ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
How to ปิดการขายขั้นเทพ ทำยอดตีตลาด B2B
เมื่อได้ Lead มาจะปิดการชายอย่างไร คนที่ทัก Inbox กับคนที่ซื้อจริงอาจะเป็นคนละเรื่องกัน คุณกฤตนัน วิโรจน์สายลี (เล็ก) เจ้าของเพจ Sales 101 เจาะลึก Turn Lead into Sales เทคนิคการสร้างยอดขาย หลักการใช้คำพูดสื่อสารเพื่อปิดการขายที่ดี ติดต่อกับ Lead ที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ
ปิดการขายด้วย Solution Selling
ภาพรวมตลาด B2B ปัจจุบันเป็นตลาดของผู้บริโภคที่ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าบริการได้ที่ปลายนิ้ว โดยเฉพาะสินค้าที่มีระดับความเป็น Commodity สูง Switching Cost ต่ำ ลูกค้าสามารถเปลี่ยนผู้จำหน่ายสินค้าและบริการได้ง่าย ดังนั้น คุณกฤตนันมองว่าทางรอดของธุรกิจ B2B ในระยะยาวอย่างยั่งยืนคือการขาย Solution (Solution Selling) ตัวอย่าง ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ออฟฟิศ ซึ่งถ้าขายตัวเฟอร์นิเจอร์อย่างเดียว ก็มีสินค้าลักษณะเดียวกันมากมาย และไม่สามารถแข่งกับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ แต่ถ้าเปลี่ยนวิธีจากขายเฟอร์นิเจอร์มาขายแบบ Solution Selling แก้ปัญหา Pain Point ที่องค์กรมักต้องเจอ เช่นความวุ่นวาย มีขั้นตอนมากเกินไป ความยุ่งยากในการประสานงาน ความล่าช้า ดำเนินการช้าต้องรอนาน ด้วยการขาย Office Furniture Solution ขายความสบายใจ ง่าย รวดเร็ว ไม่ใช่ตัวเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นสินค้า Commodity
ในมุมมองของคุณกฤตนันการขาย Solution Selling เป็นกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กที่มีความยืดหยุ่นสูงจะนำไปใช้ต่อกรกับธุรกิจรายใหญ่ได้
3 หลักการและลำดับการนำเสนอ Solution Selling
1) หาปัญหาของลูกค้าให้เจอ หรือสิ่งที่ทำให้ลูกค้าดีขึ้น : การขายที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่การนำเสนอข้อดี คุณสมบัติของสินค้า (Feature) แต่เป็นการบอกว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาของลูกค้า ทำให้ชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร คุณกฤตนันแนะนำให้เริ่มต้นจาก Pain Point ก่อน ซึ่งมี 2 แบบคือ พุ่งเป้าไปที่ลูกค้า 100% หา Pain Point ของลูกค้าที่พบทั่วไปในอุตสาหกรรม อีกแบบคือการถามเจาะหา Pain Point ของลูกค้าแต่ละราย
2) นำเสนอวิธีแก้ปัญหา หรือทำให้ชีวิตดีขึ้น (Benefit) : สิ่งนี้แตกต่างจากการบอกว่าสินค้าดีอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง (Feature) โดยการนำเสนอ Benefit เป็นเทคนิคที่ยอดนักขายระดับโลกที่ประสบความสำเร็จใช้ โดยจากผลสำรวจพบว่ายอดนักขายจะใช้เวลาพูดเรื่อง Feature น้อยกว่านักขายทั่วไปเกือบ 40% โดยใช้เวลาพูดเรื่อง Benefit มากกว่า การพูดเรื่อง Feature มากๆ จะทำให้ผู้นำเสนอเปรียบเสมือนโบรชัวร์พูดได้ สร้างความรำคาญให้ผู้ฟัง เพราะเรื่องเหล่านี้สามารถหาอ่านเองได้
นอกเหนือจาก Benefit จำเป็นต้องมีจุดต่าง ที่เหนือกว่าคู่แข่งรายอื่น หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป เราต้องไปแข่งเรื่องราคา ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจแพ้ในขั้นตอนจัดซื้อ ธุรกิจจำเป็นต้องมีทั้ง Benefit และจุดต่าง 2 อย่างนี้ต้องมาด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าบริการของเรา มีโอกาสปิดการขายสูงขึ้น และธุรกิจเราจะหลุดพ้นจากความเป็น Commodity
3) การขายความไว้ใจ : หลังจากที่นำเสนอข้อ 2 ไปแล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่จะเกิดความสงสัยว่าเราจะสามารถทำอย่างที่เสนอมาได้หรือไม่ คุณกฤตนันแนะนำทางแก้ในเชิงจิตวิทยาว่า ต้องรีบชิงขายความไว้ใจ ก่อนลูกค้าจะเกิดข้อสงสัย เพราะจะมีผลอย่างมากกับต่อความไว้ใจและตัดสินใจของลูกค้า การขายความไว้ใจสามารถทำได้ 7 วิธี ได้แก่
· Reference : ไม่ใช่แค่การใส่โลโก้ลูกค้า แต่ต้องเฟ้นหาลูกค้าที่มีภูมิหลังใกล้เคียงกับลูกค้าที่เรากำลังเสนอการขาย และพยายามเล่าเรื่องให้เห็นภาพ Before & After ที่ชัดเจน
· ดูของจริง : นำสินค้าตัวอย่างไปให้ดู พาไปดูไซต์งาน นำตัวอย่างเคสจริงให้ดู
· Paperwork : นำคำพูดมาสรุปเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้น
· Guarantee : การรับประกัน คืนเงิน
· Certificate & Lab Test : การรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่เป็นกลาง
· Production Line : พาเยี่ยมชมโรงงาน สร้างความมั่นใจ ให้ลูกค้าตรวจสอบได้
· การนำเสนอ ออกตัวยอมรับจุดอ่อน : เป็นทริคทางจิตวิทยาให้ลูกค้ารู้สึกว่าคนนำเสนอมีความจริงใจ แต่ต้องใช้ข้อเสียที่ไม่ได้มีผลกระทบมากเกินไปจนทำให้ลูกค้าปฏิเสธ
ทำไมลูกค้าไม่ซื้อเรา
หนึ่งในสาเหตุที่ลูกค้าไม่ซื้อสินค้าบริการจากเรา เกิดจากการติดตามผล (Follow Up) โดยจากที่ Mike Brook เก็บสถิติในฝั่งในพนักงานขายพบว่า 48% เสนอสินค้าบริการไปแล้วแต่ไม่เคยติดตาม 25% ตามครั้งเดียวเลิก 12% ตาม 2 ครั้งแล้วเลิก 10% ตามเกิน 2 รอบ แต่สถิติในฝั่งของลูกค้า พบว่าลูกค้า 2% รับเงื่อนไขแล้วซื้อเลย 3% ซื้อหลังจากถูกตาม 1 ครั้ง 5% ซื้อหลังจากถูกตาม 2 ครั้ง 10% ซื้อหลังจากถูกตาม 3 ครั้ง กล่าวคือ 80% ของลูกค้าจะซื้อหลังจากถูกตามเกิน 3 ครั้งขึ้นไป
คุณกฤตนันสรุปว่านักขายไม่ค่อยตามลูกค้า ส่วนลูกค้าถ้าไม่ตามก็ไม่ตัดสินใจซื้อ หัวใจหลักที่ลูกค้าไม่ซื้อ คือเราไม่ติดตามลูกค้า อย่างไรก็ดีก็มีเส้นบางๆ ระหว่างการติดตามในระดับที่พอดี กับการตามจิกจนลูกค้ารู้สึกไม่ดี การติดตามจึงไม่ใช่เรื่องของปริมาณอย่างเดียว แต่การตามที่มีคุณภาพด้วย
ตามลูกค้าอย่างไรให้ปิดการขายได้
สินทรัพย์สำคัญที่สุดของการขาย ไม่ใช่ยอดขายอย่างเดียว แต่เป็นการได้มาซึ่งฐานลูกค้าที่จงรักภักดีพร้อมกลับมาซื้อซ้ำตลอดเวลา และบอกต่อให้คนอื่นมาซื้อกับเรา คุณกฤตนันสรุปหัวใจหลักในการ Follow-up การขายที่ยังรักษาความรู้สึกดีๆ ของลูกค้า ด้วย 2 หลักการ ได้แก่
· Next Step & When : ทุกครั้งที่ติดตามลูกค้า ต้องให้ลูกค้ารู้ก่อนจะแยกย้ายว่าจะมีการติดตามเกิดขึ้น เช่นก่อนวางสาย ก่อนออกจากออฟฟิศลูกค้า เพราะตามหลักจิตวิทยา ถ้าลูกค้ารู้ตัวว่าจะมีการติดตาม ลูกค้าจะรู้สึก Welcome แต่ถ้าไม่ได้ทำให้ลูกค้ารู้ตัวล่วงหน้าแล้วโทรตาม ลูกค้าจะรู้สึกว่าถูกตามจิก
· Next Step = Customer Benefit: ลูกค้าจะต้องได้รับ Benefit จากการติดตามจากเรา เช่น การอำนวยความสะดวกลูกค้า ซึ่งจะทำให้โอกาสปิดการขายสูงขึ้น โดยเฉพาะในลูกค้ารายที่มี Potential
คุณกฤตนัน สรุปว่าการนำเสนอกับลูกค้าให้เริ่มจาก 3 หลักการ Solution Selling : หาปัญหาของลูกค้าให้พบ นำเสนอทางแก้ สร้างความไว้ใจ และต้องมีการติดตาม เพราะในรูปแบบธุรกิจ B2B การตัดสินใจซื้อไม่ได้เกิดจากการคุยเพียงครั้งเดียว การ Follow Up ติดตามผลจึงสำคัญ และผู้ประกอบการต้องกลับมาทบทวนว่า “ที่ผ่านมา ธุรกิจเราปิดการขายไม่ได้ เป็นเพราะสินค้าเราแพง หรือเพราะเรายังไม่ทำในสิ่งที่กล่าวมา?”
ที่มา : สัมมนาออนไลน์ โครงการ SCB IEP รุ่นที่ 17 B2B Digital Commerce : Turn Lead into Sales วันที่ 26 พฤษภาคม 2565