เมืองที่น่าอยู่ในอุดมคติหลายคน อาจจะคิดว่าต้องวัดกันที่ความสูงของตึกหรืองานสถาปัตยกรรมไฮโซ แต่นั่นไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเอาเข้าจริงเมืองที่น่าอยู่คือเมืองที่สร้างไว้รองรับความหลากหลายของผู้คนในสังคมเมืองนั้น ๆ ต่างหาก กรุงเทพมหานครก็เป็นเช่นนั้น และหนึ่งในย่านที่จะกลายเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของกรุงเทพฯ ในอนาคต มีชื่อ “บางกะปิ” รวมอยู่ด้วย โดยย่านนี้เป็นทั้งแหล่งชุมชน สถานศึกษา และห้างสรรพสินค้าน้อยใหญ่หลายแห่ง หนึ่งในนั้น คือ N Mark Plaza ที่เติบโตมาจากธุรกิจชุดนักเรียนน้อมจิตต์ ภายใต้การนำของลูกชายคนโต อนันต์ จิตรมีศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้อมจิตต์ อินคอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ที่ตอกเสาเข็มมาตั้งแต่ยุคแรกๆ ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ย่านบางกะปิยังไม่เจริญเท่าปัจจุบัน ที่กำลังจะกลายเป็นจุดตัดของรถไฟฟ้าสองสายคือสายสีเหลืองและสีส้ม แน่นอนความสำเร็จในวันนี้ ไม่ได้มาง่ายๆ เพราะ N Mark ผ่านวิกฤตมาแล้วหลายรอบจนนับไม่ถ้วน แต่ทุกครั้งก็ผ่านมาได้ด้วยดี เพราะมีพันธมิตรที่คอยสนับสนุนในทุก ๆ วัน คอย #เคียงข้างเพื่อแนะนำและช่วยเหลือ จนถึงวันนี้และตลอดไป

 

จากชุดนักเรียนสู่ห้างสรรพสินค้าขนาดเล็ก

“ธุรกิจที่บ้านจริง ๆ สมัยก่อนอยู่ที่บางกระบือ เป็นย่านการค้าสำคัญ คุณพ่อคุณแม่เปิดร้านชื่อร้านน้อมจิตต์ ยุคแรกขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ต่อมาคุณแม่ได้เพิ่มไลน์ชุดนักเรียนเข้ามา แม้จะเป็นสินค้าที่ปีหนึ่งขายแค่ 2 เดือน แต่ต้องเย็บตุนสินค้าไว้ทั้งปี จุดเด่นของชุดนักเรียนน้อมจิตต์ คือเราทำ size ที่ละเอียด ไม่ได้ทำแค่ S M L แต่เราทำเรื่องความยาวของตัวเสื้อและขนาดเอวด้วย ทำให้สินค้าแต่ละรุ่นจะมี size ที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้าใส่ได้พอดีกับรูปร่าง นั่นเป็นจุดแข็งที่สร้างชื่อให้แบรนด์ของเรามาช้านาน ต่อมาประมาณสักปีพ.ศ. 2522-2523 คุณพ่อไปเจอทำเลใหม่ย่านบางกะปิ ทำเลของแฮปปี้แลนด์  เริ่มจากทำตึก 10 คูหา ให้เป็น Department Store เป็นห้างสรรพสินค้าที่มี Supermarket มีเสื้อผ้าแล้วก็มีชุดนักเรียนขายด้วย คุณพ่อมองว่าย่านนี้มีโรงเรียนเยอะ มีทั้งโรงเรียนปานะพันธุ์, โรงเรียนสตรีวิทย์ 2, โรงเรียนบดินทรเดชา, โรงเรียนบางกะปิ ฯลฯ และไม่มีคู่แข่ง เพราะตอนอยู่ที่บางกระบือ คู่แข่งของเราอยู่ที่บางลำพู พอมาอยู่ย่านบางกะปิ ไม่มีคู่แข่งเลย ที่สำคัญ ยุคนั้นห้างสรรพสินค้าไม่มีเท่าปัจจุบัน จะเรียกว่าเราเป็นที่แรก ๆ ก็ได้ สมัยนั้นห้างพาต้า ยังไม่ตั้ง เซ็นทรัลลาดพร้าว เดอะมอลล์รามกับบางกะปิ ก็ยังไม่มา”

ย่านการค้าเจริญขึ้น คู่แข่งและอุปสรรคมากมาย

ย่านการค้าเจริญขึ้น คู่แข่งและอุปสรรคมากมาย

“สิ่งที่ยากที่สุด ณ ตอนนั้นคือการบริหารจัดการ ผมจำได้ป๋าผมเปิดขายพร้อมกัน 3 ชั้น ชั้นล่าง ชั้นลอย และชั้น 2 จะมีปัญหามากในเรื่องการบริหาร รวมทั้งการจัดการพนักงานด้วย ทำให้แม่ผมมาเร่งว่าเมื่อไรผมจะเรียนจบจะได้มาช่วยงาน ผมจึงไม่มีโอกาสไปทำงานหาประสบการณ์จากที่อื่นเลย เรียนจบมาก็ต้องมาช่วยงานที่บ้านทันที พอระบบเริ่มลงตัว คู่แข่งก็มาเลยครับ แม็คโคร เปิดตอนปีพ.ศ. 2533 แล้วก็มีอิมพีเรียล บางกะปิ แต่ที่หนักสุดคือตอนที่เดอะมอลล์ มาเปิดประมาณปีพ.ศ. 2536-2537 ประจวบเหมาะตอนช่วงนั้นที่ตรงแฮปปี้แลนด์ ด้านหน้าเราประมาณหนึ่งไร่ครึ่ง เขาตัดสินใจขาย บอกว่าต้องซื้อ ถ้าไม่ซื้อเขาจะไม่ให้จอดรถ ป๋าผมตัดสินใจซื้อ พอซื้อมาเสร็จ เราก็เริ่มวางแผนว่า เราจะสร้างอาคารห้างอย่างไร แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งให้ร้านค้าเช่า อีกส่วนหนึ่งเราขายของเอง แต่ก็มาเจอปัญหาหนักเรื่องสร้างสะพานข้ามแยกบางกะปิ แล้วก็มาเจอเดอะมอลล์เปิดฝั่งตรงข้ามอีก เจอสองอย่างพร้อมกัน ร้านค้าที่เคยบอกว่าเดี๋ยวจะเปิดกับเราก็ยกเลิกสัญญากับเรา

ตอนนั้นคุณพ่อผมเริ่มให้ผมรับมอบอำนาจเซ็นเช็กจ่ายและดูแลบัญชีแล้ว ขณะที่ผมรับงานมา ยอมรับว่าประสบการณ์ยังมีน้อย มีแต่ความคิด มีแต่ creative แต่ยังไม่มีประสบการณ์ตรง พอเจอประสบปัญหาหนักถาโถม มึนเลยครับ แต่จำได้ว่าเราได้ไฟแนนซ์จากไทยพาณิชย์ เมื่อปีพ.ศ. 2535 ปล่อยเงินกู้ก้อนแรกประมาณ 65 ล้านบาท มาสร้างอาคารด้านหน้า ที่เป็นห้างทุกวันนี้ครับ เรียนตามตรงช่วงแรกเราขายไม่ดีเลย เงินทุนหมุนเวียนไม่ได้ ก็ติดหนี้กับธนาคารไทยพาณิชย์ ไม่สามารถมาจ่ายคืนเงินต้นได้ แต่แบงก์ไทยพาณิชย์ก็เป็นแบงก์ที่ดีมาก แบงก์ก็ยังอุ้มชู ประคองเรามาเรื่อย ๆ ผมมีความยากลำบากอยู่ประมาณสัก 4-5 ปี ที่เราปรับตัวไม่ได้ พอผมเริ่มตั้งตัวได้ ก็มาเจอต้มยำกุ้งในปีพ.ศ. 2540 อีก ตอนนั้นผมตัดสินใจ ลุยกันอีกตั้งนึง เป็นไงเป็นกัน ผมรื้อใหม่ รื้อห้างที่เคยทำแบบเดิมใหม่ จัดสรรพื้นที่ใหม่ ตัดล็อกให้คนมาเช่าขายของ ซึ่งเป็นช่วงคนตกงานพอดี ก็ออกมาค้าขายกัน ทำให้มีร้านเล็กร้านน้อยเกิดขึ้นเต็มไปหมด เราก็เปิดทางเดินใหม่ เชื่อมกับเดอะมอลล์ จริง ๆ ทางครอบครัวท้วงติงผมนะว่าจะมีปัญหา ลูกค้าจะไปฝั่งเดอะมอลล์หมด แต่ผมกลับคิดว่าเราควรเปิดทางให้ห้างเราเป็นทางผ่านเชื่อมหลายๆ จุด เพื่อรับ-ส่งคนไปมา เหมือนเป็นสะพานเชื่อมย่านการค้าเข้าหากัน กลายเป็นว่าเราเริ่มมีปริมาณลูกค้าในอาคารจำนวนมากขึ้น ทำให้ร้านค้าขายดีไปด้วย”

จากห้างเล็ก ๆ สู่แลนด์บริดจ์ของย่านบางกะปิ

จากห้างเล็ก ๆ สู่แลนด์บริดจ์ของย่านบางกะปิ

“จริง ๆ ช่วงปีพ.ศ. 2559 เรามีแผนขยายสาขาไปที่เปิดที่บางใหญ่ เนื่องจากเราได้พื้นที่มา 10 ไร่ เป็นสัญญาเช่าระยะยาว อยู่ตรงสถานีรถไฟฟ้าพอดีเลย ตรงข้ามกับเซ็นทรัลเวสต์เกต แต่ขณะที่เราทำโปรเจกต์ ทำรายละเอียดอยู่ ทางเจ้าของศูนย์การค้าแฮปปี้แลนด์ มีตลาดมีห้างอยู่ด้านหลัง ที่ชื่อ ห้างแฮปปี้แลนด์ไอทีพลาซ่า อยู่ด้านที่ตั้งของเราอีกทีหนึ่ง เขาอยากจะขายธุรกิจ อยากจะขายหมดเลย ทั้งที่ดิน และตึก โปรเจกต์ตรงบางใหญ่จึงล้มไป แล้วหันมาพัฒนาพื้นที่ตรงนี้แทน ก็ได้รับไฟแนนซ์จากไทยพาณิชย์อีกเหมือนเดิมครับ เราทยอยปรับพื้นที่ จนกระทั่งปีพ.ศ. 2563 ก็มาเจอโควิดพอดี เราลำบากมากนะ เรียกว่ารายได้ลดลงไปประมาณสัก 30-40% โดยเฉลี่ย ทางร้านค้าก็ทยอยปิด เราพยายามปรับเปลี่ยนกิจการหลายรูปแบบ บางร้านอยู่ไม่ได้ ต้องหาร้านใหม่มาเพิ่ม พยายามปรับตลอดเวลา อยู่นิ่งไม่ได้เลย แต่ก็ได้ไทยพาณิชย์นี่แหละที่คอยช่วย ทีมงานเขาเป็นทีมงานที่เก็บข้อมูลทำงานต่อเนื่อง เป็นแบงก์ที่พยายามเก็บข้อมูลของลูกค้า เขาเก็บประวัติทั้งหมด มีประวัติของบริษัทเรา แล้วก็ช่วยในทุก ๆ กรณี  สนับสนุนให้ธุรกิจเราไปต่อได้ แล้วก็มี loan สำหรับการรีโนเวทปรับปรุงพื้นที่ เพราะการทำศูนย์การค้าต้องปรับปรุงตลอดเวลา เพื่อให้ทันสมัยขึ้นเรื่อย ๆ” 

30 กว่าปีที่ร่วมฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ

30 กว่าปีที่ร่วมฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ

“ผมไม่อยากโฟกัสแค่ปัญหาโควิดนะ เพราะตลอด 30 ปีที่ผ่าน การดูแลของ SCB  ดีจริง ๆ  ผมยอมรับเลย ขออะไรไป อะไรที่ SCB ช่วยได้ เขามาช่วยทันที ปัญหาที่หนักมาก ๆ สำหรับผม คือที่ด้านหลังศูนย์การค้าเดิมเป็นตลาดสดแฮปปี้แลนด์ เป็นที่ 10 กว่าไร่ มีที่จอดรถอยู่ประมาณสัก 300-400 คัน แล้วจู่ ๆ เมื่อประมาณสัก 2-3 ปี ที่แล้ว มีบริษัทอสังหาริมทรัพย์มาติดต่อซื้อที่กับทางเจ้าของศูนย์การค้า เขาตกลงอะไรกันเรียบร้อยแล้ว แล้วทางเจ้าของศูนย์การค้าก็เลยรื้อตลาดสดทิ้งหมดเลย ทุกวันนี้กลายเป็นป่าหญ้าอยู่ครับ และโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่คิดว่าจะขึ้นก็ไม่ขึ้น แล้วทางผมก็ประสบปัญหามาก อยู่ ๆ ตลาดซึ่งอยู่ด้านหลัง วันๆ หนึ่งมีคนเดินตั้งหลายพันคน มันเป็นทราฟิกที่เวิร์กมาก แล้วอยู่ ๆ หายไป ด้านหลังหาย ด้านหน้าเจอก่อสร้างรถไฟสายสีเหลืองอีก แล้วพอสายสีเหลืองที่กำลังทำอยู่มันกระทบกับสะพานข้ามแยกบางกะปิด้วย โครงสร้างมีปัญหากัน ต้องรื้อหมด รื้อทั้งสะพาน และสร้างทั้งรถไฟฟ้า ด้านหน้าก็รถติดมาก จนลูกค้าที่จะมาบางกะปิหลาย ๆ คนนี่ท้อเลย บอกไม่มาแล้ว รถมันติดมาก แล้วก็มาเจอโควิดอีก เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด แต่คน ๆ หนึ่งที่ไม่เคยทิ้งเรา คือ SCB เขาคอยสนับสนุนเรา ไม่ว่าเราจะอุปสรรคปัญหาใด ๆ ในวันที่ดีและร้าย นี่คือความประทับใจที่ผมมี”

ร่วมกันสร้างเมืองใหม่เพื่ออนาคต

ร่วมกันสร้างเมืองใหม่เพื่ออนาคต

“แต่วิกฤตทำให้เราแกร่งนะ เราไม่ได้แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ตอนนี้เรามองไปถึงอนาคตแล้ว ช่วงโควิดที่ผ่านมาเราถือโอกาสรีโนเวทแฮปปี้แลนด์ไอทีใหม่หมด ด้านหลังเพิ่มพื้นที่ลานจอด ยุบตัวห้างเข้ามาเพื่อให้ลูกค้าจอดให้ได้มากขึ้น ทำที่จอดรถชั้นบนเพิ่ม โดยใช้ลิฟท์ แล้วก็ปรับเลย์เอาต์ในห้างใหม่หมด ปรับภาพใหม่ แต่ทำแล้วประสบความสำเร็จมาก แฮปปี้แลนด์กลายเป็นหนึ่งที่เป็นห้างหนึ่งที่ทราฟิกดี ทุกวันนี้คนมากกว่าตอนที่เราเข้าไปเทคโอเวอร์ใหม่ ๆ ประมาณ 3 เท่า จนบรรดายูทูปเบอร์ที่มารีวิวแปลกใจมากว่าห้างนี่มันซ่อนอยู่ด้านหลัง ทำไมคนมันเยอะจัง ส่วนด้านหน้าเรารีโนเวทน้อมจิตต์ ที่เราใช้คำว่า N Mark Plaza เริ่มรีโนเวทแล้ว ปรับเลย์เอาท์ใหม่ ตกแต่งใหม่หมด จะเสร็จประมาณสักปลายปี แต่เราจะไม่หยุดแค่นี้ ตอนนี้เรามองว่าย่านบางกะปิเหมือนชุมชนใหญ่ เราจะไม่ทะเลาะกับคู่แข่ง แต่เรากำลังจับมือกันเพื่อสร้าง ecosystem ให้เมืองมันสวย เราเชื่อว่าเมืองสวย คนก็อยากมาเดิน มาเที่ยว โดยโครงการนี้เริ่มจากทางคณะสิ่งแวดล้อม ของนิด้า เขามองว่า บางกะปิน่าจะได้รับการพัฒนาในจังหวะที่รถไฟฟ้าเข้ามาทั้ง 2 สาย สายสีส้มกับสายสีเหลือง ทางคณะเขาอยากหาแนวร่วมที่เป็นภาคเอกชนมาช่วย ผมจึงได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนในการร่วมพัฒนารูปแบบของบางกะปิ สมาร์ต ซิตี้ (Bangkapi Smart City) โดยจะทำ Sky Hall ขนาดใหญ่ถึง 3 จุด คือมีตรงสามแยกบางกะปิ, ตรงที่ข้ามข้ามคลองแสนแสบ และตรงสี่แยกบางกะปิ จะทำเป็นฮอลล์ใหญ่ ๆ 3 จุด เชื่อมด้วยสกายวอล์กที่ยาวประมาณ 1.5 กม. แล้วจะจัดให้มีรถกอล์ฟแบบอัตโนมัติ ที่ไม่ต้องมีคนขับ คอยวิ่งรับ-ส่งคน ผมคิดว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้จะทำให้ย่านบางกะปิแข็งแกร่งมาก ๆ จะมีปริมาณคนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3 เท่าต่อวัน ผมมั่นใจ”

แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

  • โซลูชันสำหรับธุรกิจขายปลีก-ขายส่ง

    โซลูชันสำหรับเพิ่มโอกาสทางด้านธุรกิจขายปลีก-ขายส่ง

    เพิ่มเติม
  • สินเชื่อหมุนเวียนเพื่อชำระตรงแก่ Supplier

    หมดกังวลเรื่องการบริหารสภาพคล่อง ด้วยวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อชำระเงินตรงไปยังคู่ค้า

    เพิ่มเติม
  • อยากให้ธุรกิจคุณไปได้ไกลกว่าเดิมไหม

    เราพร้อมนำเสนอโซลูชัน
    ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ