รับมืออย่างไร? ในภาวะดอกเบี้ยขาลงเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน เพิ่มสภาพคล่องด้วยผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรมาเพื่อคุณกับ กองทุน SCBDBOND(A) และ SCBFIXEDA


ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ มี 2 ตัวเลขทางเศรษฐกิจสำคัญ ที่เหล่านักลงทุนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ชนิดต่างๆ คือ ตัวเลข “อัตราเงินเฟ้อ หรือ Inflation Rate” และ “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Policy Rate” 

อัตราเงินเฟ้อ... ยิ่งค่าครองชีพของคนในประเทศสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูงขึ้น ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่แย่ลง (เงินจำนวนเท่าเดิมแต่ซื้อของได้น้อยลง) ผู้บริหารประเทศต้องการกดเงินเฟ้อให้ต่ำลงผ่านกลไกต่างๆที่มี บางประเทศถึงกับมีการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ เช่น ต้องต่ำกว่า 2% (2% Inflation Target) คำถามคือ จะทำอย่างไร ? และ ทำโดยใคร ?



คำตอบคือ จะทำผ่านการปรับเพิ่มหรือลด "อัตราดอกเบี้ยนโยบาย"   ซึ่งการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ผลคือ การกู้ยืมชะลอตัว การลงทุนชะลอตัว เพราะดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแพงขึ้น ความต้องการสินค้าและบริการจะน้อยลง การผลิตลดลง ส่งผลต่อเนื่องให้การจ้างงานชะลอตัว ทำให้ผู้ขายสินค้าไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ (เพราะคนมีเงินลดลง) ดังนั้นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย จึงช่วยกดเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินไปได้ ผู้ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายคือ “ธนาคารกลาง” ของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ออกนโยบาย กำกับ และส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เพิ่มหรือลดดอกเบี้ย ทั้งเงินฝากและเงินกู้ รวมถึงส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่ออกใหม่ด้วย โดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นต้น


ช่วงเวลาการกำหนด "อัตราดอกเบี้ยนโยบาย" มี 3 รูปแบบ คือ 1) ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย(Rate Hike) 2) คงอัตราดอกเบี้ย (Rate Pause) และ 3) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย(Rate Cut) แต่ละช่วงเวลาของแต่ละนโยบาย เหมาะกับกลยุทธ์การลงทุนแตกต่างกัน ซึ่งนักลงทุนต้องเตรียมรับมือด้วย 

คำถามใหญ่คือ ในอนาคตอันใกล้นี้ เรากำลังก้าวไปสู่นโยบาย "อัตราดอกเบี้ยนโยบาย" แบบใด ? มุมมองที่ถูกต้องจะกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน หากมองการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายย้อนเวลาไปสองปีที่ผ่านมา เพื่อประเมินอนาคต เราพบว่า Fed ตัดสินใจดังนี้ 

ที่มา : Trading Economics
                                                              ที่มา : Trading Economics
  • ช่วง Rate Hike : Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากถึง 11 ครั้ง ในช่วงเวลา 16 เดือน นับตั้งแต่ มี.ค. 2565  ถึง ก.ค. 2566 จากอัตราดอกเบี้ย 0.25% กระทั่งสูงถึง 5.5% เป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ซึ่งต้องแลกมาด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว 
  • ช่วง Rate Pause : Fed คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงไว้อย่างนั้น เป้าหมายคือต้องการกดอัตราเงินเฟ้อที่สูงให้ลดลงให้ได้ นับจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดที่เดือน ก.ค. 2566 เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงไว้นานถึง 8 เดือน จนถึงปัจจุบัน

SCB EIC มองว่า ในปี 2567 ธนาคารกลางกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักจะเริ่มปรับทิศการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาส 2 โดยประเมินว่า “ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Rate Cut) ในไตรมาส ปี 2567 ตามทิศทางเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอลง ในขณะที่ธนาคารกลางจีน ยังมีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่องผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราส่วนการสำรองของธนาคารพาณิชย์ขั้นต่ำ (RRR)” 

สำหรับประเทศไทย SCB EIC คาดว่าจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ 2 ครั้ง ตั้งแต่การประชุมรอบ มิ.ย. แม้การประชุมในรอบวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% แต่มติไม่เป็นเอกฉ้นท์ติดต่อกันอีกครั้ง จึงเป็นการส่งสัญญาณการเปลี่ยนทิศทางอัตราดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า โดย SCB EIC ประเมินว่า กนง. มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไปเพื่อรักษาสถานะความเป็นกลางของนโยบายการเงิน ให้ไม่กระตุ้นหรือฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจจากระดับศักยภาพที่ประเมินใหม่ (ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/9464/gv49qnez6i/Flash-MPC-Apr-20240410.pdf)

ปี 2567 ไตรมาส 2 เป็นต้นไป จึงเป็นช่วงเวลาที่คนทั่วโลกคาดหวังการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยเอง  เรื่องการลดดอกเบี้ย ก็เป็นประเด็นที่หลายคนรอคอยเช่นกัน 

เมื่อใดก็ตามที่ ธปท. ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย ก็จะส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารต่างๆ ปรับลดลง และดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่ออกใหม่ในประเทศไทยจะมีโอกาสปรับลดลงได้เช่นกันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่มีแนวโน้มลดลง จะเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนต้องเตรียมหาวิธีการรับมือในภาวะดอกเบี้ยขาลง เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนและเพิ่มสภาพคล่อง โดยมองหาการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ตราสารหนี้คุณภาพดี เป็นต้น 



กองทุนตราสารหนี้คุณภาพดี คือหนึ่งในคำตอบครับ 

วันนี้ SCB มีข้อมูลกองทุนตราสารหนี้คุณภาพดี เพื่อเพิ่มทางเลือกการลงทุนในภาวะดอกเบี้ยขาลง แนะนำกระจายการลงทุนในกองทุน SCBDBOND(A) และ SCBFIXEDA เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่มั่นคงและเพิ่มสภาพคล่องให้พอร์ตการลงทุนกันครับ 

  • เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน มีโอกาสได้ผลตอบแทนเพิ่มในจังหวะดอกเบี้ยขาลง ด้วยกองทุนตราสารหนี้คุณภาพดี มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และโอกาสให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าสนใจ
  • เพิ่มสภาพคล่อง ผ่านการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ที่สามารถซื้อขายกองทุนได้ทุกวันทำการ

เพิ่มทางเลือกการลงทุนในกองทุน SCBDBOND(A) และ SCBFIXEDA เปรียบเทียบกับ Term Fund SCBGOV6M7


SCBGOV6M7 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรัฐบาล 6 เดือน 7

  • นโยบายลงทุน : กองทุนจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายทั้งในและต่างประเทศ โดยจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่รัฐบาล และ/หรือกระทรวงการคลัง และ/หรือธนาคารกลางเป็นผู้ออก
  • จุดเด่น : ลงทุนในตราสารทางการเงินและ/หรือ เงินฝากทั้งในและต่างประเทศ โดยมีอายุโครงการประมาณ 6 เดือน
  • สภาพคล่อง : ขายคืนเมื่อครบกำหนดอายุโครงการ
  • ความเสี่ยง : ระดับ 3 ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
  • เปิดขาย : 22 เมษายน 2567 – 26 เมษายน 2567

SCBDBOND(A) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Dynamic Bond(ชนิดสะสมมูลค่า)

  • นโยบายลงทุน : กองทุนจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ภาคเอกชน ตราสารตลาดเงิน เงินฝาก หรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ รวมถึงสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient portfolio management) หรือลดความเสี่ยง (Hedging) เพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้เพิ่มขึ้น และ/หรือลดค่าใช้จ่ายของกองทุน และอาจลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes)
  • จุดเด่น : พอร์ตปัจจุบันลงทุนพันธบัตร 75.48% ลงทุนตราสารหนี้เอกชน 18.41% ตั๋วเงินคลัง 2.36% เงินฝาก 2.94% และอื่น ๆ   โดยมีอายุลงทุนเฉลี่ย (Duration) อยู่ที่ 3.73 ปี
  • สภาพคล่อง : ขายคืน T+2
  • ความเสี่ยง : ระดับ 4 ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ

SCBFIXEDA กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ (ชนิดสะสมมูลค่า)

  • นโยบายลงทุน : กองทุนจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารตลาดเงิน ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคาร ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ภาคเอกชน เงินฝาก หรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ทั้งในและหรือต่างประเทศในสัดส่วนที่เหมาะสมของแต่ละช่วงเวลา
  • จุดเด่น : พอร์ตปัจจุบันลงทุนในตราสารหนี้เอกชน 56.74% พันธบัตร 33.83% เงินฝาก 8.73% ตราสารอนุพันธ์ 0.08% และอื่น ๆ โดยมีอายุลงทุนเฉลี่ย (Duration) อยู่ที่ 0.56 ปี
  • สภาพคล่อง : ขายคืน T+1
  • ความเสี่ยง : ระดับ 4 ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ

หมายเหตุ 

  1. ข้อมูลจาก Investment Product Selection and Partnership ณ วันที่ 19 เม.ย. 67 
  2. ข้อมูลกองทุน SCBDBOND(A) SCBFIXEDA จากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fact Sheet) ณ วันที่ 29 มี.ค 67 และ SCBGOV6M7 ณ วันที่ 18 เม.ย 67 

สนใจลงทุน เริ่มต้นยังไง ?

ใครสนใจ  เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy แล้วทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆนี้ 

  1. เปิดบัญชีกองทุนผ่านแอป SCB Easy 
  2. ผูกบัญชีกองทุนบนแอป SCB Easy
  3. ซื้อกองทุนผ่านแอป SCB Easy

• การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน 

• กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ 

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ พันธบัตรรัฐบาล 6 เดือน 7 (SCBGOV6M7) 

• ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา 6 เดือนได้ ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก 

• กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศใดประเทศหนึ่ง (Country concentration) ทั้งนี้ การกระจุกตัวของพอร์ตการลงทุนจริงอาจเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ 


 หมายเหตุ

• ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม www.scbam.com และสามารถศึกษารายละเอียดกองทุนรวมเพิ่มเติมผ่าน SCB EASY App 

• สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777

#ลงทุนง่ายๆผ่านแอปSCB EASY

#SCBDBOND(A)  

#SCBFIXEDA

#SCBX  #SCBWealth  #SCBEASY

 

===================================================================