ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ลูกจ๋า เมื่อไหร่จะมา พ่อแม่รออยู่นะ (1)
ในสภาพสังคมปัจจุบันที่หนุ่มสาวแต่งงานกันช้าลง แล้วยังต้องทำงานเก็บหอมรอมริบผ่อนรถผ่อนบ้านสร้างฐานะ ทำให้ความคิดถึงการมีลูกเป็นโซ่ทองคล้องใจยังต้องรอไปก่อน จนบ้างครั้งเมื่อถึงเวลาที่ “การเงิน” พร้อม แต่ “ร่างกาย” กลับไม่พร้อมเสียแล้ว เรื่องที่ง่ายในวัยหนุ่มสาว พออายุขึ้นเลขสามสิบกลางๆ กลับกลายเป็นเรื่องยากเสียแล้ว หากธรรมชาติไม่เป็นใจ วีธีทางวิทยาศาสตร์ก็ต้องมา นั่นคือการพบแพทย์สูตินรีเวชซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องการรักษาผู้มีบุตรยาก ที่จะช่วยให้ผู้ที่อยากเป็นคุณพ่อคุณแม่มีโอกาสได้สมหวัง
อะไรคือภาวะผู้มีบุตรยาก
ถ้าตามนิยามทางการแพทย์ “ภาวะผู้มีบุตรยาก” หมายถึงการที่คู่สมรสไม่สามารถมีการตั้งครรภ์ได้ โดยที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกันอย่างสม่ำเสมอและไม่ได้คุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือระยะเวลา 6 เดือนในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป โดยการมีบุตรยากมีสาเหตุได้จากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ในฝ่ายหญิงมักเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มดลูก รังไข่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในฝ่ายชายเป็นปัญหาเกี่ยวกับน้ำเชื้ออสุจิ อย่างไรก็ดี ในสภาวะสังคมปัจจุบันความเครียดจากชีวิตประจำวัน รวมถึงความจำเป็นทางหน้าที่การงานที่ทำให้สามีภรรยาอาศัยอยู่กันคนละที่ ก็ส่งผลต่อการมีบุตรยากด้วยเช่นกัน ดังนั้น การไปปรึกษาแพทย์จะช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้
ก้าวแรกสู่การเป็นพ่อแม่
เมื่อตัดสินใจจะไปพบแพทย์แล้ว ก็มาศึกษาข้อมูลเตรียมความพร้อมเบื้องต้น สิ่งแรกที่ต้องทราบคือ คู่สามีภรรยาที่จะเข้ารับการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ต้องเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย นั่นคือต้องมีใบทะเบียนสมรสไปแสดงต่อสถานพยาบาล
จากนั้น จะเป็นขั้นตอนการเจาะเลือดตรวจโรคติดต่อทางพันธุกรรมในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และตรวจร่างกายในเบื้องต้น โดยฝ่ายชาย จะตรวจความสมบูรณ์ของน้ำเชื้ออสุจิ ส่วนฝ่ายหญิงจะเป็นการอัลตราซาวด์ดูมดลูก รังไข่ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งการตรวจร่างกายขั้นตอนนี้จะนัดตรวจในวันที่ 2 ของการมีรอบเดือน
กว่าจะได้ลูกน้อยมาชื่นชม ต้องผ่านอะไรบ้าง
การรักษาส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการทำ IUI ย่อมาจาก Intra – uterine insemination คือการฉีดน้ำเชื้อฝ่ายชายเข้าสู่โพรงมดลูกฝ่ายหญิง โดยหมอจะคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรง อัลตราซาวด์ดูช่วงเวลาที่ไข่ตก และฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกในช่วงที่ไข่ของฝ่ายหญิงกำลังตก ซึ่งตัวอสุจิว่ายไปที่ท่อนำไข่ เพิ่มโอกาสการผสมตามธรรมชาติเองได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนการทำ IUI ไม่ยุ่งยาก เริ่มต้นที่ฝ่ายหญิงกินยากระตุ้นไข่ในวันที่ 3 ของการมีรอบเดือน จากนั้นอัลตราซาวด์ดูขนาดไข่ เมื่อไข่ได้ขนาดพอเหมาะ หมอจะฉีดยากระตุ้นให้มีการตกไข่ และเมื่อไข่ตกในอีกประมาณ 36-40 ชั่วโมงต่อมา ก็จะถึงการทำหัตถการฉีดเชื้อ ซึ่งในวันทำหัตถการ จะมีเก็บเชื้ออสุจิจากฝ่ายชายให้ทางแล็บคัดกรองเชื้อที่แข็งแรง แล้วหมอก็จะฉีดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูก เป็นอันจบขั้นตอน หลังจากนั้นก็รอประมาณ 14 วัน หากรอบเดือนขาดไป ก็รีบไปหาที่ตรวจมาเทสต์การตั้งครรภ์ รอลุ้นว่าจะขึ้นสองขีดหรือไม่?
วิธี IUI เป็นวิธีที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ดี การช่วยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการ IUI มีโอกาสประสบผลสำเร็จ 10-30% และมีโอกาสได้ลูกแฝดถ้ามีไข่ตกมากกว่าหนึ่งใบ แต่ถ้าใครที่รักษาด้วยวิธีนี้แล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ ก็ยังโอกาสที่จะสมหวังด้วยการรักษาด้วยวิธีอื่นที่จะกล่าวถึงในตอนต่อไป
อ้างอิง :
http://www.med.cmu.ac.th
https://www.honestdocs.co/
หมายเหตุ : เนื้อหาบทความเป็นข้อมูลทางการแพทย์เบื้องต้นโดยทั่วไปเท่านั้น