การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
สินทรัพย์ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยไม่สูญเสียมูลค่ามาก สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง หรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่ เงินฝากธนาคาร ก็จะมีทั้งแบบออมทรัพย์ กระแสรายวัน ฝากประจำ กองทุนรวม สินทรัพย์ทางการเงินเหล่านี้บางชนิดสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ทุกวัน เป็นต้น ส่วนสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ คือ สินทรัพย์ที่ต้องใช้เวลานานในการขาย หรือเปลี่ยนให้เป็นเงินสด อย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์ หรือ สิ่งของสะสมบางอย่าง ซึ่งจะต้องใช้เวลาซักพักในการขาย
ความต้องการสภาพคล่องดังกล่าวของบุคคลจะแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้เงินสดซึ่งมักอยู่กับอายุ สถานภาพ หน้าที่การงาน ภาระทางการเงิน วิถีชีวิต สุขภาพ เป็นต้น
ในการวางแผนทางการเงิน เราต้องประเมินสภาพคล่องที่ต้องการให้พอดีจะได้วางแผนการออม และการลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ของสินทรัพย์ด้วย เพื่อไม่ให้ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง โดยความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ก็คือ ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถขายสินทรัพย์ได้ทันทีเมื่อต้องการเงินสด หรืออาจจะต้องขาดทุนหากต้องการเปลี่ยนเป็นเงินสด
ถ้าหากเปรียบเทียบสภาพคล่องกับหุ้น ก็จะพบว่า หุ้นบางตัวมีการซื้อขายกันมาก มีมูลค่าซื้อขายกันหลายร้อยล้านบาทต่อวัน หรืออาจจะถึงพันล้านบาท แต่หุ้นบางตัวอาจจะซื้อขายกันเพียงแค่หลักพัน หรือหลักหมื่นบาทต่อวันเท่านั้น เพราะเฉพาะนั้น ก่อนเข้าลงทุนควรพิจารณาด้านสภาพคล่องด้วยทุกครั้ง หากมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน และเราจะต้องขายหุ้นออกมา บางทีอาจจะไม่สามารถทำได้ในวันเดียว เป็นต้น