไม่ได้รับการยินยอม รวมถึงอนุญาตให้มีการใช้ข้อมูลที่เป็นความลับไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ที่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับหรือคำสั่งของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

  • สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

    เคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของธนาคารและผู้อื่น และระมัดระวังไม่ให้มีการละเมิดสิทธิดังกล่าว

 

2. แรงงานและสิทธิมนุษยชน (Labor & Human Rights)

  • การไม่เลือกปฏิบัติ 

    คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียมกัน และความเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อลูกจ้าง เพราะความแตกต่างทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส ผู้มีครรภ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ผู้พิการหรือเรื่องอื่นใด


  • การคุ้มครองแรงงาน
    - ไม่จ้างแรงงานเด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด
    -  ไม่ให้ลูกจ้างหญิงทำงานในลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย
        ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ ต้องจัดให้ได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด
    - การจ้างแรงงานต่างด้าว ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดอย่างถูกต้องครบถ้วน
    - การเลิกจ้าง ต้องดำเนินการเลิกจ้างในแต่ละขั้นตอนกฎหมายแรงงาน และต้องไม่เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

  • การไม่บังคับใช้แรงงาน

    ไม่ใช้หรือได้รับประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานที่ถูกบังคับ ไม่เต็มใจ หรือ ในลักษณะที่เป็นแรงงานทาส ซึ่งรวมถึงการลงโทษทางกาย การขู่เข็ญ การกักขัง การข่มขู่คุกคาม การล่วงละเมิด การค้ามนุษย์ หรือการใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ

  • ค่าจ้างและผลประโยชน์

    ดำเนินการจ่ายค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด รวมถึงดำเนินการตามสิทธิและผลประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม ไม่ต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด และลูกจ้างต้องได้รับตรงตามกำหนดเวลา

  • ระยะเวลาการทำงาน

    ไม่ให้ลูกจ้างทำงานเป็นเวลานานเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ในการทำงานล่วงเวลาหรือในวันหยุด ต้องเป็นความสมัครใจของลูกจ้าง รวมทั้งต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุด วันลา ไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด

 

3. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health & Safety)

  • ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

    จัดให้มีการดำเนินการด้านความปลอดภัยของลูกจ้างและผู้เกี่ยวข้อง โดยจัดเตรียมสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย ลดและควบคุมความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ และผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน การขนส่ง การบริการ ตลอดจนมีแนวทางในการควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อลดความสูญเสีย

  • อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล 

    จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้กับลูกจ้างที่สอดคล้องตามความเสี่ยงอย่างเพียงพอ พร้อมใช้งาน และควบคุมให้เกิดการใช้งาน

 

4. สิ่งแวดล้อม (Environment)

ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดำเนินงานด้วยความใส่ใจสิ่งแวดล้อม รักษาสภาพแวดล้อม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง ดังนี้

  • การลดปริมาณการใช้ (Reduce)
  • การนำกลับมาใช้ซ้ำ / การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse/ Recycle)
  • การสร้างทดแทน (Replenish)

 

5. กฎหมายและข้อกำหนด (Laws & Regulations)

                ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

บทบาทหน้าที่เลขานุการบริษัท

เลขานุการธนาคาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 1 คน ได้แก่ นางศิริบรรจง อุทโยภาศ ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการบริษัท เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับ การประชุมของคณะกรรมการธนาคาร และการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งสนับสนุนให้การกำกับดูแลกิจการเป็นไปตามมาตรฐานบรรษัทภิบาลที่ดี

 

• คุณสมบัติ

  1. ต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานในหลักการของกฎหมายและกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ การจัดหาความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ ที่ปรึกษากฎหมาย เป็นส่วนที่จะส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจดังกล่าวข้างต้น
  2. ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และข้อพึงปฏิบัติที่ดีในเรื่องการกำกับดูแลกิจการ
  3. ความรู้ในธุรกิจประเภทต่างๆ ของธนาคาร และความสามารถในการสื่อสารที่ดี เป็นคุณสมบัติเสริมที่ช่วยให้การทำหน้าที่เลขานุการธนาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

• หน้าที่ความรับผิดชอบ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลักของเลขานุการธนาคาร คือการสนับสนุนงานของคณะกรรมการในด้านที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ สำหรับหน้าที่ รับผิดชอบโดยเฉพาะของเลขานุการธนาคารรวมถึงหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. จัดการเรื่องการประชุมคณะกรรมการธนาคาร และคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการธนาคารที่เกี่ยวข้อง และการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับของธนาคาร และกฎบัตรของคณะกรรมการแต่ละชุด และข้อพึงปฏิบัติที่ดี (Best Practices)
  2. แจ้งมติและนโยบายของคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องและติดตามการปฏิบัติตามมติและนโยบายดังกล่าวผ่านกรรมการผู้จัดการใหญ่
  3. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเบื้องต้นแก่คณะกรรมการธนาคาร และคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการธนาคาร ในประเด็นกฎหมายระเบียบปฏิบัติ และข้อพึงปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการ
  4. ดูแลให้หน่วยงานเลขานุการธนาคารเป็นศูนย์กลางของข้อมูลองค์กร (Corporate Records) อาทิ หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล บริคณห์ สนธิ ข้อบังคับทะเบียนผู้ถือหุ้น และใบอนุญาตประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
  5. ดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศในส่วนที่รับผิดชอบต่อหน่วยงานกำกับ ดูแลโดยเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบและนโยบายการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของธนาคาร
  6. ติดต่อและสื่อสารกับผู้ถือหุ้นทั่วไป ให้ได้รับทราบสิทธิต่างๆ ของผู้ถือหุ้น และข่าวสารของธนาคาร
  7. ให้ข่าวสารและข้อมูลแก่กรรมการ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของธนาคาร เพื่อประกอบการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ
  8. จัดให้มีการให้คำแนะนำแก่กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่
  9. เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานด้านธุรการของคณะกรรมการ อาทิ จัดการให้กรรมการได้รับหนังสือรับผิดรับใช้ และการประกันภัยความรับผิดชอบของกรรมการ