การเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืน มักเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ค่อย ๆ ขยายและพัฒนาตัวเองขึ้นอย่างมีระบบ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจขนมไทย บริษัท ขนมไทยเก้าพี่น้อง จำกัด ที่เริ่มจากร้านค้าแผงลอยเล็ก ๆ จนกลายเป็นกิจการที่แข็งแกร่งที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น ด้วยแนวทาง Environment, Social, and Governance (ESG) ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล

จุดเริ่มต้นจากร้านค้าแผงลอยที่เติบโตอย่างเป็นระบบ

   “ธุรกิจดิฉัน เริ่มต้นมา 40 กว่าปีแล้วค่ะ ก็ตอนนี้เป็นธุรกิจในช่วงการส่งต่อให้ลูก ๆ เดิมทีธุรกิจดำเนินจัดเป็นครอบครัว แล้วก็เจริญเติบโตมาแบบขั้นบันได เก้าพี่น้องเป็นบริษัทที่ผลิตขนมไทย ณ ทุกวันนี้ที่ผลิตอยู่มีประมาณเกือบ 100 ชนิด แต่ละชนิดถูกแบ่งแต่ละโซน เป็นโซนขนม เครื่องทอง เครื่องไข่ ลูกชุบ ขนมชั้น ขนมน้ำ ข้าวต้มมัด ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมต้ม ลูกค้าเรา ณ ตอนนี้ เป็นลูกค้าโรงแรมกับสายการบิน แล้วก็การส่งออก ส่วนลูกค้าหน้าร้านเราก็แบ่งจัดเป็นสาขา ตอนนี้เรามีทั้งหมด 8 สาขาแล้ว”

   “ธุรกิจดิฉัน เริ่มต้นจากเป็นร้านค้า เป็นแผงลอย ขายให้กับลูกค้าทั่ว ๆ ไป ณ วันหนึ่ง มีโรงแรมมาติดต่อ เรามองเลยว่า การเติบโตอย่างมีระบบไปพร้อมกับโรงแรม ทำให้เราเติบโตแล้วยั่งยืนได้ เราเป็นออเดอร์ที่ได้รับล่วงหน้า 1 วัน ทำให้เราสามารถวางแผนการผลิตได้ เมื่อเติบโตแล้วเราก็เริ่มมองลูกค้ามากขึ้น ลูกค้าส่งออก ลูกค้าสายการบิน การเติบโตอย่างมีขั้นมีตอน แล้วทำไปพร้อมกับระบบ ทำให้รู้สึกถึงความมั่นใจว่าเราโตไปได้แน่นอน”

คุณภาพวัตถุดิบเป็นจุดแข็งของรากฐานสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

   “จุดแข็งของขนมไทยที่ ณ ทุกวันนี้เราผลิตอยู่เรามองเรื่องวัตถุดิบเป็นสำคัญ วัตถุดิบดี สินค้าออกมาดีแน่นอน วัตถุดิบเราเก็บจากพืชผลทางการเกษตรของเราด้วยที่ปลูก เราคัดเลย เราดูเลย กะทิมีปัญหาไหม จาวมะพร้าวมีปัญหาไหม เราต้องดูเป็นด้วยตั้งแต่วัตถุดิบ ตอนนี้ที่เราปลูกเองทำเอง มีอยู่ประมาณ 10 - 15% เราคิดว่าถ้าเราจะเติบโตทางนี้อย่างยั่งยืน จะมีการขยายพื้นที่ การปลูกกล้วย ปลูกใบเตย อะไรที่เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่เราต้องใช้ และก็มีการช่วยดูในเรื่องความชื้นของแต่ละห้องว่า ขนมแต่ละชนิด ต้องมีความชื้นเท่าไร ความชื้นพวกนี้มันช่วยสามารถควบคุมและshelf life อายุของขนมได้ด้วยค่ะ ตอนนี้ถ้านับจาก เริ่มแรกเลยจนถึงตอนนี้ เติบโตมาเรื่อย ๆ น่าจะ 300 % แล้ว”

ใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ความยั่งยืน

   “เรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินธุรกิจ เราอยู่กับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเป็นอะไรที่เราควรจะรักษามันไว้ ถ้าเราไม่รักษาวันหนึ่งมันก็จะกลับมาทำร้ายตัวเราเอง ตอนนี้ที่เราทำอยู่ เราเริ่มต้นจากภายในเราอย่างที่บอก การที่มาติดโซลาร์เซลล์ในครั้งนี้ เรามองว่า ค่าไฟจากเดิมทีที่เราเป็นโรงงานเล็ก ๆ ที่จ่ายค่าไฟไม่ถึง 200,000 บาทต่อเดือน แต่ตอนนี้ด้วยระบบ ระบบหลาย ๆ อย่าง จากค่าไฟเดือนละ 200,000 บาท ขึ้นมาเป็น 600,000 บาท เริ่มกุมขมับแล้วว่าจะทำอย่างไร เราเริ่มกลับมามองว่าเราจะติดโซลาร์เซลล์”

SCB สนับสนุนแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

   “ดิฉันคิดเลยว่าต้องใช้ทุนตัวเราเอง มูลค่าประมาณ 10 ล้านบาท แล้วถ้าเราใช้เงินเราเราก็อาจจะพอไหว แต่มันก็จะตึง ๆ ในการที่จะมีเงินมาหมุนในธุรกิจ ปรากฏว่าทาง SCB โทรมาว่าจะสนับสนุนเงินอันนี้ทั้งหมดทั้งก้อน เราตกใจว่าเป็นไปได้ด้วยเหรอ ปรากฏว่าเป็นไปจริง ทาง SCB เข้ามาแล้วจะสนับสนุนด้วย ค่าไฟก่อนจะติดโซลาร์เซลล์ ในช่วงมกราคมปีที่แล้ว อยู่ที่ประมาณ 600,000 บาท นิด ๆ แต่ ณ วันนี้ในเดือน มกราคมเหมือนกัน เดือนเดียวกัน เราจ่ายอยู่ที่ 400,000 บาท ไม่ถึง 450,000 บาท คิดต่อปีก็ 2 ล้านกว่า เป็นพลังงานที่เราเห็นเลยว่ามันนสะอาดและประหยัดด้วย”

ส่งต่อความช่วยเหลือ แบ่งปัน และสร้างประโยชน์ให้สังคม

   “จากตรงที่เราเริ่มมีเงินเหลือจากการติดโซลาร์เซลล์ เราก็มองว่าเราน่าจะมีกำลังพอที่จะช่วย อย่างแรก เราต้องช่วยคนภายในเราก่อน เมื่อคนภายในเราแข็งแรง เราก็สามารถออกไปช่วยสังคมภายนอกได้ การช่วยคนภายในนี้ก็คือการให้อยู่ ที่อยู่ที่หอฟรีสำหรับพนักงานที่มีอายุงานครบตามที่เรากำหนด ต่อมาเรื่องพนักงานที่มีความพิการทางร่างกาย เราก็ได้ช่วยให้เขามีงานทำ และอย่างที่สาม ให้ทุนการศึกษาสำหรับลูกพนักงานในนี้ หรือจากตรงนั้นแล้ว เมื่อเราแข็งแรงดีแล้ว คนในเราแข็งแรง เรามองออกไปว่าข้างนอกเราพอช่วยอะไรได้ เรายินดี งานลอยกระทง งานวันเด็ก ขอทุนให้กับทุนการศึกษาภายนอก ถ้ามีเรียกร้องมาเราก็มีช่วยออกไป หรือว่าจะให้ช่วยจัดงานสำหรับวันคนผู้สูงอายุ ของ อบต.เราก็ยินดี”

ก้าวสู่เส้นทาง ESG จากรุ่นสู่รุ่น (Environment, Social and Governance)

   “ESG จริง ๆ แล้วไม่ได้เกิดจากตัวดิฉัน เกิดจากลูกที่มารับช่วงต่อไปมองว่า ถ้าธุรกิจจะยั่งยืนต่อจากรุ่นของเขาเนี่ย ควรจะทำตัว ESG เพื่อที่มันจะยั่งยืนทางธุรกิจ ไม่ว่าจะผลผลิตที่เราได้มา เราควรจะมองว่า เราเองก็ไม่ใช่ผู้ผลิตอย่างเดียว เราคือผู้บริโภคด้วย ดังนั้น เราต้องมองให้เห็นว่า การบริโภคสิ่งที่ดี ๆ ที่เราสามารถช่วยในสังคมได้ ไม่ว่าจะเป็น เศษใบตอง เศษกล้วย ซึ่งเราเอาไปทำปุ๋ย หมักปุ๋ยชีวภาพเอง ตรงนี้ เราช่วยได้ตั้งแต่ต้นน้ำเลย”

สิ่งที่อยากแนะนำสำหรับคนที่ยังไม่เริ่มทำ ESG (Environment, Social and Governance)

   “เรื่องสิ่งแวดล้อม จำเป็นมาก ๆ คนในสังคมจะต้องมองเราอยู่แล้วว่า เราปล่อยก๊าซเสียไหม น้ำเสียไหม อยากจะแนะนำว่าการทำ ESG มันดีจริง ๆ นอกจากเราลดต้นทุนในการใช้พลังงานแล้ว เรายังได้รู้สึกภูมิใจว่า เราปล่อยพลังงานสีขาวออกไปข้างนอก ช่วยกันนะคะ แค่โรงงานเดียวไม่พอ ต้องทุก ๆ โรงงานด้วย”


แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

  • โซลูชันเพื่อธุรกิจรักษ์โลก (SME Green Finance)

    โซลูชันเพื่อธุรกิจรักษ์โลก (SME Green Finance)

    เพิ่มเติม
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจ

    ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจคุณพร้อมสนับสนุนทุกธุรกิจให้ก้าวไกล

    เพิ่มเติม
  • อยากให้ธุรกิจคุณไปได้ไกลกว่าเดิมไหม

    เราพร้อมนำเสนอโซลูชัน
    ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ